Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
คลังความรู้ by SpokeDark
•
ติดตาม
15 เม.ย. 2020 เวลา 03:10 • ประวัติศาสตร์
ประวัติศาสตร์ผ้าอนามัย กับเรื่องที่คุณไม่เคยรู้มาก่อน
ผ้าอนามัยเป็นความจำเป็นพื้นฐานของผู้หญิงทุกคนบนโลกใบนี้ แต่ค่าใช้จ่ายในการใช้ผ้าอนามัยของผู้หญิงแต่ละคนสูงมาก อย่างในอเมริกา ผู้หญิงอเมริกัน 1 คนจะต้องใช้จ่ายเฉพาะค่าผ้าอนามัยประมาณ 2000 เหรียญในหนึ่งช่วงชีวิต (ประมาณหกหมื่นกว่าบาท)
ร่วมเป็นผู้สนับสนุนให้เรามีกำลังผลิตงานต่อไปได้ทาง บัญชีกสิกรไทย
0698966939
บริษัท สโป๊คดาร์ค จำกัด
สำหรับบางคนอาจจะรู้สึกว่าไม่ได้มากมายอะไร แต่สำหรับผู้หญิงหลาย ๆ คน มันเป็นเงินจำนวนมากที่เป็นภาระจริง ๆ เพียงเพราะเกิดมามีมดลูก ตลอดช่วงเวลาที่มีประจำเดือนจำนวนผ้าอนามัย(ไม่ว่าจะแบบแถบกาวหรือแบบสอด) ผู้หญิงอเมริกันซื้อใช้ตลอดชีวิตสูงถึง17,000 ชิ้น/คน จึงไม่น่าแปลกใจ ที่ผู้หญิงในประเทศยากจนหลายประเทศไม่มีเงินมากพอจะหาซื้อผ้าอนามัยมาใช้ได้
สำหรับประเทศไทย มีการคำนวนคร่าว ๆ ว่าใน 1 รอบประจำเดือน ผู้หญิงคนหนึ่งต้องใช้ผ้าอนามัยประมาณ 30 แผ่น บวกลบ ราคาอยู่ที่ประมาณ 400 บาท
400 บาท สำหรับบางคนอาจจะไม่มาก แต่สำหรับคนที่รับค่าแรงขั้นต่ำวันละ 300 บาท ถ้าทำงานทั้งเดือนไม่หยุดเลยหมายถึงจะมีรายได้เดือนละ 9000 บาท เงิน คุณจะต้องจ่าย400 บาทต่อเดือนเพียงเพราะคุณดันมีมดลูก
ผู้หญิงไทยในสมัยก่อนเรียกประจำเดือนว่า ระดู การมีระดูแต่ละเดือนของคนยุคก่อนถือเป็นเรื่องยุ่งยาก เพราะต้องทำผ้าอนามัยใช้เอง คนโบราณเรียกผ้าอนามัยว่า“ผ้าขี่ม้า” ตามการใช้งานที่ต้องใส่เหมือนกับการขี่ม้า และเรียกช่วงเป็นประจำเดือนนี้ว่า“ถึงผ้า” บ้างก็ใช้ กาบมะพร้าวทุบ หรือ นุ่นหรือแกลบมาสอดใส้ในเนื้อผ้าและเย็บให้เป็นสีเหลี่ยมผืนผ้า โดยจะมีเชือกกล้วยผูกระหว่างหัวท้ายก่อนนำมาผูกติดเอว เมื่อจะใช้งานก็จะวางสอดใต้ขาก่อนนุ่งโจงกระเบน หรือใช้เศษผ้ายาวๆผูกกับเอวเอาไว้ เหมือนเป็นการนุ่งผ้าเตี่ยวที่ซูโม่เค้านุ่งกัน
ร่วมเป็นผู้สนับสนุนให้เรามีกำลังผลิตงานต่อไปได้ทาง บัญชีกสิกรไทย
0698966939
บริษัท สโป๊คดาร์ค จำกัด
เมื่อมีเวลาว่างคราวใด สาวๆก็ต้องเตรียมผ้าขี่ม้าไว้ใช้ในแต่ละเดือน ถ้าสาวคนไหนทำผ้าขี่ม้าไม่เรียบร้อย ก็จะทำให้โจงกระเบนหย่อนลงมาดูแล้วไม่สวย ยิ่งเป็นสาวๆ ชาววังด้วยแล้วจะยิ่งเน้นความประณีตเรียบร้อยในการทำผ้าขี่ม้าเป็นพิเศษ โดยนำผ้ามาซ้อนทับกันแล้วเย็บเก็บไว้ใช้งาน
ในศตวรรษที่ 20 ก่อนยุคที่จะมีผ้าอนามัยแบบแถบกาวแบบที่เราคุ้นๆ กัน อุปกรณ์ที่ผู้หญิงใช้ขณะที่มีประจำเดือนคือ เข็มขัดอนามัย (sanitary belts ) เข็มขัดทำหน้าที่รั้งไม่ให้แผ่นกันเปื้อนขยับเลื่อนไหลไปมา แม้จะทำหน้าที่รองรับเลือดประจำเดือนได้ มันทำให้ผู้สวมใส่อึดอัดไม่สบายตัว
ช่วง ค.ศ. 1920-1930 ซึ่งเป็นช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 นางพยาบาลในสนามรบใช้อุปกรณ์ห้ามเลือดที่เรียก cellucotton ที่บรรจุมาในชุดปฐมพยาบาลทหารในสนามรบ เพื่อซับเลือดทหารที่ได้รับบาดเจ็บ และนั่นทำให้บริษัท Kimberly Clark ได้แรงบันดาลใจจากวิธีการนี้ เลยผลิตสินค้าที่เป็นผ้าอนามัยในชื่อเรียก Kotex
ส่วนในไทยซึ่งมีหลักฐานเก่าแก่สุดที่พบ เป็นโฆษณาขายผ้าซับระตู หรือ ผ้าซับระดูในหนังสือ มาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 6 หรือกว่า 100 ปีมาแล้ว
ราว ค.ศ. 1930-1940 เมื่อปี ค.ศ. 1934 เกิดผลิตภัณฑ์ใหม่ของบริษัทTampax มันคือผ้าอนามัยแบบสอดที่มีส่วนประกอบจากกระดาษแข็งเป็นตัวช่วยดันผ้าอนามัยให้เข้าไปในช่องคลอด ในช่วงเวลานั้นกลุ่มลูกค้าเป้าหมายสำหรับผ้าอนามัยแบบสอดคือกลุ่มผู้หญิงที่แต่งงานแล้วเท่านั้น สาวๆ ที่ไม่เคยมีสามีมาก่อนเชื่อว่าถ้าใช้ผ้าอนามัยแบบสอดจะทำให้เยื่อพรหมจรรย์ขาด บางคนก็เชื่อว่ามันทำให้เกิดความรู้สึกทางเพศ แต่ปัจจุบันเรารู้กันแล้วว่า ความเชื่อพวกนั้นเหลวไหลโดยสิ้นเชิง
ร่วมเป็นผู้สนับสนุนให้เรามีกำลังผลิตงานต่อไปได้ทาง บัญชีกสิกรไทย
0698966939
บริษัท สโป๊คดาร์ค จำกัด
ต่อมาใน ค.ศ.1940-1950 ผ้าอนามัยแบบสอดมีวิวัฒนาการใหม่ เป็นรุ่นที่ไม่มีกระดาษแข็งตัวนำดันผ้าอนามัยเข้าสู่ช่องคลอดอีกต่อไป ในยุคนี้ตรงกับยุคสงครามโลกครั้งที่2 ผญ มีกิจกรรมต่างๆ ต้องทำมากขึ้นทำให้เกิดความต้องการใช้ผ้าอนามัยแบบสอดเพิ่มขึ้น ผญ ไม่มีเวลาคอยมาเปลี่ยนแผ่นรองอนามัยและหนีบแผ่นใหม่กับเข็มขัดอนามัย จึงไม่น่าแปลกใจที่ทำไมผ้าอนามัยแบบสอดแบบไม่มีกระดาษแข็งนำจึงเป็นสินค้ายอดนิยมแทนไปได้
เมื่อถึง ค.ศ. 1950-1960 หลังสงครามโลกจบลง เกิดความต้องการแรงงานทุกเพศทุกวัยอย่างมาก ผู้หญิงถูกผลักดันให้ต้องทำงานนอกบ้าน เช่น ในโรงงานอุตสาหกรรม และยังต้องทำงานบ้านอีกด้วย สื่อโฆษณาเริ่มมีโฆษณาทำนองว่าผู้หญิงไม่ควรอ้างการมีประจำเดือนเพื่อเลี่ยงงานบ้านและงานนอกบ้าน แม้ว่าพวกเธอมีการปวดประจำเดือนก็จะเอามันมาเป็นข้ออ้างของการไม่ทำงานบ้าน ไม่มีอาหารเย็นสำหรับสามีทุกเย็นไม่ได้ ทำให้การพูดเรื่องประจำเดือนเป็นเรื่องห้ามพูดถึงอีกช่วงเวลาหนึ่ง เมื่อเป็นเรื่องห้ามพูดถึง การโฆษณาสินค้าผ้าอนามัยกลายเป็นเรื่องห้ามโฆษณาตามไปด้วย เป็นความกดดันอย่างมากในหมู่ผู้หญิง เพราะต้องทำงานทั้งในและนอกบ้าน ปวดท้องประจำเดือน หรือมีความลำบากขณะประจำเดือนมา ก็บ่นระบายไม่ได้
ค.ศ. 1960-1970 เป็นยุคที่เริ่มมีการเรียกร้องสิทธิสตรี เป็นยุคของฮิปปี้ที่เชื่อในเสรีภาพในการแสดงความรักและการแสดงความเอื้ออาทรแต่สิ่งมีชีวิตด้วยกันไม่ว่าจะเป็นคนที่มีความแตกต่างจากสีผิวของเรารวมถึงการรักสัตว์และรักษ์โลก เมื่อเกิดกระแสของการรักษาสิ่งแวดล้อม ก็มีบริษัทหลายแห่งเกิดความคิดผลิตผ้าอนามัยแบบซักซึ่งสามารถซักทำความสะอาดด้วยมือหรือเครื่องซักผ้าได้ด้วย ผู้หญิงจำนวนมากเชื่อว่านี่เป็นสิ่งประดิษฐ์ที่ดีสุดสำหรับผู้หญิงเท่าที่เคยมีมา
จนถึง ค.ศ. 1970-1980 น่าจะถือได้ว่าเป็นช่วงเวลาที่ดีสุดของผู้หญิงที่มีประจำเดือนเมื่อมีผลิตภัณฑ์ออกใหม่เป็นผ้าอนามัยแบบแถบกาวความยาวหลายขนาด ทำให้ผ้าอนามัยแบบหนีบหรือแบบเข็มขัดกลายเป็นของล้าสมัยไปแล้ว รวมถึงการพูดคุยถึงการมีประจำเดือนในสังคมไม่ใช่เรื่องต้องห้ามน่าอายอีกต่อไป อเมริกายกเลิกการแบนโฆษณาผ้าอนามัย ผลคือผู้หญิงรู้จักสินค้าและสามารถเลือกสิ่งที่ตนเองต้องการได้ตรงใจมากขึ้น โดยปี ค.ศ. 1985 เกิดศัพท์ใหม่เพื่อเรียกประจำเดือนของผู้หญิง คำนั้นคือ period โดยนักแสดงหญิงชื่อ Courtney Cox พูดโฆษณาขาย Tampax ออกอากาศครั้งแรก ในโทรทัศน์ และทำให้คำว่า period กลายเป็นอีกชื่อที่ใช้เรียกแทนประจำเดือนของผู้หญิงมาจนทุกวันนี้
ร่วมเป็นผู้สนับสนุนให้เรามีกำลังผลิตงานต่อไปได้ทาง บัญชีกสิกรไทย
0698966939
บริษัท สโป๊คดาร์ค จำกัด
ยุคปัจจุบัน มีสิ่งประดิษฐ์ใหม่สำหรับใช้ระหว่างมีประจำเดือน มันคือ ถ้วยอนามัย หรือ ถ้วยประจำเดือน(Menstrual Cup) คือ อุปกรณ์ที่ใช้รองรับเลือดประจำเดือนแทนผ้าอนามัย ทำจากซิลิโคนหรือยางชนิดนิ่ม มีลักษณะรูปทรงเป็นเหมือนกรวย มีหลายไซซ์ให้เลือกใช้
อันที่จริงแล้ว ถ้วยอนามัย ไม่ใช่ของใหม่เสียทีเดียว มีการคิดค้นการใช้ถ้วยอนามัยมาตั้งแต่ปี 1930 แต่ยุคนั้นถ้วยแบบนี้น่าจะถูกผลิตจากวัสดุที่ใช้งานยาก จึงไม่เป็นที่นิยม ต่างกับปัจจุบันนี้ที่มีความนิยมเพิ่มขึ้น ข้อดีของถ้วยอนามัยคือ สามารถประหยัดค่าใช้จ่ายไปได้มาก เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเกาะกระแสรักษ์โลกได้สวยๆ แถมติดเชื้อยากกว่าการใช้ผ้าอนามัยทั้งแบบแถบกาวและแบบสอด และสำหรับผู้หญิงที่แพ้เยื่อกระดาษง่ายผ้าอนามัยแบบถ้วยจะตอบโจทย์กว่า
แม้จะเริ่มเข้าสู่ยุคที่มีความเจริญในหลายๆ ด้านแล้ว ผู้หญิงบางคนยังเชื่อว่าถ้าทำกับข้าวช่วงมี ประจำเดือนจะทำให้อาหารสกปรก ในบางชนเผ่าผู้หญิงที่มีประจำเดือนจะต้องไปอาศัยในคอกวัวชั่วคราว และแม้จะเข้าสู่ศตวรรษที่ 21 แล้วก็ตาม เรื่องประจำเดือนยังเป็นเรื่องห้ามพูดถึงในบางพื้นที่ของประเทศอินเดียก็ยังเป็นเรื่องต้องห้าม ก่อนหน้านั้นผู้หญิงต่างต้องทนอยู่กับการใช้ชีวิตแบบไม่ถูกสุขลักษณะเวลาที่เลือดประจำเดือนไหล มักพบว่าเสื้อผ้าจะมีรอยเปื้อนเลือด บางครั้งก็มีการติดเชื้อด้วย
เป็นเรื่องน่าแปลกที่เทคโนโลยีของมนุษย์ช่างล้ำหน้า เรามียานอวกาศ เรามีรถยนต์ที่ขับตัวเองไปได้ เราทำแผนที่จีโนมมนุษย์เสร็จแล้ว เราจะมีไฮเปอร์ลูปใช้กันในเร็ว ๆ นี้ แต่อุปกรณ์สำหรับการมีประจำเดือนเนี่ย ในรอบ100 ปี แทบจะไม่มีความเปลี่ยนแปลงอะไรเลย ใครมีไอเดียฟุ้ง ๆ เกี่ยวกับการรับมือประจำเดือนก็ช่วยกันแชร์ในคอมเม้น เผื่อมีนักวิทยาศาสตร์หรือนักประดิษฐ์เก่ง ๆ ผ่านมาเห็นเข้าเค้าจะได้เอาไปใช้เป็นแรงบันดาลใจ
ร่วมเป็นผู้สนับสนุนให้เรามีกำลังผลิตงานต่อไปได้ทาง บัญชีกสิกรไทย
0698966939
บริษัท สโป๊คดาร์ค จำกัด
ประวัติศาสตร์ผ้าอนามัย กับเรื่องที่คุณไม่เคยรู้มาก่อน
4 บันทึก
3
1
1
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
ประวัติศาสตร์ สงคราม และการปกครอง
4
3
1
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย