24 มี.ค. 2020 เวลา 16:20 • สุขภาพ
สรุปสั้นๆ จาก อจ.แพทย์เกษียณ
หน่วยโรคติดเชื้อ ม.สงขลานครินทร์ 🏫
ผู้เป็นที่เคารพรักของ นศพ.มาตลอดหลายสิบปี 💝
สรุปประเด็นสำคัญ #covid19
จาก ศ.นพ.ขจรศักดิ์ ; infectious Med. ม.อ.
วันที่ 24 มี.ค. 63 เอาไปใช้ได้ทั้งบ้านและโรงพยาบาล 🏨
หากเวลามีน้อย ⏰
สำหรับ ปชช.ทั่วไป เลื่อนลงอ่าน
ด้านล่างของรูปประกอบ ได้เลยค่ะ
🍀
1. ตัวโรค
- โจมตีคนแก่ > 60 ปี ตายอย่างน้อย 4-14%
- ไม่มีเด็ก < 15 ปีที่เป็นปอดบวมเลย ไม่ค่อยห่วงเด็ก
- 93% อาการน้อย , 7 % อาการหนัก
- เริ่มมีอาการวันที่ 5 ไข้ ไอ และพีควันที่ 10 เริ่มหอบ
- ถ้ามาด้วยน้ำมูกก่อน มักไม่ใช่ covid19 (แต่ก็พอเจอได้ 4%)
2. การติดต่อ 🍁
- ไวรัสติดต่อทางสัมผัสทางมือ จับ 10 วินาที ติด 70%
- ห้ามเอามือโดนหน้า T zone ตา จมูก
- นั่งติดกัน 12 ชั่วโมง ติดทางอากาศ ติด 50%
- อยู่ใกล้ 1 เมตร ติด 50% อยู่ห่าง 4-5 เมตร ไม่ติดเลย WHO แนะนำห่าง 2 เมตร
- ที่อู่ฮั่น ช่วงแรกติดจาก รพ. 41 % ดังนั้น อย่าตื่นตูมและถ้าไม่จำเป็นอย่าไป รพ.
- บุคคลกรทางการแพทย์ ติดเชื้อเฉลี่ย 5% (3-7%) หรือ 1/20
- โอกาสที่บุคคลากรทางการแพทย์เข้า ICU 1/800
- บุคคลากรทางการแพทย์ที่อายุมาก เสี่ยงมาก อายุน้อย เสี่ยงน้อย
- วันหลังๆเชื้อจะออกมาทางอุจจาระได้ ให้ปิดฝาชักโครกก่อนกดน้ำ ไม่งั้นจะฟุ้งกระจาย
😳
3. หน้ากาก *** ❗
- การใส่หน้ากากให้คนไข้ ลดการแพร่กระจายไป 1,000 เท่า ดังนั้นต้องเอาคนไข้ใส่ mask เลย surgical mask ธรรมดาลดได้ 90 % ความไกลลดลงไป 10 เท่า
- หน้ากาก surgical mask กันไวรัสได้ 56% N95 กันได้ 66% ถ้าใส่แบบปกติ มีขอบมีรอยด้านข้างทำให้ไวรัสเข้าได้ 10%
- หน้ากาก surgical mask ที่ "ติดเทปตามขอบ" กันได้ 95% ส่วน N95 กันได้ 99% ❗
- การแปะเทปที่ขอบหน้ากากสำคัญมากๆๆ มากกว่าการเลือกใช้ N95 ที่ไม่ tape อีก *** ❗
- แนะนำเทป micropore เจ็บน้อยกว่าแบบ transpore หรือ scott tape (หมอเขียนเอง ซื้อได้ตามร้านยา)
- หน้ากากแบบ silicone ก็ช่วยป้องกันได้ แนบเนื้อดี จึงประยุกต์ใช้แปะเทปที่ขอบหน้ากาก surgical mask
- ควรใส่ face shield เวลาทำหัตถการ
- หน้ากาก N95 เอามาฆ่าเชื้อแล้วใช้ซ้ำได้ ถ้าใส่ face shield กันไว้ก่อน, ถ้ากลัวไวรัสเกาะข้างนอกหน้าก็หาหน้ากากผ้า หรือ surgical mask ใส่ทับไปอีกชั้น แต่ที่ส่งไปเพาะเชื้อ บริเวณนอกหน้ากาก สองครั้งไม่พบไวรัส น่าจะเป็นประโยชน์กรณี n95 ขาดแคลน (เพิ่มเติมโดย อ. Theeraphap Tanisaro)
4. สถานที่
- ในลิฟต์ ขณะเคลื่อนย้ายผู้ป่วย อันตรายมาก
- ประตู ห้ามจับเอง ใช้เท้า ไหล่ หลัง หรือมีคนช่วยเปิดให้
- เอาคนไข้ชิดหน้าต่าง พัดลมเป่าออกด้านนอกหน้าต่าง
- ในห้องตรวจ ตั้งพัดลมหลังแพทย์ หันพัดลมออกนอกหน้าต่าง
- ถ้าไม่มีห้อง negative pressure เพียงพอ ให้อยู่ห้องแยก หันพัดลมเป่าจากผป.ออกไปทางหน้าต่าง
- หอผู้ป่วยจัดเป็น 2 zone คือ zone contact = contaminated อยู่กับคนไข้ และมีคนคอยดูตลอดว่า contaminate ด้วยหรือเปล่า และ zone ทำงานเอกสาร ติดต่อประสานงาน แยกกันเด็ดขาด
5. การฆ่าเชื้อ
- การล้างอุปกรณ์ต่างๆ ไม่จำเป็นต้องใช้ alcohol ทั้งหมด สามารถใช้ผงซักฟอกหรือน้ำยาทำความสะอาดปกติทำได้ ตายง่าย แต่ไวรัสมักติดตามคอม keyboard โต๊ะ ลูกบิด (เพิ่มเติมเอง โทรศัพท์มือถือ)
- การใช้ UV ฆ่าเชื้อ ช่วยได้ แต่ทำให้ระคายเคืองง่ายและแปรผันกับระยะทาง
ferry pier @ SF
สรุปสั้นๆสำหรับประชาชน 🌿
💌
1. ห้ามเอามือแตะหน้าเด็ดขาด
2. ล้างมือ 20 วินาที ให้ถูกวิธี ล้างบ่อยๆ
3. ใส่หน้ากากและแปะเทปตามขอบ
4. ทำความสะอาดฆ่าเชื้อด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อตามปกติ บ่อยๆ
5. ไม่จำเป็นอย่าไป รพ.
6. ห่างกัน 2 เมตร ไม่จำเป็นไม่ต้องออกจากบ้าน
จากนิสัยของคนไทย และการบริหารแบบไทยๆ น่าจะมีคนติดเชื้อเฉลี่ย 100,000 คน คิดว่าเราจะโชคดีมั้ยล่ะ ?
แต่ถ้าทำแบบข้างบน
คุณหมอๆ คาดไว้ว่า ว่าโอกาสรอดสูง ✌
ปล. เนื้อหาส่วนนึงเอามาจากคุณหมอ Puangmali Praweswararat
Link VDO 1 💌
ขอโทษด้วยค่ะ 🙏 ที่แปะมามิได้
โดน Fb ตัดญาติขาดมิตร 🤗
ขอขอบคุณข้อมูลที่สรุปมาให้ค่ะ
Fb ; SomrosMD
😍
โฆษณา