22 มี.ค. 2020 เวลา 16:28 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
อนาคตของการเปลี่ยนถ่ายอวัยวะ? 😃
เมื่อนักวิทยาศาสตร์สามารถสังเคราะห์สารที่จะมาช่วยลดการต่อต้านการปลูกถ่ายอวัยวะ
หนูขาวแต่ขาหนูดำ
ปัจจุบันการเปลี่ยนถ่ายอวัยวะไม่สามารถทำได้ง่าย ๆ ทั้งการหาผู้บริจาค และความเข้ากันได้ของอวัยวะของผู้ให้กับผู้รับ
โดยสาเหตุหลักนั้นมาจากระบบภูมิคุ้มของเรานั้นอาจมองอวัยวะของผู้บริจาคเป็นเหมือนสิ่งแปลกปลอมที่ต้องกำจัดออกจากร่างกาย ทำให้เกิดสภาพการต่อต้านอวัยวะที่ปลูกถ่ายเข้าไปได้
ช่วงแรกของการรับการปลูกถ่ายอวัยวะอาจต้องใช้ยากดภูมิเพื่อลดการต่อต้านเนื้อเยื่อปลูกถ่ายของผู้รับบริจาคอวัยวะ
ซึ่งทำให้ผู้ป่วยที่รับบริจาคอวัยวะต้องเสี่ยงกับการติดโรคแทรกซ้อนระหว่างการพักฟื้น และบางรายร้ายแรงขึ้นขั้นเสียชีวิตได้
แต่ตอนนี้ทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัย Pittsburgh สามารถคิดค้นสารสังเคราะห์ที่ช่วยลดการปฏิเสธการปลูกถ่ายอวัยวะของผู้รับบริจาค
ด้วยสารสังเคราะห์ชนิดใหม่ซึ่งทำงานโดยอาศัยแรงบันดาลใจจากเทคนิคเดียวกับที่เซลมะเร็งใช้ในการพรางตัวหลบภูมิคุ้มกันของเรา
สภาพการต่อต้านจากระบบภูมิคุ้มกันจะทำให้อวัยวะที่นำมาปลูกถ่ายเสื่อมสภาพอย่างรวดเร็ว (ขาว)
ซึ่งสารสังเคราะห์นี้จะเข้าไปช่วยลดการต่อต้านการปลูกถ่ายเนื้อเยื่อจากระบบภูมิคุ้มกันได้
จากซ้ายเนื้อเยื่อปกติของหนูตัวขาวก่อนถูกปลูกถ่ายขาจากหนูอีกตัว
และโดยปกติเมื่อนำอวัยวะจากหนูตัวอื่นมาปลูกถ่ายใส่ก็จะเกิดการต่อต้านด้วยเซลภูมิคุ้มกันของหนูตัวขาวทำให้เนื้อเยื้อของหนูตัวอื่นที่มาต่อนั้นตาย (รูปถัดมา)
แต่ด้วยสารสังเคราะห์ใหม่ที่ใส่เข้าไปในเนื้อเยื่อของอวัยวะที่นำมาปลูกถ่ายนั้นจะไปช่วยลดการกระตุ้นเซลภูมิคุ้มกัน (T-Cell) ของหนูตัวขาว
ยังผลให้เนื่อเยื่อของอวัยวะปลูกถ่ายยังคงสภาพดีอยู่ได้นานเกือบปี ซึ่งถ้าเทียบเท่ากับอายุมนุษย์ก็เทียบเท่า 30 ปีเลยทีเดียว!! (ภาพด้านขวา)
แต่ทั้งนี้สารดังกล่าวนี้ต้องมีการสังเคราะห์โดยเฉพาะสำหรับอวัยวะที่จะนำมาปลูกถ่าย หากมีการเปลี่ยนอวัยวะใหม่ก็อาจเกิดการต่อต้านจากร่างที่รับปลูกถ่ายอวัยวะได้
ซึ่งทางทีมก็ได้ทดลองปลูกถ่ายขนของหนู 2 สายพันธ์ุลงบนหนูทดลองซึ่งได้รับสารสังเคราะห์ทั้งคู่ แต่ให้ผลที่ต่างกัน
จากรูปขนของหนูสีน้ำตาลยังคงสภาพดีอยู่ (หย่อมตรงกลาง) แต่ของ Wistar แห้งเหี่ยวหายไปแล้ว
เทคนิคใหม่นี้อาจช่วยให้การเปลี่ยนถ่ายอวัยวะในอนาคตมีความสะดวกมากขึ้นในการหาคู่บริจาค และลดความเสี่ยงของการติดเชื้อแทรกซ้อนได้ด้วย
โอย แต่ดูแล้วก็ขนลุก เจ้าหนูทดลองสภาพยังกะแฟรงเกนสไตน์เลย . . . 😣

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา