Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
สุขภาพดีไม่มีในขวด
•
ติดตาม
17 เม.ย. 2020 เวลา 09:32 • สุขภาพ
🗣 ยาแก้ไอ...มีกี่แบบ ??
อาการไอเป็นกลไกการตอบสนองของร่างกายต่อสิ่งแปลกปลอมที่เข้ามาในระบบทางเดินหายใจ การไอจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับการดำรงชีวิตของมนุษย์ แต่ในบางครั้งโรคหรือยาบางอย่างกลับมีผลทำให้เกิดอาการไอมากเกินกว่าปกติ ซึ่งอาจเพียงทำให้เกิดความรำคาญหากไอไม่รุนแรงและหายได้อย่างรวดเร็ว แต่ถ้าไออย่างรุนแรงและยาวนานอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการบาดเจ็บของระบบทางเดินหายใจ และอาจส่งผลถึงกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ ของร่างกายที่ต้องใช้ในการไอด้วย ซึ่งวิธีการรักษาอาการไอที่ดีที่สุดคือ การกำจัดที่สาเหตุของอาการไอ เช่น การเลิกสูบบุหรี่ การหลีกเลี่ยงสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการแพ้ เป็นต้น
ยาแก้ไอสามารถแบ่งได้เป็นสองกลุ่มใหญ่ด้วยกัน ได้แก่
🌟 ยาแก้ไอสำหรับอาการไอแบบมีเสมหะ
ซึ่งอาจแบ่งย่อยออกเป็นสองกลุ่ม ได้แก่
1) ยาขับเสมหะ (Expectorants) ที่ออกฤทธิ์โดยทำให้ร่างกายสร้างสารน้ำออกมาหล่อเลี้ยงทางเดินหายใจมากขึ้น
2) ยาละลายเสมหะ (Mucolytics) ที่ออกฤทธิ์ต่อเสมหะโดยตรงและทำให้เสมหะข้นเหนียวน้อยลง
ซึ่งยาทั้งสองกลุ่มจะช่วยให้ผู้ป่วยไอและขับเสมหะออกมาได้ง่ายขึ้น มักใช้ในอาการไอที่เกิดจากการติดเชื้อ เช่น หวัด คออักเสบ หลอดลมอักเสบ โดยช่วงแรกของการรับประทานยาผู้ป่วยอาจไอถี่ขึ้น แต่จะลดลงเมื่อผู้ป่วยไอและขับเสมหะออกมาได้แล้ว ตัวยาแก้ไอหลายชนิดผสมอยู่กับยาขยายหลอดลม ซึ่งอาจมีผลทำให้ใจสั่นได้หากใช้ยามากเกินไป
🌟 ยาแก้ไอสำหรับอาการไอแห้ง หรือบางครั้งเรียกยากลุ่มนี้ว่ายากดอาการไอ (Antitussives)
ซึ่งเป็นยาที่ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาท ทำให้กลไกตอบสนองของร่างกายต่ออาการไอเกิดขึ้นน้อยลงและช่วยบรรเทาอาการไอ ยากลุ่มนี้โดยมากใช้สำหรับบรรเทาอาการไอที่เกิดจากการแพ้หรืออาการไออื่นๆ ที่ไม่มีเสมหะ เพราะหากใช้ในอาการไอแบบมีเสมหะ อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เสมหะที่เหนียวข้นอยู่แล้วถูกขับออกมาจากทางเดินหายใจได้ยากขึ้น จนเกิดอาการระคายเคืองและทำให้อาการไอรุนแรงมากขึ้นกว่าเดิมได้ รวมทั้งยาบางตัวอาจทำให้เกิดการเสพติด หรือก่อให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์ที่รุนแรงได้
🗣 การใช้ยาบรรเทาอาการไอนั้น บางครั้งอาจได้รับยาสูตรที่มีตัวยาแก้ไอหลายชนิดผสมกัน หรือบางครั้งอาจได้รับยาแก้ไอเดี่ยวๆ มากกว่าหนึ่งชนิดพร้อมกัน ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว หากเป็นไปได้ควรเลือกชนิดของยาที่สอดคล้องกับลักษณะของอาการไอให้มากที่สุด เพื่อช่วยให้ใช้ยาได้ผลตรงตามประสิทธิภาพและหลีกเลี่ยงอาการไม่พึงประสงค์ที่อาจเกิดจากยาโดยไม่จำเป็น หากจะใช้ยามากกว่าหนึ่งกลุ่มร่วมกัน ควรเลือกยาที่ออกฤทธิ์คนละกลไกกัน เช่น ใช้ยาขับเสมหะร่วมกับยาละลายเสมหะ หรือ ใช้ยากดอาการไอร่วมกับยาละลายเสมหะ ไม่ควรใช้ยากลุ่มเดียวกันซ้ำซ้อนกัน เพราะไม่ทำให้ประสิทธิภาพในการรักษามากขึ้น
11 บันทึก
12
3
11
12
3
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย