Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
รักเอย..
•
ติดตาม
16 เม.ย. 2020 เวลา 10:41 • บันเทิง
โรงจำนำ
ใครไม่เคยเข้าโรงจำนำยกมือ
โรงจำนำหรือเรียกกันให้เพราะเเละเป็นทางการเราเรียกว่า สถานธนานุบาล
รักเอย..ไม่ค่อยได้เข้าสักเท่าไหร่ ก็ได้ไปส่งzabaเข้า
วันนี้นzabaเอาครกตำน้ำพริกพร้อมสาก ได้มา300บาท ซึ่งก็เเน่นอนลงเอยที่มาม่าต้มโคล้งกับไข่ไก่1เเผง
เอาละไม่อยากพุดถึงเขาเยอะเปลืองน้ำลาย
ได้ข่าวว่าช่วงนี้หมกมุ่นอยู่กับ..ชุดชั้นในปล่อยเขาไป
พร้อมหรือยังใส่แมสแว่นกันแดดสีดำแล้วตามรักเอยมา..
ประวัติของโรงรับจำนำในเมืองไทย
ภาพจาก google
สีเเดงเด่นสะดุดตายิ่งกว่าป้ายโฆษณาบริษัทประกันชีวิต
สำหรับในเมืองไทยนั้น มีมานานโข..ปรากฏหลักฐานเกี่ยวกับการรับจำนำสิ่งของมาตั้งแต่สมัยพระเจ้าบรมโกศในช่วงปลายยุคกรุงศรีอยุธยา เมื่อปี พ.ศ. 2249 แล้ว แต่โดยมากจะเป็นการรับจำนำข้าวของในระหว่างคนรู้จักกันเป็นหลัก มีข้อมูลว่า ในยุคนั้นจะคิดดอกเบี้ยการให้กู้เงินประมาณ 1 สลึง (25 สตางค์) ต่อเงินต้น 1 ตำลึง (4 บาท) หรือประมาณ 6.25%เยอะหรือน้อยไม่ทราบได้
ภาพจาก google
จนกระทั่งในสมัยปลายรัชกาลที่ 4 จึงมีการตั้งโรงรับจำนำแห่งแรกของชาวจีน โดยนาย ชื่อร้านย่องเซี้ยง (ปัจจุบันคือโรงรับจำนำสำราญราษฎร์) ที่ย่านประตูผี ในปี พ.ศ. 2409 ซึ่งนอกจากจะให้บริการกับคนทั่วไปไม่จำเป็นต้องเป็นคนรู้จักแล้ว ก็ยังคิดอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำกว่าที่อื่น คือเพียง 1เฟื้องต่อเงินต้น 1 สลึง จึงทำให้มีผู้มาใช้บริการกันมาก และทำให้มีผู้สนใจเปิดโรงรับจำนำขึ้นอีกหลายแห่ง จนรัฐต้องออกพระราชบัญญัติโรงรับจำนำครั้งแรกในปี พ.ศ. 2438 เพื่อควบคุมกิจการรับจำนำให้เป็นไปอย่างถูกต้องตามกฎหมายและไม่เอาเปรียบลูกค้าเกินสมควร นำเข้าระบบอย่างเป็นทางการ
ภาพจาก google
ปัจจุบัน โรงรับจำนำในประเทศไทย แบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท คือ
โรงรับจำนำ เป็นโรงรับจำนำที่ดำเนินงานโดยเอกชน ซึ่งนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2520 รัฐบาลได้จำกัดจำนวนโรงรับจำนำเอกชน โดยมิให้มีการเปิดเพิ่มเติมอีก ยกเว้นโรงรับจำนำที่เปิดอยู่ก่อนหน้า ต่อมาในปี พ.ศ. 2532 ได้มีการออกใบอนุญาตเพิ่มเติม ทำให้ปัจจุบันมีโรงรับจำนำในเขตกรุงเทพฯ 16 แห่ง
สถานธนานุเคราะห์ เป็นโรงรับจำนำที่ดำเนินงานโดยสำนักงานธนานุเคราะห์ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จัดตั้งขึ้นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2498
สถานธนานุบาล เป็นโรงรับจำนำที่ดำเนินการโดยหน่วยงานปกครองท้องถิ่น ได้แก่ กรุงเทพมหานคร และเทศบาลต่าง ๆ ภายใต้การดูแลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีอยู่ประมาณ 240 แห่งทั่วประเทศ
ภาพจาก google
ในปัจจุบัน สถานธนานุเคราะห์และสถานธนานุบาล คิดอัตราดอกเบี้ยตามมูลค่าชองสิ่งของที่นำมาจำนำ โดยหากไม่เกินไม่เกิน 5000 บาท คิดดอกเบี้ย 0.75% ต่อเดือน เกิน 5000 บาท คิด 1% ส่วนโรงรับจำนำเอกชน จะคิดอัตราดอกเบี้ย 2% ต่อเดือน สำหรับวงเงินไม่เกิน 2000 บาท ถ้าเกินจากนั้นจะขึ้น 1.25% ของส่วนที่เกินจาก 2000 บาท..รู้ไว้ใช่ว่าใส่บ่าเเบกหาม
ข้าวของที่นิยมนำมาใช้ในการจำนำ ได้แก่ ทองรูปพรรณและทรัพย์สินมีค่าอื่น ๆ เครื่องใช้ไฟฟ้า เช่น โทรทัศน์ วิทยุ รวมไปถึงคอมพิวเตอร์ กล้องถ่ายรูป ข้าวของเครื่องใช้ เช่น กระเป๋า รองเท้า เครื่องดนตรี อุปกรณ์ช่าง หรือแม้กระทั่ง “ครก” ก็ยังมีผู้มาจำนำ การตีราคาจะขึ้นอยู่กับมูลค่าของสิ่งของทรัพย์สินที่นำมาจำนำ สภาพของทรัพย์สิน และความยากง่ายในการปล่อยสินค้า (กรณีที่ผู้จำนำไม่มาไถ่ถอนคืน) ซึ่งพบว่า โรงรับจำนำของเอกชนจะตีราคาให้สูงกว่าโรงรับจำนำของรัฐบาล จึงทำให้มีผู้มาใช้บริการมากกว่า
ภาพจาก google
zabaมันเคยบอกว่าอย่าได้อายเลย
ไม่ได้มาขอเขาเฉยๆเราเอาของมาฝาก ก็เเค่ปักหมดไว้
รักเอย..
รูป
https://www.tnews.co.th/contents/407051
เรื่อง
https://undubzapp.com/จำนำมากสุด-ข้าวของ-สินค้/
และ
https://talk.mthai.com/inbox/374408.html
1 บันทึก
11
22
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
ขีดๆเขียนๆ
1
11
22
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย