Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
พื้นฐานการลงทุนหมูน้อยออมเงิน
•
ติดตาม
21 เม.ย. 2020 เวลา 04:59 • ธุรกิจ
เงิน 2 ล้านล้าน ของกองทุนประกันสังคมหายไปไหน?
โดย พื้นฐานการลงทุนหมูน้อยออมเงิน
ช่วงนี้เราอาจจะเกิดคำถามว่า เจ้าเงินกองนี้ของประกันสังคมหายไปไหนกัน?
ระบบประกันสังคม...นับว่าเป็นหนึ่งในบริการทางสังคมที่ทางรัฐบาลหลายประเทศมีให้กับประชาชน ซึ่งสามารถช่วยเหลือเหล่าผู้ประกันตนได้เป็นอย่างดี "ในสภาวะการณ์ปรกติ"
โครงสร้างอย่างง่ายของระบบประกันสังคม
มีผู้เกี่ยวข้องหลักๆ ด้วยกัน 3 กลุ่ม คือ
1. ผู้ประกันตน
หักเงิน 5 % ของเงินเดือน ที่ฐานสูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท (สูงสุดที่ 750 บาท)
2. นายจ้าง
จ่ายสมทบเงิน 5 % ของเงินเดือนผู้ประกันตน
ที่ฐานสูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท (สูงสุดที่ 750 บาท)
3. รัฐบาล จ่าย 2.75%
จ่ายสมทบเงิน 5 % ของเงินเดือนผู้ประกันตน
ที่ฐานสูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท (สูงสุดที่ 412.5 บาท)
ทั้งหมดเข้ากองทุนประกันสังคม
โดย ผู้ประกันตนจะได้รับสิทธิประโยชน์ในกรณีต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
ที่มา สำนักงานประกันสังคม
ปัจจุบันเนื่องด้วยปัญหา COVID-19 ทำให้มีการปรับอัตราการจ่ายเงินสมทบเข้าระบบประกันสังคม เพื่อที่จะช่วยเหลือผู้ประกันตนเป็นสัดส่วนใหม่ ดังนี้ ครับ
ที่มา สำนักงานประกันสังคม
หลังจากที่เราได้ทำความเข้าใจโครงสร้างระบบประกันสังคมในเบื้องต้นไปแล้ว
คำถามที่น่าสนใจคือ...
เราทราบไหมครับว่า หลังจากที่เราได้จ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมไปแล้ว
ประกันสังคมนำเงินเหล่านั้นไปทำอะไรต่อ?
คำตอบคือ...เอาไปลงทุน ครับ
การลงทุนของกองทุนประกันสังคมเป็นไปตามระเบียบคณะกรรมการประกันสังคมว่าด้วยการจัดหาผลประโยชน์ของกองทุนประกันสังคม พ.ศ. 2559 โดย สามารถแบ่งกรอบการลงทุนออกมากว้างๆได้ 2 ส่วนคือ
1. ลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีความมั่นคงสูง ไม่เกิน 60%
2. ลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีความเสี่ยง ไม่เกิน 40%
จากรายงานล่าสุดของทางประกันสังคมเมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2563 กองทุนประกันสังคม
ถูกนำไปลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีความมั่นคงสูง(ความเสี่ยงต่ำ) ถึง 82% (pie chart สีฟ้า ด้านล่างครับ) และลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีความเสี่ยงอีก 18% (pie chart สีเหลือง)
ที่มา รายงานสถานะการบริหารเงินลงทุนกองทุนประกันสังคม
*เอาจริงๆคือ เป็นการลงทุนที่เป็นไปในลักษณะ Defensive มากนะครับ
สถานะการลงทุนของกองทุนประกันสังคม
ในตอนนี้เน้นไปที่การลงทุนในพันธบัตรหรือตราสารหนี้ (Bond) ส่วนใหญ่ก็นำไปลงในระดับ investment grade ครับ
http://www.thaibma.or.th/EN/Investors/Individual/Blog/CreditRating.aspx
โดยโฟกัสไปที่ พันธบัตรรัฐบาล Government Bond (ซึ่งตามปรกติเราเเทบจะมองได้ว่าเป็นพันธบัตรที่ไม่มีความเสี่ยงเนื่องจากทางรัฐบาลสามารถออกนโยบายต่างๆมาระดมเงินได้)
ประเด็นคือ...ตามปรกติแล้ว
ผู้ที่ออกตราสารหนี้ เค้าก็จะชำระเงินให้ผู้ที่เป็นเจ้าหนี้/ผู้ซื้อพันธบัตร (ในที่นี้คือ กองทุนประกันสังคม)
"เป็นงวดๆ" ปีนึงจ่าย กี่ % กี่ครั้ง ก็ว่ากันไป
นั่นทำให้กองทุนประกันสังคม "มีเงินสดในปริมาณหนึ่ง"
(ตอนนี้ผมกำลังพูดถึงเรื่อง cash flow นะครับ)
...เพียงพอที่จะนำมาเป็นสวัสดิการให้กับผู้ประกันตนในยามที่มีความจำเป็นต้องใช้เงินจำนวนนี้
โดยตัวระบบนี้ ถูกออกแบบมาให้
"ทำงานได้ดีในภาวะปรกติ" ที่คนที่จำเป็นต้องใช้เงินกองนี้ "อยู่ในปริมาณที่เหมาะสม"
แต่... เนื่องจากในปัจจุบัน สภาวะการแพร่ระบาดของ COVID-19 ทำให้เกิด
“การว่างงานพร้อมกันเป็นจำนวนมาก"
นั่นทำให้ประกันสังคม ไม่สามารถจ่ายเงินให้ทุกคนได้พร้อมๆกันครับ
นี่คือสิ่งที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน
หวังว่าจะพอตอบคำถามทุกท่านได้ว่า...
เงิน 2 ล้านล้าน ที่อยู่ในประกันสังคมหายไปไหน?
ที่มา รายงานสถานะการบริหารเงินลงทุนกองทุนประกันสังคม
[ทิ้งท้าย]
หลายๆท่านคงสงสัยว่า...ทำไมทางธนาคารกลางหลายๆประเทศถึงมีความจำเป็นต้องเข้าไปพยุงตลาดตราสารหนี้
สภาวะการณ์นี้...เกิดขึ้นในระบบประกันสังคมทั่วโลก ครับ
ในทรรศนะของหมูน้อย นั่นทำให้อาจจะเกิดปฏิกริยาลูกโซ่บางอย่างขึ้นหลังจากนี้ ถ้า...สถานการณ์ด้านเศรษฐกิจยังไม่ดีขึ้นในเร็ววัน
หวังว่าจะเป็นประโยชน์กับผู้อ่านทุกท่านครับ
ฝากกด ติดตาม กด like กด share เพื่อเป็นกำลังใจให้หมูน้อยด้วยนะครับ
ขอบพระคุณมากครับ
หมูน้อย ร้อยเปเปอร์
reference
https://www.sso.go.th/wpr/main/privilege/sso-infographic_sub_category_cover-view_1_127_709?page=
https://www.sso.go.th/wpr/main/knowledge/การลงทุนกองทุนประกันสังคมกรอบการลงทุน_category_list-label_1_133_0
https://mgronline.com/qol/detail/9630000024690
https://www.sso.go.th/wpr/main
16 บันทึก
73
41
23
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
2020 Manual
16
73
41
23
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย