22 มี.ค. 2020 เวลา 12:26 • ประวัติศาสตร์
การสูญเสียบุคคลทั้งสองพระองค์ ซึ่งเป็นดั่งดวงพระหฤทัยในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เหตุการณ์วิปโยค “พระนางเรือล่ม”
“พระนางเรือล่ม" ที่กล่าวกันในประวัติศาสตร์ คือสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวี พระอัครมหสีพระองค์แรกใน
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมกล้าเจ้ายู่หัว รัชกาลที่ 5
สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวี มีพระนามเดิมว่า พระองค์เจ้าสุนันทากุมารี ประสูติ วันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2403 ทรงเป็นราชธิดาของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 และเจ้าจอมมารดาเปี่ยม ทรงเป็นเชษฐภคนีร่วมพระชนกชนนีกับ สมเด็พระนางเจ้าศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ และสมเด็จพระนางเจ้าศรีสวรินทิราบรมราชเทวี ในรัชกาลที่ 5
สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวี และ สมเด็จพระจ้าลูกเธอเจ้าฟ้ากรรณาภรณ์เพชรัตน์
เมื่อพระองค์เจ้าสุนันทากุมารี เจริญพระชันษาได้ 18 พรรษา ได้เข้าเป็นบาทบริจาริกา และได้รับการสถาปนาพระอิสริยศขึ้นในตำแหน่งพระอัครมเหสีเมื่อประสูติพระราชธิดาพระองค์แรกคือ สมเด็จพระจ้าลูกเธอเจ้าฟ้ากรรณาภรณ์เพชรัตน์ เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2421
ภาพเก๋งบนเรือพระประเทียบในยุคนั้น
วันเกิดเหตุวิปโยค คือ วันจันทร์ เดือน 7 แรม 8 ค่ำ ปีมะโรง ตรงกับวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ.2423 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีกำหนดพระราชดำเนินไปยังพระราชวังบางปะอิน
1
เวลา 2 โมงเช้ามีพระดำรัสให้ปล่อยขบวนเรือพระประเทียบล่วงหน้าไปก่อน ขบวนเรือที่ล่วงหน้ามีเรือกลไฟราชสีห์ ลากจูงเรือประทับ
ของพระองค์เจ้าสุขุมารศรี เรือกลไฟโสรวาร ลากจูงเรือประทับของพระองค์เจ้าเสาวภาผ่องศรี เรือปานมารุต ลากจูงเรือประทับของสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวีกับสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้ากรรณาภรณ์เพชรรัตน์ พระราชธิดา
1
บริเวณจุดเรือล่ม
เมื่อขบวนเรือถึงบางพูด เลยปากเกร็ดขึ้นไป เรือปานมารุตซึ่งแล่นอยู่ตรงกลางได้หักหลบเรือราชสีห์ ทำให้เรือพระประเทียบที่พ่วงมาเสียหลักหักไม่พัน หัวเรือพุ่งไปชนท้ายเรือโสรวาร ทำให้พื้นน้ำเกิดระลอกคลื่นกดหัวเรือพระประเทียบจนคว่ำลง
ผู้ติดตามได้กระโดดน้ำดำลงไปในเก๋ง นำพระเจ้าลูกเธออกมาได้ แต่ก็สิ้นพระชมน์เสียก่อน ส่วนพระนางเจ้าสุนันทาฯ ซึ่งกำลังทรงพระครรภ์ ก็ติดอยู่ในเก๋ง กว่าจะช่วยกันหงายเรือขึ้นมาก็ใช้เวลากว่าครึ่งชั่วโมง พระองค์ท่านสิ้นพระชนม์ทั้งกลม
ได้มีการนำพระศพขึ้น บริเวณวัดกู้ จังหวัดนนทบุรี ที่มาชื่อ’วัดกู้’นั้นเชื่อว่าได้มาจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นครั้งนี้
3
ท่าน้ำ วัดกู้ ภาพจาก: https://tourwatthai.com/region/central/nonthaburi/watkoo/
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงโศกเศร้าเสียพระทัยในเหตุการณ์ครั้งนี้อย่างมาก จนไม่สามารถทนฟังเสียงเครื่องปีพาทย์ประโคมพระศพได้
ด้วยทรงอาลัยอาวร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เก็บพระศพของทั้งสองพระองค์ไว้นานถึง 10 ปี และพระราชทานเพลิงพระศพ เมื่อวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ.2433
1
รวมทั้งทรงโปรดเกล้าให้สร้างอนุสาวรีย์ไว้ถึง 3 แห่ง คือ
- พระราชวังบางปะอิน พระนครศรีอยุธยา
- วังสราญรมย์กรุงเทพมหานคร
ภาพจากmarinethai.net
- และบริเวณน้ำตกพลิ้ว จังหวัดจันทบุรี
ทั้งสามแห่งบรรจุพระอังคารบางส่วนของทั้ง 2 พระองค์ และจารึกคำอาลัยทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษไว้ทุกแห่ง แสดงถึงความรักและความอาดูรที่มีต่อสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทฯ และพระราชธิดาอย่างลึกซึ้ง
🙏กดไลค์ กดแชร์ กดติดตามเป็นกำลังใจ❤️
1
ขอบพระคุณครับ
2
โฆษณา