21 มี.ค. 2020 เวลา 07:24 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
สิ่งที่จะมาแทนน้ำมันในอนาคตอันใกล้นี้
มาดูความสำคัญของน้ำมันในปัจจุบันกันว่าจะมีความสำคัญขนาดไหน ยาวหน่อยนะครับแต่ละเอียด และได้ความรู้แน่นอนครับ
โดยในปัจจุบันประเทศที่ผลิตน้ำมันได้มากที่สุด 5 อันดับแรกและปริมาณการผลิตเป็นดังนี้ ซาอุดิอาราเบีย (10.6 ล้านบาร์เรลต่อวัน) รัสเซีย (9.6 ล้านบาร์เรลต่อวัน) สหรัฐอเมริกา (8.3 ล้านบาร์เรลต่อวัน) อิหร่าน (4.1 ล้านบาร์เรลต่อวัน) และจีน (3.8 ล้านบาร์เรลต่อวัน)
ประเทศไทยเองก็สามารถผลิตน้ำมันดิบได้เช่นเดียวกัน เพียงแต่ไม่เพียงพอกับที่เราต้องการใช้เท่านั้นเอง ไทยเราผลิตน้ำมันได้ประมาณ 3.3 แสนบาร์เรลต่อวันแต่เราใช้น้ำมันประมาณ 9.2 แสนบาร์เรลต่อวัน (หวังว่าไทยจะผลิตได้เพิ่มขึ้นและเพียงพอกับความต้องการในอนาคต เมื่อประเทศไทยสามารถนำทรัพยากรพลังงานในอ่าวไทยขึ้นมาใช้ได้อย่างเต็มที่)
แต่ราคาน้ำมันที่สูงขึ้นไม่ใช่เพียงเพราะกลไกตลาดตามปัจจัยด้านอุปสงค์และอุปทานเท่านั้น หากแต่ยังเกิดจากปัจจัยอื่นๆ ที่แทรกแซงกลไกตลาด เช่น การเก็งกำไรของบริษัทน้ำมันยักษ์ใหญ่เพียงไม่กี่บริษัทอีกด้วย การโยนความผิดเรื่องราคาน้ำมันดิบสูงเกินไปให้กลุ่ม OPEC ที่มีการกำหนดโควตาการผลิตน้ำมันดิบของประเทศสมาชิกจึงไม่น่าจะเป็นเรื่องที่ถูกต้องเสียทั้งหมด เนื่องจากในความเป็นจริงประเทศสมาชิกโอเปคก็เป็นเพียงเจ้าของแหล่งน้ำมันเท่านั้น และทุกประเทศสมาชิกก็พร้อมที่จะแอบสูบน้ำมันขึ้นมาขายมากกว่าโควตาที่ตนได้รับอยู่แล้ว และจากที่กล่าวไว้แล้วข้างต้น เราพบว่ากลุ่มโอเปคเริ่มสูญเสียความสามารถในการกำหนดปริมาณการผลิตและกำหนดราคาน้ำมันในตลาดโลกไปแล้วตั้งแต่ช่วงก่อนทศวรรษที่ 1990 เราพบว่าในปัจจุบัน (ปี 2009) น้ำมันดิบที่ผลิตได้ในโลกมีประมาณ 33.3% หรือ 1 ใน 3 ที่ผลิตในกลุ่มโอเปค ในขณะที่อีก 23.8% หรือ 1 ใน 4 ผลิตโดยกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว (OECD) อันได้แก่กลุ่มยุโรปและสหรัฐอเมริกา ในขณะที่อีก 14.8% ผลิตจากประเทศที่เคยเป็นอยู่ในกลุ่มโซเวียต (Post-Soviet states) ดังนั้นปริมาณการผลิตของโอเปคที่ลดต่ำลงนี้ทำให้อำนาจการต่อรองของกลุ่มเอเปคในการกำหนดราคายิ่งลดต่ำลงอีก
หากแต่ราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นนี้กลับถูกกำหนดโดยบริษัทผู้ค้าน้ำมันเพียงไม่กี่บริษัทที่เป็นเจ้าของเทคโนโลยีในการสำรวจแหล่งน้ำมันดิบ และเป็นเจ้าของทั้งแท่นขุดเจาะและเป็นเจ้าของโรงกลั่นอีกด้วย นั่นคือบริษัทยักษ์ใหญ่เหล่านี้สามารถควบคุมกระบวนการผลิตเกือบได้ทั้งหมดของกระบวนการผลิตตั้งแต่แหล่งขุดเจาะ จนถึงสถานีบริการน้ำมัน โดยบริษัทยักษ์ใหญ่กลุ่มนี้ถูกเรียกว่า กลุ่ม “Supermajor” ซึ่งมีทั้งหมด 6 บริษัทและทั้ง 6 บริษัทนี้ก็มักจะทำนโยบายไปในทิศทางเดียวกันเพื่อทำให้ราคาน้ำมันเพิ่มสูงขึ้น และสร้างโอกาสในการเก็งกำไรอยู่เสมอ โดยสมาชิกทั้ง 6 ของกลุ่มนี้และตัวย่อที่ใช้ในการจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ที่นิวยอร์คและสัญชาติของบริษัทเหล่านี้ ได้แก่ ExxonMobil (XOM, บริษัทสัญชาติอเมริกัน), Royal Dutch Shell (RDS, บริษัทสัญชาติเนเธอแลนด์และสหรัฐราชอาณาจักร) British Petroleum (BP, บริษัทสัญชาติสหรัฐราชอาณาจักร) Chevron Corporation (CVX, บริษัทสัญชาติอเมริกัน), ConocoPhillips (COP, บริษัทสัญชาติอเมริกัน) และ Total S.A. (TOTบริษัทสัญชาติฝรั่งเศส)
2
มาดูว่าสิ่งที่จะมาแทนน้ำมันมีอะไรบ้าง
ภายในปี 2030
-พลังงานใหม่ทั้งหมดจะได้มาจากแสงแดดหรือลม
-รถยนต์ใหม่ทั้งหมดจะเป็นรถยนต์ไฟฟ้า
-รถยนต์เหล่านี้จะขับเคลื่อนด้วยตัวเอง (มนุษย์ไม่ต้องขับ) รถยนต์บางรุ่นจะเป็นรถแบบกึ่งขับเคลื่อนด้วยตัวเอง (เปิดโอกาสให้มนุษย์ได้ขับเองบ้าง)
-ตลาดรถยนต์จะร่วงไปราว 80 เปอร์เซ็นต์
-น้ำมัน นิวเคลียร์ ก๊าซธรรมชาติ และถ่านหิน จะหมดยุค
-ถนนไฮเวย์กว่า 80 เปอร์เซ็นต์ไม่ต้องใช้อีกต่อไป
-ที่จอดรถกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ไม่ต้องใช้อีกต่อไป
-ความคิดที่จะเป็นเจ้าของรถยนต์ส่วนตัวจะหมดไป
-รถแท็กซี่จะกลายเป็นของล้าสมัย
-การประกันภัยรถยนต์ก็จะไม่มีอีกต่อไป
ฟังดูเหมือนน่ากลัว แต่นี่คือ เทคโนโลยีเปลี่ยนโลก ไม่ต้องคิดไปไกล ไม่ถึงยี่สิบปีก่อนใครจะคาดคิดว่า โทรศัพท์มือถือ อินเตอร์เน็ต โน้ตบุ๊ก ไอแพด จะเข้ามาแทนที่ โทรศัพท์บ้าน สิ่งพิมพ์ โรงหนัง คำพูด ทำให้มนุษย์สื่อสารกันได้อย่างถึงอารมณ์ โดยไม่ต้องเอ่ยปากพูดแม้แต่คำเดียว
พลังงานฟอสซิลกำลังจะกลายเป็นพลังงานที่ล้าหลังใน 10 ปีข้างหน้า ไฟฟ้าจากแสงแดดและลม จะมีราคาถูกกว่าไฟฟ้าจากก๊าซและถ่านหิน คุณโทนี ทำนายว่า ภายในปี 2030 ไฟฟ้าที่ผลิตจากโซลาร์เซลล์บนหลังคาบ้านจะมีราคาถูกมาก เพราะไม่ต้องมีต้นทุนค่าเสาและสายส่งไฟฟ้าแรงสูงและสายไฟฟ้าเข้าบ้าน ไม่ต้องสูญเสียพลังงานความร้อนถึง 62% จากการต้มน้ำปั่นไฟและทำลายสิ่งแวดล้อม
3
แต่วันนี้ไทยกำลังจะทุ่มเงินหลายหมื่นล้านบาท สร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน ที่กำลังจะล้าสมัยในอีก 10 ปีข้างหน้า แม้แต่ จีน วันนี้ก็ยัง ปิดโรงไฟฟ้าถ่านหิน ไปมากมาย
1
รถยนต์ไฟฟ้าในอนาคต ราคาจะถูกลงมาก เพราะแบตเตอรี่ที่มีราคา 1 ใน 3 ของราคารถยนต์ไฟฟ้า จะมีราคาถูกลงมาก รถยนต์ที่ใช้น้ำมัน มีชิ้นส่วนเกี่ยวกับการขับเคลื่อนถึง 2,000 ชิ้น สิ้นเปลืองพลังงานขับเคลื่อนและซ่อมบ่อย แต่รถยนต์ไฟฟ้ามีชิ้นส่วนเพียง 18 ชิ้น ประหยัดพลังงานกว่ารถที่ใช้น้ำมันหลายเท่าตัว
1. พลังงานเซลล์แสงอาทิตย์จากห้วงอวกาศ (Space-Based Solar Power)
จากข้อเท็จจริงที่ว่า พลังงานแสงอาทิตย์กว่า 55-60% นั้น ไม่สามารถผ่านชั้นบรรยากาศของโลกมาได้ ดังนั้น การผลิตไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์ที่อยู่บนพื้นโลกจึงใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์ได้ไม่เต็มที่ นอกจากนี้ การผลิตไฟฟ้าบนพื้นโลกยังมีข้อจำกัด เพราะผลิตได้เฉพาะในช่วงกลางวัน พื้นที่ตั้งก็ต้องเป็นพื้นที่เปิดโล่ง สภาพภูมิอากาศก็ต้องเหมาะสม ทำให้บางประเทศไม่สามารถผลิตพลังงานจากแสงอาทิตย์ได้ ด้วยข้อจำกัดนี้ จึงมีผู้คิดค้นว่าหากสามารถติดตั้งโซลาร์เซลล์นอกโลก เช่นเดียวกับการติดตั้งเซลล์แสงอาทิตย์ของดาวเทียมแล้ว ข้อจำกัดเหล่านี้จะหมดไป อีกทั้งยังสามารถผลิตไฟฟ้าได้อย่างมหาศาลอีกด้วย
1
2. พลังงานจากร่างกายมนุษย์ (Human Power)
ผู้เชียวชาญหลายคนเชื่อว่าวิธีการที่ง่ายที่สุดในการสร้างพลังงานหมุนเวียน คือ ผ่านร่างกายของมนุษย์เอง โดยแนวคิดนี้มาจากแนวคิดที่ว่า ในปัจจุบันอุปกรณ์ไฟฟ้าต่าง ๆ ใช้ไฟฟ้าที่น้อยกว่าในอดีตมาก ดังนั้น การผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กก็เพียงพอที่จะจ่ายเป็นพลังงานให้กับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิดขนาดเล็กจำนวนมากได้ โดยผลิตพลังงานผ่านการเคลื่อนไหวของร่างกายเราเอง เพียงแค่ใช้ระบบที่จะสามารถรวบรวมและแปลงพลังงานได้
ซึ่งนักวิจัยจากสหราชอาณาจักรได้พัฒนาอุปกรณ์พยุงหัวเข่า ที่สามารถรวบรวมอิเล็กตรอนในขณะเดินไว้ โดยทุกครั้งที่เดิน หัวเข่าโค้ง โลหะแบบใบพัดจากอุปกรณ์จะมีการสั้นสะเทือนเหมือนสายกีตาร์ และเกิดการผลิตกระแสไฟฟ้าขึ้น สามารถนำไปใช้กับอุปกรณ์ที่ใช้พลังงานไม่มาก
3. พลังงานคลื่น (Wave Power)
ความคิดที่จะนำพลังงานคลื่นมาใช้นั้นมีแนวคิดมานานแล้ว ซึ่งทางเทคนิคนั้นคลื่น คือรูปแบบที่เกิดขึ้นจากพลังงานลมที่พัดผ่านทะเล พลังงานคลื่นถูกวัดเป็นกิโลวัตต์ (KW) ต่อหนึ่งเมตรของแนวชายฝั่ง โดยชายฝังทะเลของสหรัฐฯ นั้น มีศักยภาพพลังงานคลื่นประมาณ 252 พันล้านกิโลวัตต์ชั่วโมงต่อปี
ปัจจุบันมีกว่า 5 ประเทศ ที่พยายามดำเนินการสร้างฟาร์มผลิตไฟฟ้าจากพลังงานคลื่น หนึ่งในนั้นที่นำไปปฏิบัติ คือประเทศโปรตุเกส ที่ได้ตั้งฟาร์มผลิตไฟฟ้าจากพลังงานคลื่นในเชิงพาณิชย์เป็นแห่งแรกในโลก ตั้งแต่ปี 2008 มีกำลังผลิตติดตั้งรวม 2.25 เมกะวัตต์
4. พลังงานไฮโดรเจน (Hydrogen Power)
ไฮโดรเจนเป็นก๊าซไม่มีสี ไม่มีกลิ่น และมีมากถึง 74% จากทั้งหมดในจักรวาล ในขณะที่บนโลกพบได้เฉพาะเมื่อรวมกับออกซิเจน คาร์บอน และไนโตรเจน โดยหากต้องการใช้ไฮโดรเจนจะต้องแยกออกมาจากองค์ประกอบอื่น ๆ ซึ่งก๊าซที่ได้จะให้พลังงานสูง แต่เป็นก๊าซที่ไม่มีมลพิษ
5. พลังงานความร้อนใต้พิภพ (Magma Power)
พลังงานจากความร้อนที่อยู่ลึกใต้พื้นพิภพ สามารถผลิตไอน้ำเพื่อใช้หมุนกังหันและผลิตกระแสไฟฟ้าได้ โดยพลังงานความร้อนใต้พิภพ 10,700 เมกะวัตต์ ถูกสร้างขึ้นทั่วโลกในปี 2010 โดยมีไอซ์แลนด์ ฟิลิปปินส์และเอลซัลวาดอร์ได้นำแนวคิดนี้ไปปฏิบัติแล้ว
แนวคิดพลังงานความร้อนใต้พิภพเริ่มได้รับความสนใจในปี 2008 จากการค้นพบด้วยความบังเอิญจากโครงการขุดเจาะ IDDP1 ของไอซ์แลนด์ และภายหลังได้รับการปรับปรุงเป็นระบบแรกที่ให้ความร้อนโดยตรงจากแมกมาหลอมเหลว สามารถสร้างพลังงานไฟฟ้าได้ 36 เมกะวัตต์
6. พลังงานจากกากนิวเคลียร์ (Nuclear Waste Power)
อะตอมยูเรเนียมเพียงห้าเปอร์เซ็นต์เท่านั้นที่ถูกนำไปใช้ในปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิชชัน ส่วนที่เหลือจะถูกเก็บเพิ่มเข้าไปยังคลังขยะนิวเคลียร์ มีกากของเสียจากกัมมันตรังสีกว่า 77,000 ตัน ที่ถูกเก็บสะสมจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ของอเมริกา ในขณะที่เครื่องปฏิกรณ์เร็ว ซึ่งเป็นเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ขั้นสูงที่ได้รับการพัฒนาขึ้นใหม่ มีประสิทธิภาพที่สูงขึ้นกว่าเครื่องปฏิกรณ์แบบเดิม และสามารถแก้ปัญหานี้ได้ในอนาคตข้างหน้า ซึ่งจะทำให้การใช้ยูเรเนียมที่มีอยู่เดิมมีประสิทธิภาพมากขึ้น สามารถใช้พลังงานจากแร่ยูเรเนียมได้ถึง 95% ของเชื้อเพลิงพลังงานนิวเคลียร์ที่ผลิตได้
1
7. พลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งได้ในทุกพื้นผิว (Embeddable Solar Power)
เทคโนโลยีที่สามารถฝังหรือเคลือบเซลล์แสงอาทิตย์ลงบนพื้นผิวของวัตถุต่างๆ ในลักษณะที่โปร่งแสงไม่สามารถมองเห็นได้ แต่สามารถรับแสงอาทิตย์และแปลงเป็นพลังงานไฟฟ้าได้ แนวคิดนี้ ปัจจุบันถูกพัฒนาอย่างรวดเร็ว โดยคาดว่าจะสามารถนำมาเคลือบบนพื้นผิวของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น หน้าจอคอมพิวเตอร์ สมาร์ทโฟน หรือพัฒนาเพิ่มเติมสำหรับการใช้งานในรูปแบบอื่น ๆ อาทิ เคลือบบนหน้าต่าง หรือกระจกของอาคาร เพื่อเป็นแหล่งผลิตไฟฟ้าให้แก่อาคาร เป็นต้น
1
8. พลังงานชีวภาพจากสาหร่าย (Algae Power)
สาหร่ายถือเป็นแหล่งพลังงานที่น่าประหลาดใจมาก เพราะมันอุดมไปน้ำมัน ที่สามารถดัดแปลงพันธุกรรมเพื่อผลิตเป็นเชื้อเพลิงชีวภาพได้โดยตรง แม้น้ำเสียจะเป็นอุปสรรคต่อการเจริญเติบโตของพืช แต่มันกลับมีประสิทธิภาพสูงในการปลูกพืชชนิดนี้ โดยในพื้นที่ขนาดหนึ่งเอเคอร์ สามารถให้ผลผลิตได้สูงถึง 9,000 แกลลอน ดังนั้น เชื้อเพลิงจากสาหร่ายจึงถือเป็นเชื้อเพลิงชีวภาพที่สามารถปลูกและสร้างขึ้นได้
สามารถสร้างระบบเชื้อเพลิงชีวภาพจากสาหร่ายได้เป็นแห่งแรกของโลก โดยใช้เครื่องปฏิกรณ์ชีวภาพแบบลอยตัว โดยการปลูกสาหร่ายยังช่วยบำบัดน้ำเสียจากเทศบาล และหลังจากการเก็บเกี่ยวแล้ว น้ำสะอาดที่ได้จากการบำบัดจะถูกปล่อยลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติต่อไป
2
9.กังหันลมแบบลอยบนอากาศ (Flying Wind Power)
ฟาร์มกังหันลมตามแนวคิดนี้จะเป็นกังหันลมที่ติดตั้งลอยตัวอยู่สูงในระดับเดียวกับตึกระฟ้า หรืออยู่สูงเหนือระดับพื้นดินที่ 1,000 – 2,000 ฟุต เพื่อรับความแรงลมที่แรงกว่าห้าถึงแปดเท่าของระดับความแรงลมแบบติดตั้งแบบทาวเวอร์ และกังหันเหล่านี้จะผลิตพลังงานได้สองเท่าเมื่อเทียบกับกังหันลมขนาดใกล้เคียงกันที่ตั้งแบบทาวเวอร์
โดย Altaeros Energie ได้พัฒนากังหันลมแบบลอยบนอากาศในเชิงพาณิชย์เครื่องแรก ที่เรียกว่า Buoyant Air Turbine หรือ BAT ซึ่งเป็นเซลล์พองลมแบบกลมยาว 35 ฟุต ที่ทำจากผ้าที่มีความแข็งแรงสูง โดย BAT มีกำลังการผลิต 30 กิโลวัตต์
10. พลังงานฟิวชั่น (Fusion Power)
ฟิวชั่น เป็นกระบวนการเดียวกันกับการเกิดขึ้นของดวงอาทิตย์ และมีศักยภาพที่สามารถผลิตพลังงานได้แบบไม่มีที่สิ้นสุด อีกทั้งไม่ปล่อยมลพิษ หรือก๊าซเรือนกระจก และไม่มีการคุกคามจากการหลอมละลายแบบนิวเคลียร์ ซึ่งแตกต่างจากเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ฟิชชั่นในปัจจุบัน ฟิวชั่นทำงานโดยการหลอมรวมไอโซโทปไฮโดรเจนสองอัน คือ ดิวทีเรียมและทริเทียมซึ่งมีอยู่มากมาย
ในปัจจุบัน ITER เครื่องปฏิกรณ์ทดลองความร้อนระหว่างประเทศ ได้ถูกสร้างขึ้นในประเทศฝรั่งเศสโดยได้รับทุนจาก7 ประเทศ คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในปี 2027 และหวังว่าจะเป็นโรงไฟฟ้าพลังงานฟิวชั่นแห่งแรกของโลกในเชิงพาณิชย์
ขอบคุณข้อมูลจากไทยรัฐ
1
และขอบคุณข้อมูลดีๆจาก เรียบเรียงจากงานเสวนา เรื่อง โรงไฟฟ้าชุมชนนวัตกรรมพลังงานทดแทน และการรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
โดย ดร.นุวงศ์ ชลคุป ในหัวข้อ นวัตกรรมพลังงานทดแทนแห่งอนาคต ภายในงานวิศวกรรมแห่งชาติ 2562

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา