15 เม.ย. 2020 เวลา 05:18 • การศึกษา
ประวัติศาสตร์ของเกลือกับการปฏิวัติของโลก
จริงๆ แล้วเกลือเคยมีค่ามากกว่าทองเสียอีก แม้แต่คำว่าซาลารี่ (Salary) ที่แปลว่าเงินเดือน ก็มีรากศัพท์มาจากภาษาลาตินคำเดียวกับคำว่า ซอล (Salt) ที่แปลว่าเกลือเนี่ยแหละ
ร่วมเป็นผู้สนับสนุนให้เรามีกำลังผลิตงานต่อไปได้ทาง บัญชีกสิกรไทย
0698966939
บริษัท สโป๊คดาร์ค จำกัด
ในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติถือว่ามีคนที่ไหนก็มีเกลือที่นั้น มีหลักฐานว่ามนุษย์ใช้เกลือและผลิตเกลือมาตั้งแต่ 6,000 ปี ก่อนคริสต์กาล หรือก็คือแปดพันกว่าปีก่อนนั้นแหละ ในหลายๆ อารยะธรรมก็ถือว่าเกลือเป็นสิ่งมีค่า อียิปต์โบราณใช้เกลือเป็นเครื่องบูชาเทพเจ้า มีการค้าขายเกลือกับชาวบาบิโลนกันในฐานะสินค้ามีค่าอื่นๆ
ในอาณาจักรโรมัน ก็เช่นกัน ชาวโรมันเริ่มพัฒนาเทคโลยีจนสร้างถนนขึ้นมา ก็เพื่อขนส่งเกลือจากทะเลเอเดรียติกมาสู่เมืองหลวงที่โรม ภาษาอังกฤษคำว่า Salad คำว่า Sauce และ คำว่า Sausage ก็ล้วนแต่มีรากศัพท์มาจากคำว่า Salt เพราะเป็นส่วนประกอบสำคัญ สำหรับสลัด “salad” ก็เชื่อกันว่าในสมัยนั้นสลัดของชาวโรมันก็คืออาหารที่เป็นผักสดโรยเกลือ นี่เอง
เช่นเดียวกันที่เราเอามาจั่วหัว คำว่า ซาลารี่(Salary) ที่แปลว่าเงินเดือน ก็มีรากศัพท์มาจากภาษาลาติน(salārium) ซึ่งมาจากคำว่า ซอล (Salt) เช่นกัน แต่ว่าไม่มีหลักฐานหรอกนะว่าเป็นเพราะอะไร ที่บอกว่าคนโรมันเขาจ่ายเกลือแทนเงินเดือนทหาร ก็เป็นแค่สมมุติฐานเท่านั้น
ร่วมเป็นผู้สนับสนุนให้เรามีกำลังผลิตงานต่อไปได้ทาง บัญชีกสิกรไทย
0698966939
บริษัท สโป๊คดาร์ค จำกัด
เกลือสำคัญกับมนุษย์มากโดยเฉพาะในยุคโบราณ การใช้เกลือเป็นวิธีถนอมอาหารที่ได้ผลที่สุด และใช้ในการผลิตอาหารอื่นๆมากมาย เช่น ชีส เต้าเจี้ยว น้ำปลา ซีอิ้ว และอุตสาหกรรมอื่นๆ อีก เช่น การผลิตยาง พลาสติก อลูมิเนียม และสารเคมีอื่นๆ อีกมากมายก็ต้องใช้เกลือเป็นส่วนประกอบ และจนถึงทุกวันนี้ก็ยังไม่มีสิ่งอื่นทดแทนได้
เกลือจึงเคยมีอำนาจอย่างเหลือเชื่อ ผู้ปกครองทั้งหลายในอารยธรรมต่างๆ ล้วนแต่ผู้ขาดเกลือผู้ปกครองผลิตเองขายเองและเก็บภาษีเองอีกตะหาก เช่น จีนสมัยโบราณหลายๆ ราชวงศ์ก็ผูกขาดเกลือและมีรายได้จากภาษีเกลือ เช่น ในช่วงกลางของราชวงศ์ถัง มีบันทึกว่ามีรายได้จากภาษีเกลือนับเป็นครึ่งหนึ่งของรายได้ทั้งหมดที่รัฐบาลหามาได้
ในฝรั่งเศสก็เช่นกัน มีสิ่งที่เรียกว่า gabelle (กาเเบล) หรือ ภาษีเกลือ มีมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 14 คือนอกจากผูกขาดการผลิตเกลือ รัฐก็ยังเป็นผู้ควบคุมตลาดและกำหนดราคาเองทั้งหมด ที่โหดสุดๆ คือยังกำหนดให้ประชาชนทุกคนต้องซื้อเกลือตามที่กำหนดโควต้า คือทุกคนที่อายุเกิน8 ขวบ ต้องซื้อเกลือตามกำหนดทุกสัปดาห์ นอกจากจะซื้อในราคาที่รัฐกำหนดไว้ตายตัวแล้ว ยังเก็บภาษีราวๆ1.66% ของเกลือที่ซื้อไปอีก
และพอมีการควบคุมมาก ก็มีความพยายามจะปราบเกลือเถื่อนมากขึ้นไปด้วย เรื่องนี้ก็ทำให้เศร้ากว่าเดิม เพราะนอกจากใช้เกลือเอาไว้บริโภคตรง ๆ แล้ว การนำเกลือไปเป็นส่วนประกอบของอาหารอื่น ๆ ก็อาจจะทำให้ซวยได้ เช่น เอาเกลือไปทำชีสแล้วใส่มากไป เจ้าหน้าที่เลยสงสัย ว่าเราใช้เกลือเถื่อนหรือเปล่า เผลอๆ โดนจับข้อหาโกงเกลือ ไม่ติดคุกหัวโต ก็โดนประหาร
ภาษีเกลืออยู่กับฝรั่งเศสจนถึงปลายศตววษที่ 18 ชาวบ้านโดนเก็บภาษีมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะว่าฝรั่งเศสกำลังทำสงครามกับอังกฤษ การบังคับกฎหมายก็เริ่มไม่เท่าเทียม สร้างความเหลื่อมล้ำ คนในฐานันดรอื่นที่ไม่ใช่ชาวนาเช่นขุนนาง หรือพระ เสียภาษีน้อยกว่า หรือจังหวัดที่ห่างไกลจากแหล่งผลิตเกลือถูกเก็บภาษีแพงกว่า พอยิ่งรีดภาษีชนชั้นล่างก็ยิ่งโกรธ และก็เป็นกาเบลหรือภาษีเกลือนี่แหละ ที่เป็นหนึ่งในฟางเส้นสุดท้ายของความอดทนต่อการกดขี่(ที่มีหลายๆเส้นมากๆ) ที่จุดให้เกิดการปฎิวัติฝรั่งเศสในที่สุด
ร่วมเป็นผู้สนับสนุนให้เรามีกำลังผลิตงานต่อไปได้ทาง บัญชีกสิกรไทย
0698966939
บริษัท สโป๊คดาร์ค จำกัด
สิ่งหนึ่งที่มีความสำคัญมาก ๆ ทำให้เมืองลิเวอร์พูลเกิดขึ้นมาได้ก็คือท่าเรือ ซึ่งท่าเรือลิเวอร์พูล ก็เติบโตมาพร้อมกับการค้าเกลือของอังกฤษในศตวรรษที่ 19 ช่วงนั้นมณฑลเชชเชอร์ ที่อยู่ใกล้ๆ ลิเวอร์พูลก็กำลังเฟื่องฟูจากการทำเหมืองเกลือ สรุปว่าถ้าไม่มีเกลือ ก็ไม่มีเมืองท่าลิเวอร์พูล อาจจะไม่มีบีเทิล และไม่มีทีมบอลด้วยก็ได้
การปฎิวัติของอเมริกา ซึ่งเป็นสงครามระหว่างชาวอาณานิคมที่ลุกขึ้นมาต่อต้านอังกฤษ เรื่องของเกลือก็เป็นเรื่องใหญ่เหมือนกัน เพราะก่อนเกิดสงครามชาวอาณานิคมต้องใช้เกลือที่มาจากฝ่ายอังกฤษ พอเกิดสงครามฝ่ายอาณานิคมก็ต้องเร่งผลิตเกลือเอง ส่วนฝ่ายอังกฤษก็พยายามตัดกำลังการผลิตเกลือของฝ่ายตรงข้าม เพราะถ้าไม่มีเกลือ ก็ถนอมอาหารไม่ได้ และถ้าถนอมอาหารไม่ได้ ก็ไม่มีเสบียงที่จะทำสงครามผ่านหน้าหนาวนั้นเอง
พูดถึงอังกฤษกับเกลือ ก็ต้องพูดถึง มหาตมา คานธี เพราะในช่วงที่อินเดียเป็นอาณานิคมของอังกฤษ อังกฤษก็ผูกขาดการทำเกลือแต่เพียงผู้เดียว ถ้าคนอินเดียผลิตเกลือถือว่าผิดกฎหมาย คนอินเดียต้องซื้อเกลือแพงๆ จากคนอังกฤษพร้อมเสียภาษีให้คนอังกฤษอีก ภาษีเกลือเป็นรายได้ถึง8.2%ที่อังกฤษเก็บภาษีได้จากอาณานิคมอินเดีย
ในปี 1930 มหาตมา คานธี จึงเริ่มทำการเดินขบวนเกลือ หรือ “สัตยาเคราะห์เกลือ” คานธีและผู้ติดตามเดินทางไกลกว่า400 กิโลเมตรใช้เวลา 24 วัน ในการเดินไปที่เมือง “ดานดิ” ที่อยู่ริมมหาสมุทรอินเดีย พอไปถึง คานธี ก็เดินลงไปที่ชายฝั่ง และก็กำเกลือขึ้นมาหนึ่งหยิบมือ เพื่อเป็นสัญลักษณ์ว่าฉันเป็นคนอินเดีย และฉันได้ทำการผลิตเกลือขึ้นมาจากทะเลโดยไม่สนใจกฎหมายของเจ้าอาณานิคมแต่อย่างใด
คานธี ทำการเดินขบวนเกลือต่อไปอีก 2 เดือน ก่อนจะถูกจับกุมในที่สุด ซึ่งก็ปลุกให้คนอินเดียนับหมื่นลุกขึ้นมาประท้วง สุดท้ายเจ้าอาณานิคมอังกฤษก็ต้องยอมปล่อยตัวคานธีในอีกหลายเดือนให้หลัง พร้อมยอมผ่อนผันให้คนอินเดียผลิตเกลือได้ชั่วคราว และนี่ก็เป็นจุดเริ่มต้น ที่ทำให้โลกเห็นว่ายุคสมัยของการล่าอาณานิคมกำลังจะจบลงแล้ว คานธี ก็ต่อสู้แบบสันติอหิงสาต่อไปอีก16 ปี จนอินเดียได้รับเอกราชในที่สุด ในปี 1947
ร่วมเป็นผู้สนับสนุนให้เรามีกำลังผลิตงานต่อไปได้ทาง บัญชีกสิกรไทย
0698966939
บริษัท สโป๊คดาร์ค จำกัด
ประวัติศาสตร์ของเกลือกับการปฏิวัติของโลก
โฆษณา