1 เม.ย. 2020 เวลา 11:00 • ความคิดเห็น
ซีรีส์เดินตามรอยเท้าพ่อ ตอน บ้านของพ่อ
ขอบคุณภาพจากอินเตอร์เน็ต
โพสต์นี้เป็นตอนที่ 2 ในซีรีส์ เดินตามรอยเท้าพ่อนะคะ
ตอนแรกคือ ตอน เพลงของพ่อ ได้อ่านโพสต์ของฉันกันมั๊ยนะ 😉
คำว่า " บ้าน "
🏡🏡🏡🏡🏡
แปลความแบบบ้าน ๆ (ไม่ได้กวนนะคะ) คือสิ่งปลูกสร้างที่เราทำเพื่อพักอาศัย ที่ซึ่งเรามักมีความผูกพัน มีความรู้สึกปลอดภัย และเรารู้สึกว่า มันเป็น “ที่” ของเรา
🧚🧚🧚
พูดถึงคำว่า “ที่” ฉันก็นึกถึงประโยคหนึ่งขึ้นมาในใจทันทีเลยค่ะ ประโยคที่เราเคยได้ยินมานานนักหนา
“ที่ของข้าพเจ้าในโลกนี้คือ การได้อยู่ท่ามกลางประชาชนของข้าพเจ้า นั่นคือคนไทยทั้งปวง”
🙏🙏🙏
ข้อความนี้จากข้อมูลระบุว่าเป็นความตอนหนึ่งจากพระราชหัตถเลขาในองค์พ่อหลวงถึงพระสหายในต่างประเทศ ภายหลังที่พระองค์ได้เสด็จขึ้นครองราชสมบัติแล้วค่ะ
⏫ ตามสมการข้างบนของฉัน
▶️ บ้านของเรา = ที่ของเรา
..... เมื่อเป็นเช่นนั้น ...
⏩ บ้านของพ่อ = ที่ของพ่อ = ทุกที่ท่ามกลางประชาชนชาวไทยของพ่อ
บ้านของพ่อกว้างใหญ่นัก ...... แต่ .....
“ไม่มีที่ใดบนแผ่นดินไทยที่พระองค์เสด็จไปไม่ถึง”
ทุกครั้ง ทุกที่ ที่พระองค์เสด็จไป สิ่งที่จะตามมาในไม่ช้าคือโครงการตามแนวพระราชดำริ
ตลอดพระชนม์ชีพของพระองค์
มีโครงการอันเนื่องมาจากพระราขดำริเกิดขึ้นกว่าสี่พันโครงการ
แบ่งตามประเภทใหญ่ ๆ ได้เป็น
โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริด้านน้ำ ด้านป่า ด้านดิน ด้านวิศวกรรม และด้านอื่น ๆ
หรือจะแบ่งให้ละเอียดยิ่งขึ้น จะแบ่งได้ตามตารางที่ฉันคัดลอกมาด้านล่างนี้ค่ะ
ข้อมูลจากเครือข่ายกาญจนาภิเษก
ถ้าคุณอยากทราบรายละเอียดของโครงการตามแนวพระราชดำริให้มากกว่านี้ สามารถหาอ่านได้ไม่ยากเลยค่ะ
กลับมาที่เรื่อง บ้านของพ่อที่ฉันตั้งใจ จะมาคุยกับคุณเพลิน ๆ เริ่มจากครั้งที่พระองค์ยังทรงพระเยาว์
ตามที่เราทราบคือพระองค์ประสูติที่โรงพยาบาล Mount Auburn เมือง Cambridge รัฐ Massachusetts ประเทศสหรัฐอเมริกา ในวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2470
ปี 2470 หลังออกจากโรงพยาบาลประทับที่อพาร์ตเมนต์เลขที่ 11 Story street, Cambridge, USA
ปี 2471 นิวัติประเทศไทยและประทับที่วังสระปทุม จวบจนมีพระชนม์มายุ 6 ชันษา
ปี 2476 ย้ายไปประทับ ณ เมืองโลซานน์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์
พระองค์ทรงประทับที่เมืองโลซานน์หลายปีซึ่งอาจสามารถใช้คำว่า “บ้าน” ได้ตามความหมายข้างต้น แม้จะเป็นในต่างประเทศ ที่ประทับของพระองค์เป็นแฟลตขนาด 3 ห้องนอน ตั้งอยู่เลขที่ 16 ถนนทิสโซ่ต์
ปี 2478 ภายหลังที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล เสด็จขึ้นครองสิริราชสมบัติแล้ว จึงได้ย้ายมาประทับที่ วิลล่า วัฒนา ตั้งอยู่เลขที่ 51 Chamblandes dessusv อยู่ระหว่างถนน Tour Haldimand กับถนน General Guisan ที่ประทับนี้ปลูกอยู่บนพื้นที่ประมาณ 2 ไร่ มีสนามหญ้า สวนผลไม้เล็ก ๆ หันหน้าไปทางทะเลสาบเจนีวาและมองเห็นเทือกเขาแอลป์
วิลล่า วัฒนา ขอบคุณภาพจาก thinkofliving.com
พระองค์เสด็จนิวัติประเทศไทยครั้งแรกในปี 2478 โดยประทับที่พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต
ส่วนการนิวัติประเทศไทยครั้งที่ 2 ในปี 2488 ได้ประทับที่พระที่นั่งบรมพิมาน ในพระบรมมหาราชวัง
ในปี 2489 ซึ่งเป็นปีที่พระองค์เสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติ พระองค์ยังต้องเสด็จกลับไปประเทศสวิตเซอร์แลนด์อีกครั้งเพื่อทรงศึกษาต่อ จนถึงปี พ.ศ 2493 จึงเสด็จนิวัติประเทศไทยอีกครั้ง
“บ้านของพ่อ” ที่พ่อประทับอยู่นานที่สุดคือ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต หรือที่เรามักเรียกกันว่า “วังสวนจิตร” หรือ “วังสวนจิตรลดา” พระองค์ทรงประทับที่วังสวนจิตรตั้งแต่ปี พ.ศ. 2500
พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต ถูกสร้างขึ้นเมื่อปี 2456 ซึ่งตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มีลักษณะที่ดินเป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัส เนื้อที่ประมาณ 395 ไร่ ทิศเหนือจดถนนราชวิถี ทิศตะวันออกจดถนนสวรรคโลก ทิศใต้จดถนนศรีอยุธยา และทิศตะวันตกจดถนนพระราม 5
ขอบคุณภาพจาก lifestyle.campus-star.com
ภาพนี้เป็นภาพพระตำหนักตอนที่สร้างขึ้นใหม่ ๆ ค่ะ ส่วนภาพล่างเป็นภาพพระตำหนักในช่วงหลังค่ะ
ขอบคุณภาพจาก lifestyle.campus- star.com
ในสมัยก่อนหากได้มีโอกาสผ่านไปจะเห็นพระตำหนักสวนจิตรลดาเป็นเพียงพระตำหนักที่มีต้นไม้ใหญ่น้อยร่มครึ้ม หนาทึบ รอบนอกเป็นคูน้ำทั้งสี่ด้าน สิ่งที่บอกว่าที่นั่นเป็นที่ประทับขององค์พระมหากษัตริย์คือธงประจำพระองค์ที่โบกสะบัดตามแรงลมเหนือพระตำหนักนั่นเอง
คุณพอเห็นภาพของ “วังสวนจิตร” ตามที่ฉันบรรยายมั๊ยคะ
อยากเข้าไปเที่ยวข้างในต่อมั๊ย ไปต่อเถอะค่ะ ข้างในมีของดีมากมายเลยนะ
ในส่วนขององค์พระตำหนักจิตรลดา ซึ่งที่ประทับของพระเจ้าแผ่นดิน ไม่ได้มีขนาดใหญ่โต แต่กลับเป็นเพียง “บ้านของพ่อ” ที่มีพื้นที่ส่วนพระองค์ไม่มาก มีท้องพระโรงคือศาลาดุสิดาลัย ที่เหล่าพสกนิกรไปเข้าเฝ้า พิ้นที่นอกจากนั้นส่วนใหญ่ถูกใช้เป็นพื้นที่ทรงงาน แปลงทดลองของโครงการส่วนพระองค์หลากหลายโครงการ มีโรงเรียน และหน่วยงานต่าง ๆ ที่ถวายงาน
คุณลองดูตามแผนผังด้านล่างนี้ค่ะ
ขอบคุณภาพจาก https://travel.mthai.com
จากแผนผัง จะเห็นว่าพ่อของพวกเรานั้น ใช้พื้นที่บ้านของท่านเป็นพื้นที่การทำงานวิจัย ก่อนเข้าสู่โครงการนำร่อง ที่พระองค์ทรงศึกษาและทดลองจนได้ผลสำเร็จจริงก่อนนำองค์ความรู้ออกไปสู่ชุมชน
ถ้าเราจะแบ่งประเภทของโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา อาจแบ่งได้เป็น 2 ประเภทค่ะ
✅ ประเภทที่ไม่ใช่เชิงธุรกิจ
ตัวอย่างเช่น โครงการปลูกป่าสาธิต แปลงนาข้าวทดลอง การเพาะเลี้ยงพันธุ์สัตว์น้ำ โครงการกังหันลมและการผลิตกระแสฟ้า โครงการพลังงานแสงอาทิตย์ โรงเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ เป็นต้น
✅ ประเภทกึ่งธุรกิจ
ตัวอย่างเช่น โรงโคนมและผลิตภัณฑ์นม (นมผง นมอัดเม็ด นม UHT เนยแข็ง ฯลฯ)
นอกจากนี้ยังมีกลุ่มงานอื่น ๆ อีก เช่น
♨️ กลุ่มงานพลังงานทดแทน ได้แก่ หน่วยศึกษาและผลิตแก๊สโซฮอล์ ไบโอดีเซล โรงบดแกลบ
🌾 กลุ่มงานเกี่ยวกับการเกษตร ได้แก่ โรงสีข้าว โรงทำน้ำผลไม้พาสเจอร์ไรส์ ผลิตภัณฑ์อบแห้ง ผลิตภัณฑ์บรรจุกระป๋อง น้ำผึ้ง เห็ด สาหร่ายเกลียวทอง ฯลฯ
🌾🌴🐄🐖🐓🐤
โครงการส่วนพระองค์มากมายเหล่านี้ เป็นส่วนหนึ่งของการทำสงครามกับความยากจน ที่พ่อทุ่มเทและเหน็ดเหนื่อยมาตลอดพระชนม์ชีพ เพื่อให้ลูก ๆ ของพ่อได้เติบโตและพึ่งพาตนเองได้อย่างเป็นรูปธรรมและยั่งยืน
💰💰💰💰💰
1
สมัยเด็ก ๆ เวลาใครถามคุณว่า โตขึ้นหนูอยากจะเป็นอะไร คุณตอบว่ายังไงคะ
🙋👨🦰 🙋 👨🚀 👨 👨🍳👨👩👨💻👨🚒👮🤴👸🤷
มีเด็กคนหนึ่งส่ายหัว แล้วตอบว่า หนูไม่รู้ จะไปช่วยในหลวง 🙎
คุณน้ำตารื้นเหมือนฉันมั๊ย
🥺🥺🥺🥺🥺🥺
ข้อมูลข้างต้นฉันไม่ได้ลงรายละเอียดมากเนื่องจากคุณสามารถหาข้อมูลโดยละเอียดเพิ่มได้เองค่ะ
นี่เป็นแค่ “บ้านของพ่อ” ที่แรกนะคะ เรายังจะไปเที่ยวกันอีกหลายที่ในบทความต่อ ๆ ไปค่ะ เพราะรู้สึกว่าบทความนี้อาจจะยาวเกินไป
ขอบคุณที่คุณติดตามเรื่องราวที่ฉันนำเสนอ ฉันยังเป็นมือใหม่มาก ๆ ในการทำบทความ ฉันตั้งใจเรียบเรียงจากหัวใจเพราะเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับพ่อ 🙏
เพราะฉัน คือ “เด็กคนนั้น”
🙎
ขอให้คุณทุกคนมีจิตใจเบิกบาน เข้มแข็งนะคะ 🙂🙂🙂
สวัสดีค่ะ
คนไทยตัวเล็กเล็ก
01/04/2020

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา