18 เม.ย. 2020 เวลา 03:19 • ธุรกิจ
จาก EP ที่แล้ว.. ได้เกริ่นไปคร่าวๆว่าทำไมเราต้องลีนตัวเองในองค์กรของเรา
.
.
ซึ่งลีน ( Lean ) ในอีกความหมายก็คือ slim คือ ผอมเพรียว
EP2 ตอนที่ 1
ถ้าเปรียบเหมือนคน ก็คือ คนที่ไม่มีไขมันสะสมในร่างกาย จึงแข็งแรง โอกาสเจ็บป่วยน้อยกว่า กระฉับกระเฉงมากกว่า เมื่อเทียบกับคนอ้วน
ดังนั้น องค์กรไหนที่มีลีน ก็คือ องค์กรที่มีความรวดเร็ว ไม่มีสิ่งที่ไม่ก่อมูลค่า ( non-valued added ) นั่นคือ มีโอกาสจะเกิดต้นทุนในการทำงานที่ต่ำกว่า
เอาละ... มาต่อกันนะครัชว่า ลีนนั้นมี :
1. องค์ประกอบมีอะไรบ้าง
2. เป้าหมายของลีน
3. นำไปใช้อย่างไร
4. การวัดผล
มาดูในประเด็นแรก กันก่อน คือ
1. องค์ประกอบของลีน แบ่งออกได้ 3 ส่วน
1.1 ส่วนฐาน
1.2 ส่วนแกน
1.3 ส่วนยอด
1.1 ส่วนฐาน ประกอบด้วย
- มาตรฐานลำดับงานและเวลา ( standardized work)
- การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง ( kaizen หรือ continuous improvement )
1.2 ส่วนแกน ประกอบด้วย
- Just in time ( J.I.T ) เป็นการผลิตแบบทันเวลาพอดี พอเหมาะ
- JIDOKA หรือ Auto stop หรือ การหยุดแบบทันทีเมื่อพบความผิดปกติ
1.3 ส่วนยอด ประกอบด้วย
- High quality หรือ การได้สินค้าหรือบริการทึ่มีคุณภาพตามมาตรฐานกำหนดไว้
- Shorten lead time เป็นการทำให้กระบวนการทำงานต่างๆ ให้ใช้เวลาสั้นๆ กระชับ
- Low cost คือ การทำให้ต้นทุนการผลิต/บริการให้ต่ำที่สุด
.
.
ดังนั้นถ้าจะสรุปโดยภาพรวมนั้น
การทำลีนในองค์กร หรือ กับตัวเอง ก็เพื่อ
a) การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
b) การลดต้นทุน
ด้วยเหตุนี้องค์กรใด ไม่มีกระบวนการในการปรับปรุงการทำงานที่เป๋นรูปธรรม เช่น การทำ suggestion, QCC, Corrective problem solving รวมไปถึง innovation thinking
ก็เปรียบเหมือนกลัดกระดุมเม็ดแรกผิด... จะทำให้การไปสู่ระบบลีน จะยากขึ้น
ประเด็นต่อมา คือ เมื่อมีการปรับปรุงแล้ว สิ่งที่ดำเนินการนั้นจะต้องส่งผลทำให้ลดต้นทุนได้มากกว่ารายจ่ายที่เสียไปจากการปรับปรุงนั้นๆ ( ถ้ามี )
▪️▪️▪️▪️▪️▪️▪️▪️▪️
บทสรุป คือ
องค์ประกอบของลีน มี 3 ส่วน
รวมทั้งหมด 7 หัวข้อย่อย
โดยในแต่ละหัวข้อย่อย ทำไปเพื่อเป้าหมายอะไร ติดตามได้ในตอนต่อไปนะครับ 😀😀
( ติดตามตอนอื่นๆได้ใน ซีรีย์ : Lean Methodology )
🔊
ถ้าเนื้อหานี้มีประโยชน์ ขอกำลังใจ LIKE COMMENT SHARE เพื่อสร้างเนื้อหาดีๆ ต่อไปครับ
ขอบคุณครับ
#lean
โฆษณา