4 เม.ย. 2020 เวลา 09:55 • หนังสือ

'ทางของเรา ต้องก้าวเอง'

สวัสดีทุกคนจากประเทศไทยค่ะ 🤗💓
วันนี้มีหนังสือที่อ่านมาแล้วหลายรอบเพราะชอบมากมาแนะนำค่ะ
เล่มนั้นคือ...หนังสือ “ทางของเรา ต้องก้าวเอง” หนึ่งในซีรี่ย์ฟาสต์ฟู้ดธุรกิจ (เล่มนี้ลำดับที่ ๒๖ ค่ะ) เขียนโดยหนุ่มเมืองจันท์ หรือ คุณตุ้ม สรกล อดุลยานนท์
1
ซื้อมาอ่านคุ้มเลยค่ะ✨
เล่มนี้เป็นเรื่องเล่าจากตัวอย่างประสบการณ์ชีวิตและการทำงานของหลายคน จากหลากหลายวงการ ทั้งศิลปิน นักดนตรี ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์...
โดยมีประเด็นหลักคือ “การตัดสินใจ”
ผู้เขียนได้เล่าเรื่องไว้ได้อย่างสนุก น่าติดตาม อ่านเพลิน ตั้งคำถามให้เราได้คิดตามไปด้วยในแต่ละเรื่อง
เรื่องราวในเล่มนี้มี 28 เรื่อง แต่ละเรื่องล้วนมีแง่คิด คำถาม การปฏิบัติในสไตล์ของตัวเอง อ่านแล้วได้ประโยชน์ในการไปปรับใช้ได้เลยค่ะ
ส่วนตัวแล้วชอบตั้งแต่คำนำผู้เขียนที่บอกไว้ประมาณว่า ทุกอย่างล้วนเป็นเราที่ตัดสินใจเลือก แม้จะเป็นสิ่งที่คนอื่นเลือกให้ หากเรายอมทำตามนั่นคือ เราได้เลือกที่จะปฏิเสธนั่นเอง
จาก 28 เรื่องในเล่ม ขออนุญาตยกตัวอย่าง 3 เรื่องที่ชื่นชอบนะคะ
เริ่มเรื่องแรกด้วย...
จากในหนังสือ ทางของเรา ต้องก้าวเอง
“คำถามที่ไร้ประโยชน์”
พูดถึงประเด็นที่ว่า...ทำไปทำไม... มีหลายอย่างที่คนต่างอาชีพ ต่างความชอบ ต่างวัฒนธรรม ต่างเผ่าพันธุ์ อาจไม่เข้าใจในสิ่งที่ต่างฝ่ายทำ อาจมองว่าทำไปทำไม มันเป็นเรื่องดูไร้ประโยชน์ ซึ่งเรื่องนั้นอาจจะยิ่งใหญ่หรือเป็นจุดเริ่มต้นของคนทำ คนคิดเรื่องนั้นก็ได้ เพราะมันอาจจะเป็นประโยชน์ได้ในอนาคต
อย่างเช่นตัวอย่างในหนังสือที่หนุ่มเมืองจันท์ได้ยกตัวอย่างจากหนังสือ “ความฝันโง่ๆ” ของวินทร์ เลียววาริณ ที่มีตอนหนึ่งเล่าไว้ว่า
ไมเคิล ฟาราเดย์ (บิดาแห่งไฟฟ้า เป็นนักเคมี และนักฟิสิกส์ ชาวอังกฤษ ค้นพบการเหนี่ยวนำแม่เหล็กไฟฟ้า และได้ประดิษฐ์ “ไดนาโม” ต้นแบบของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าในปัจจุบัน)
ฟาราเดย์ ได้สาธิตกลไกการทำงานของไฟฟ้ากับแม่เหล็กให้นายกรัฐมนตรีอังกฤษชม ซึ่งในการชมการสาธิตนี้ สำหรับนายกฯแล้วเห็นว่าเป็นเรื่องเสียเวลา และไม่มีประโยชน์ แต่สำหรับฟาราเดย์ซึ่งเป็นนักวิทยาศาสตร์แล้วมันคือ การค้นพบที่ยิ่งใหญ่
จากการชมการสาธิตครั้งนี้
นายกฯ : แล้วมันจะใช้ประโยชน์อะไรได้?
ไมเคิล ฟาราเดย์ : (คงจะอึ้งไปนิดนึง) ก่อนจะตอบว่า
“แล้วทารกแรกเกิดมีประโยชน์อะไร”
เป็นยังไงค่ะ จากเรื่องนี้ทำให้มองว่าความใจแคบที่มองแต่ในมุมของตัวเอง นั่นจะทำให้ไม่มีทางเข้าใจคนอื่นได้เลย
เรื่องต่อไปนะคะ...
จากในหนังสือ ทางของเรา ต้องก้าวเอง
คุณครู “ความล้มเหลว”
พูดถึงความเปลี่ยนแปลงที่เป็นคู่ต่อสู้ของโลกปัจจุบันแทบทุกธุรกิจ มันทำให้เราต้องปรับตัว เรียนรู้ ลองผิดลองถูกกับความเปลี่ยนแปลงด้วยการลงมือทำ
เปิดใจว่าสิ่งใหม่ที่ทำอาจจะล้มเหลวก็ถือเป็นบทเรียน ทดลองเรื่อยๆ ทดลองใหม่ก็จะผิดพลาดน้อยลงและนำไปสู่ความสำเร็จได้ เพราะถ้าไม่ปรับตัวสู่ความเปลี่ยนแปลง เราอาจเป็นเหมือนกรณีของฟิล์มโกดักก็เป็นได้ค่ะ
มาถึงตัวอย่างเรื่องสุดท้ายกันแล้วค่ะ...
จากในหนังสือ ทางของเรา ต้องก้าวเอง
ชนะ “ที่สุด”
เล่าถึงผู้แพ้-ผู้ชนะในเกมกีฬาที่ยกตัวอย่างกีฬาซูโม่ของญี่ปุ่น เมื่อการแข่งขันเสร็จสิ้นสุดลงผู้ชนะจะไม่ดีใจจนออกนอกหน้า เพื่อให้เกียรติผู้แพ้ เพราะคนแพ้นั้นเจ็บปวดมากพออยู่แล้ว ซึ่งในกีฬาทุกอย่างจะวัดกันด้วยคำว่าที่สุดเพื่อหาผู้ชนะ
แต่ในชีวิตแล้วถ้าต้องที่สุดในทุกเรื่องคงจะเหนื่อย อย่างในเรื่องที่ยกตัวอย่าง นักวิ่งที่ได้อันดับที่ 1 กับ 2 เวลาห่างกันเพียง 0.01 วินาทีเท่านั้น ถ้าถามว่าใครวิ่งเร็วที่สุด แน่นอนก็ต้องคนที่เข้าเส้นชัยก่อน แต่ถ้าถามว่าใครวิ่งเร็ว ก็คือวิ่งเร็วทั้งคู่
นี่เป็นแค่ 3 จาก 28 เรื่องในเล่มเท่านั้นนะคะ ในเล่มยังมีความสนุก แง่คิดตั้งแต่บรรทัดแรกจนหน้าสุดท้ายที่พูดถึงเรื่องจุดเลยค่ะ
ขอให้สนุก มีความสุขกับการอ่านทุกๆอย่างนะคะ
ขอบคุณทุกคนที่ตัดสินใจเลือกอ่านมาถึงตรงนี้
รักษาสุขภาพกันด้วยนะคะ
✨ถ้าชอบกด like , กดติดตาม เป็นกำลังใจให้กันด้วยนะคะ
💓comment ติ ชม แนะนำ เพื่อการพัฒนาได้เลยค่ะ
🤗แล้วพบกันใหม่ค่ะ 👋🏻
#windasharing
อ้างอิงจาก หนังสือ ทางของเรา ต้องก้าวเอง
ผู้เขียน : ‘หนุ่มเมืองจันท์’ ฟาสต์ฟู้ดธุรกิจ ๒๖
โฆษณา