Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
คลังความรู้ by SpokeDark
•
ติดตาม
15 เม.ย. 2020 เวลา 02:24 • ประวัติศาสตร์
กำแพงเบอร์ลิน เกิดขึ้นได้ยังไง หลังสงครามโลกครั้งที่ 2
กำแพงเบอร์ลินสร้างขึ้นมาโดยประเทศเยอรมันตะวันออกในปี 1961 เพื่อปิดล้อมฝั่งตะวันตกของกรุงเบอร์ลิน ไม่ให้ประชาชนเยอรมันตะวันออกเข้าไปที่กรุงเบอร์ลินตะวันตก ซึ่งเป็นพื้นที่เสรีเพียงแห่งเดียว ที่อยู่ในเยอรมันตะวันออก กำแพงนี้ไม่ใช่แค่ขังคนเยอรมันตะวันออกไว้เท่านั้น แต่ก็แบ่งแยกชีวิตของประชาชน ทำให้ครอบครัว ญาติ เพื่อน และ คู่รักที่อยู่คนละฝั่งไม่สามรถพบกันเป็นเวลายาวนานถึง 28 ปี จนกำแพงล่มสลายลงในปี 1989
ร่วมเป็นผู้สนับสนุนให้เรามีกำลังผลิตงานต่อไปได้ทาง บัญชีกสิกรไทย
0698966939
บริษัท สโป๊คดาร์ค จำกัด
เหตุผลที่ทำให้ประเทศเยอรมันและกรุงเบอร์ลิน แตกแยกเป็นฝั่งตะวันออกและฝั่งตะวันตก ต้องย้อนกลับไปดูสถานการณ์ในช่วงปลายของสงครามโลกครั้งที่สอง ฝ่ายสัมพันธมิตรซึ่งมีสามประเทศที่เป็นผู้นำหลัก คือสหรัฐอเมริกา อังกฤษ และสหภาพโซเวียต ต้องการที่จะให้สงครามจบลงอย่างเร็วที่สุด สามประเทศผู้นำฝ่ายสัมพันธมิตรจึงพูดคุยกันโดยมีการวางแผนออกแบบสิ่งที่จะเกิดขึ้นหลังสงครามสิ้นสุด นอกจากเรื่องผลประโยชน์ที่แต่ละประเทศจะได้รับแล้ว อีกประเด็นที่สำคัญในตอนนั้นก็คือ เมื่อเอาชนะฝ่ายอักษะได้ ควรจัดการระเบียบโลกอย่างไร เพื่อจะได้ไม่เกิดสงครามโลกครั้งที่สามอีก
ผู้นำฝ่ายสัมพันธมิตรจึงตกลงกันว่า จะแบ่งประเทศเยอรมันออกเป็นสี่ส่วน ให้สี่ประเทศที่ชนะสงครามในยุโรป ซึ่งก็คือ สหรัฐอเมริกา อังกฤษ ฝรั่งเศส และสหภาพโซเวียต รับไปคนละส่วน ค่าเสียหายที่แต่ละประเทศอยากจะทวงกับเยอรมัน ก็ให้ประเทศนั้นๆ ไปเก็บจากพื้นที่ของตน ส่วนกรุงเบอร์ลิน แม้จะอยู่ในเขตยึดครองของสหภาพโซเวียต แต่เนื่องจากเป็นเมืองหลวง เพื่อสร้างสมดุลแห่งอำนาจ กรุงเบอร์ลินจะต้องถูกแบ่งออกเป็น 4 ส่วนเช่นเดียวกัน
ทันทีที่นาซีเยอรมันยอมแพ้สงครามในเดือนพฤษภาคม ปี 1945 สี่ประเทศสัมพันธมิตรก็ตั้งองค์กรชื่อว่า “สภาควบคุมฝ่ายสัมพันธมิตร” หรือ Allied Control Council ขึ้นมา เพื่อใช้ปกครองเยอรมันร่วมกัน
ในปี 1947 รัฐบาลสหรัฐอเมริกาประกาศแผนงานฟื้นฟูยุโรป หรือที่เรียกว่า แผนมาร์แชลล์ บอกว่าจะออกตังค์ช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจประเทศในยุโรปที่บอบช้ำจากสงคราม ซึ่งสหรัฐอเมริกาบอกว่า ยินดีที่จะช่วยทุกประเทศในยุโรป แต่ประเทศที่ร่วมแผนงานนี้ ต้องเป็นส่วนนึงในโครงการสร้างยุโรปให้เป็นตลาดร่วมเสรี ที่นำโดยสหรัฐอเมริกา แน่นอนอยู่แล้ว เมื่อสหภาพโซเวียตเห็นแบบนี้ก็ไม่เข้าร่วมโครงการด้วยแน่นอน เพราะไม่อยากยอมรับอิทธิพลของสหรัฐอเมริกา สหภาพโซเวียตจึงประกาศแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจคล้ายๆ กัน ชื่อว่าแผนงานโมโลตอฟ ออกเงินช่วยประเทศในยุโรปตะวันออก เพื่อควบคุมประเทศเหล่านี้เอาไว้ ไม่ให้ไปเข้าร่วมกับฝ่ายสหรัฐอเมริกา ประเทศในยุโรปจึงแตกเป็นสองฝ่าย ฝ่ายที่นำโดยสหรัฐอเมริกาอยู่ฝั่งตะวันตก เราเรียกว่าประเทศฝั่ง West bloc และฝ่ายที่นำโดยสหภาพโซเวียตอยู่ฝั่งตะวันออกหรือที่เรียกว่า East bloc
ส่วนในเยอรมัน สหรัฐอเมริกาก็เดินหน้าแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจโดยไม่รอโซเวียต จัดการเอาส่วนที่ยึดครองโดยอังกฤษและฝรั่งเศส ที่อยู่ทางด้านตะวันตก มารวมกัน และออกสกุลเงินใหม่ให้ใช้เฉพาะในด้านตะวันตก สหภาพโซเวียตก็เลย อ้าว! ที่คุยไว้คือให้สี่ประเทศมาตกลงกันและร่วมกันปกครองไม่ใช่เหรอ แล้วตอนนี้ฝ่ายนั้นตกลงกันเองแล้วไม่รวมฉันด้วย นี่มันคืออะไรกัน
สหภาพโซเวียตจึงออกเงินสกุลใหม่ไว้ใช้ในส่วนของเขตปกครองทางตะวันออกเท่านั้นเช่นกัน แล้วก็จัดการบล็อคเส้นทางที่ใช้เดินทางจากเยอรมันตะวันตกเข้าสู่เบอร์ลิน กดดันอีกสามประเทศให้ออกจากเบอร์ลินตะวันตกไปซะ เพื่อจะได้ยึดเบอร์ลินไว้ทั้งหมด แต่เมื่อเข้าเบอร์ลินจากทางบกไม่ได้ สหรัฐอเมริกาและอังกฤษก็เลยแก้เกมด้วยการใช้เครื่องบินทำการการคมมาคมทั้งหมดเข้าสู่เบอร์ลินตะวันตก ใช้ถนนไม่ได้ก็บินข้ามด่านเข้าไปซะเลย ทำให้สหภาพโซเวียตยอมรับว่าคงไล่พวกอเมริกันด้วยวิธีนี้ไม่ได้เสียแล้ว จึงปล่อยให้อีกฝั่งนึงอยู่ในเบอร์ลินตะวันตกต่อไป ทำให้สถานการณ์ผ่อนคลายความตึงเครียดลงไปบ้าง
หลังจากนั้น เยอรมันตะวันตกก็ตั้งรัฐบาลขึ้นมา แล้วก็เข้าร่วมองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ หรือ NATO ซึ่งก็คือพันธมิตรทางทหารระหว่างรัฐบาลที่นำโดยสหรัฐอเมริกาและกับโลกเสรีนิยมต่างๆ ในยุโรป ส่วนโซเวียตก็ไม่ยอมน้อยหน้า เพราะในเยอรมันตะวันออกก็มีพรรคเอกภาพสังคมนิยมเยอรมนี ซึ่งก็คือพรรคคอมมิวนิสต์ที่สนับสนุนโดยสหภาพโซเวียตเป็นฝ่ายจัดตั้งรัฐบาล ตั้งเบอร์ลินตะวันออกเป็นเมืองหลวง แล้วเข้าร่วมกติกาสัญญาวอร์ซอ (Warsaw Pact) ซึ่งก็คือพันธมิตรของฝ่ายสหภาพโซเวียตในยุโรปตะวันออก เยอรมันจึงแตกเป็นสองฝั่งอย่างเป็นทางการ โดยที่เบอร์ลินก็ยังค้างคาอยู่ตรงกลางเช่นเดิม
ระหว่างสองเยอรมัน มีเส้นเขตแดนที่ยาวถึง 1,393 กิโลเมตร กองทัพของแต่ละฝ่ายเฝ้าระวังอยู่ตลอด ในฝั่งตะวันตก รัฐบาลปกครองและพัฒนาเศรษฐกิจแบบเสรีนิยม จัดการเลือกตั้งแบบประชาธิปไตย ส่วนเยอรมันตะวันออก อยู่ภายใต้ระบบเผด็จการแบบคอมมิวนิสต์ การพัฒนาเศรษฐกิจและทุกสิ่งอย่างในชีวิตประจำวัน ต้องรอให้รัฐบาลจัดการวางแผนให้ ประชาชนที่ทนการปกครองของรัฐบาลคอมมิวนิสต์ไม่ไหว ก็พยายามหนีข้ามเส้นเขตแดนเข้าไปที่ฝั่งตะวันตกจำนวนมาก
ร่วมเป็นผู้สนับสนุนให้เรามีกำลังผลิตงานต่อไปได้ทาง บัญชีกสิกรไทย
0698966939
บริษัท สโป๊คดาร์ค จำกัด
สำหรับรัฐบาลที่ใช้โฆษณาชวนเชื่อ บอกว่าอุดมการณ์คอมมิวนิสต์เป็นสิ่งที่ดีที่สุด แต่ประชาชนกลับวิ่งหนีไปโลกเสรีแบบนี้ถือว่าเป็นเรื่องที่น่าอายมาก รัฐบาลเยอรมันตะวันออกจึงใช้กำลังทหารปิดพื้นที่ชายแดนในปี 1952 ใครที่พยายามจะข้ามชายแดน ก็จะเจอทุ่นระเบิดหรือถูกทหารยิงตาย
รัฐบาลเยอรมันตะวันออกพยายามควบคุมประชาชนอย่างหนัก นอกจากการปิดชายแดน ก็ให้ตำรวจลับจากหน่วยความมั่นคงแห่งชาติ หรือที่เรียกว่า Stasi จับตาชีวิตประจำวันของประชาชน 24 ชั่วโมง ใครที่ไม่พอใจพรรค มีความคิดต่อต้านรัฐบาลหรือระบอบคอมมิวนิสต์ คิดอยากจะหนีไปเยอรมันตะวันตก ก็จะถูกจับตา ถูกดักฟัง ถูกบันทึกคำพูดและจับตาทุกสิ่งอย่างที่ทำ ยิ่งกว่านั้นคือ บางทีครอบครัว คนรัก หรือเพื่อนสนิทก็อาจจะหักหลังกันภายใต้การคุกคามของ Stasi ด้วย พูดได้ว่าถูกจับตาจากทุกมิติ
แต่ยิ่งรัฐบาลควบคุมมากเท่าไหร่ ยิ่งทำให้ประชาชนอยากหนีไปฝั่งตะวันตกมากขึ้น แต่ในพื้นที่ชายแดนมีทหารเฝ้าอยู่ตลอดเวลา ซึ่งเสี่ยงเกินไปที่จะลักลอบหนีข้ามชายแดนจากเยอรมันตะวันออกไปตะวันตก ทางที่ง่ายกว่าสำหรับชาวเยอรมันตะวันออกก็คือการหนีเข้าไปเบอร์ลินตะวันตก ซึ่งถือได้ว่าเป็นเกาะแห่งอิสรภาพในเยอรมันตะวันออก เพราะเส้นแบ่งแยกเบอร์ลินตะวันตกกับเบอร์ลินตะวันออก ส่วนใหญ่คือถนนหรือแม่น้ำ ประชาชนสามารถไปมาหาสู่กันได้ง่ายมาก และพอเข้าถึงเบอร์ลินตะวันตกแล้ว ก็หาทางข้ามไปที่เยอรมันตะวันตกได้แบบไม่ต้องหลบๆซ่อนๆ ซึ่งเป็นวิธีหลักที่ประชาชนฝั่งตะวันออกใช้ลี้ภัยไปอีกฝั่งหนึ่ง
ต่อมาในปี 1957 ความตึงเครียดก็มีมากขึ้นไปอีก สหภาพโซเวียตทดลองยิงขีปนาวุธข้ามทวีปและอาวุธเทอร์โมนิวเคลียร์ได้สำเร็จ และยังเป็นประเทศแรกที่ยิงดาวเทียมขึ้นสู่อวกาศได้สำเร็จ สหรัฐอเมริกาจึงตัดสินใจว่าจะต้องติดตั้งอาวุธในเยอรมันตะวันตกบ้าง เพื่อคานอำนาจของสหภาพโซเวียต นิกิต้า ครุชชอฟ ผู้นำสหภาพโซเวียตในขณะนั้น จึงประกาศให้สามประเทศตะวันตกถอนทหารจากเบอร์ลินภายในหกเดือน ไม่เช่นนั้นก็จะปิดกั้นเส้นทางเข้าสู่เบอร์ลินตะวันตกอีกครั้ง
แต่สามประเทศก็ดื้อไม่ยอมถอนทหาร สหภาพโซเวียตก็ยอมรับสภาพ ยังไม่เทคแอคชั่นในสเต็ปต่อไปตามที่ขู่ไว้ ยิ่งความตึงเครียดระหว่างสองอำนาจสูงขึ้นประชาชนในเยอรมันตะวันออกก็คิดว่าสหภาพโซเวียตน่าจะปิดทางเข้าเบอร์ลินตะวันตกแน่ๆ ไม่วันใดก็วันนึง ประชาชนเยอรมันตะวันออกก็กลัวว่า ถ้าไม่รีบไปเดี๋ยวนี้ ก็อาจจะไม่มีวันที่จะได้ข้ามไปฝั่งตะวันตกอีกแล้ว ตั้งแต่ปี 1958 ถึง ปี 1960 คือเพียงแค่สองปี มีคนหนีจากเยอรมันตะวันออกไปเยอรมันตะวันตก เกินห้าแสนคน พอเห็นแบบนี้รัฐบาลเยอรมันตะวันออกจึงตัดสินใจปิดทางเข้าเบอร์ลินตะวันตกอย่างจริงจังจนได้
เมื่อประชาชนเยอรมันตะวันออกตื่นมาในเช้าวันที่ 13 สิงหาคม ปี 1961 ก็พบว่าการเดินทางทุกประเภทที่มุ่งสู่เบอร์ลินตะวันตกถูกรัฐบาลสั่งปิด เส้นแบ่งระหว่างเบอร์ลินตะวันตกและเยอรมันตะวันออก มีลวดหนามและสิ่งกีดขวางโผล่ขึ้นมามากมายเพียงชั่วข้ามคืน และตั้งแต่วันนั้นเป็นต้นมา รัฐบาลเยอรมันตะวันออกได้เสริมสร้างสิ่งกีดขวางมากขึ้นเรื่อย ๆ จนกลายเป็นกำแพงยาวทั้งหมด 155 กิโลเมตร มีความสูงอย่างน้อย 4 เมตร ปิดล้อมเบอร์ลินตะวันตกจากเยอรมันตะวันออกอย่างสิ้นเชิง บริเวณใกล้กำแพง มีทุ่นระเบิดฝังอยู่ใต้ดิน และมีตำรวจถือปืนเฝ้าอยู่ไม่ให้ใครพยายามข้ามกำแพง กำแพงนี่แหละที่เราเรียกกันว่ากำแพงเบอร์ลิน
ช่วงปลายทศวรรษ 1980 สหภาพโซเวียตเข้าสู่การปฏิรูปเส้นทางทางการเมืองครั้งใหญ่ ภายใต้การปกคองของผู้นำใหม่ที่ชื่อ มิคาอิล กอร์บาชอฟ เพื่อให้อุดมการณ์ทางการเมืองแบบสังคมนิยมสามารถปรับตัวและเดินต่อไปได้ เขาตัดสินใจว่าจะต้องปรับระบอบการปกครองให้เป็นประชาธิปไตยมากขึ้น โดยในด้านนโยบายต่างประเทศ กอร์บาชอฟก็เริ่มลดการครอบงำประเทศคอมมิวนิสต์ในยุโรปตะวันออกตั้งแต่ปี 1988 ซึ่งก็คือนโยบายที่เรียกว่า Sinatra Doctrine ทำให้เกิดการปฏิวัติในประเทศยุโรปตะวันออกหลายประเทศและเริ่มหลุดพ้นจากอำนาจของสหภาพโซเวียต
ในเดือนสิงหาคมปี 1989 สถานการณ์ก็เริ่มผ่อนคลายเมื่อ ฮังการี ซึ่งเป็นไม่กี่ประเทศที่รัฐบาลเยอรมันตะวันออกเปิดให้ประชาชนเดินทางไปได้ ทำการเปิดชายแดนที่ติดกับออสเตรีย จึงมีคนเยอรมันตะวันออกจำนวนมากเดินทางไปฮังการี แล้วลี้ภัยไปที่เยอรมันตะวันตกผ่านออสเตรีย และในเยอรมันตะวันออก ประชาชนก็เริ่มเดินขบวนทุกเย็นวันจันทร์ เรียกร้องให้รัฐบาลยกเลิกข้อจำกัดการเดินทางและเปิดพื้นที่เสรีให้สื่อ เรียกร้องการมีส่วนร่วมทางการเมือง
สุดท้ายผู้นำสูงสุดของเยอรมันตะวันออกจึงยอมลาออกจากตำแหน่ง และในวันที่ 9 พฤศจิกายน ปี 1989 ฝูงชนที่ได้ข่าวว่ารัฐบาลจะเปิดให้ประชาชนเดินทางได้อย่างเสรี ก็ไปรวมตัวที่กำแพงเบอร์ลินและเรียกร้องให้ทหารเปิดประตูกำแพงเบอร์ลินทันที ทหารทำอะไรไม่ถูก โทรถามใครก็ไม่มีใครยอมตัดสินใจ สุดท้ายทหารก็เลยเปิดทุกประตูและประชาชนกว่า 2 ล้านคนจึงข้ามพรมแดนเข้าไปในเบอร์ลินตะวันตกเพื่อเฉลิมฉลองในสุดสัปดาห์นั้น
ชาวเยอรมันที่อยู่คนละฝั่งของกำแพงเบอร์ลิน ได้พบหน้ากันอีกครั้งหลังการแบ่งแยกที่ยาวนานถึง 28 ปี ในที่สุดกำแพงเบอร์ลินก็ล่มสลายลง
ร่วมเป็นผู้สนับสนุนให้เรามีกำลังผลิตงานต่อไปได้ทาง บัญชีกสิกรไทย
0698966939
บริษัท สโป๊คดาร์ค จำกัด
หลังจากนั้นในวันที่ 3 ตุลาคม ปี 1990 เยอรมันตะวันตกประกาศแผนงานรวมประเทศเยอรมนี ขณะเดียวกัน บรรยากาศของสงครามเย็นทั่วโลกก็ลดน้อยลงไปเรื่อยๆ สหภาพโซเวียตล่มสลายในปี 1990 ต่อมาโลกของเราก็เริ่มเข้าสู่ยุคใหม่ที่เรียกว่า ยุคหลังสงครามเย็น หรือ post-cold war era
กำแพงเบอร์ลิน เกิดขึ้นได้ยังไง หลังสงครามโลกครั้งที่ 2
4 บันทึก
2
1
2
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
ประวัติศาสตร์ สงคราม และการปกครอง
4
2
1
2
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย