21 เม.ย. 2020 เวลา 14:16
พิธีโบราณการตั้งหลักเมืองของกรุงรัตนโกสินทร์ ใช้คนฝังทั้งเป็นลงไปในหลุม จริงหรอ?
21 เม.ย. 2563 วันคล้ายวันสถาปนากรุงเทพมหานครแห่งแผ่นดินรัตนโกสินทร์
‘เจาะเวลาหาอดีต’ จะพาไปค้นหาความจริง
เชื่อมเรื่องราวจากเพจ Spirit Of Siam
การประสานข้อมูลที่น่าสนใจ⏬⏬
เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกปราบดาภิเษกเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติแล้ว ได้ทรงพระราชดำริว่าเมืองธนบุรีฝั่งฟากตะวันออกเป็นที่ชัยภูมิดีกว่าที่ฟากตะวันตก
พระองค์ทรงสั่งให้ย้ายพระนครจากกรุงธนบุรีฝั่งตะวันตก ข้ามฟากมาอยู่ทางฝั่งตะวันออกในทันทีที่ได้ราชสมบัติ
การสร้งพระนครใหม่ไม่ได้ทำคราวเดียวสำเร็จ เพราะในระหว่างนั้นบ้านเมืองยังไม่สงบเรียบร้อย ดังจะเห็นหลักฐานในพงศาวดาร
ในปีมะเส็ง พศ. 2328 พม่าก็ยกทัพมาทุกทาง
การสร้างพระนครในครั้งนั้นจึงทำเป็นสองระยะคือ ระยะเบื้องต้นคงรักษากรุงธนบุรีเดิมเป็นที่มั่น เป็นแต่ย้ายพระราชวังกับสถานที่ต่างๆ มาตั้งในกรุงธนบุรีทางฟากตะวันออก
ระยะต่อมาคือ การสร้างเมืองใหม่หรือพระบรมมหาราชวังในครั้งนั้น เป็นการกระทำอย่างเร่งด่วนจริงๆ เพราะหลังจากเปลี่ยนแผ่นดินในวันที่ 6เมษายน พ.ศ. 2325 แล้ว ก็ได้ดำรัสสั่งให้พระยาธรรมาธิกรณ์กับพระยาวิจิตรนาวีเป็นแม่กองคุมช่างและไพร่ไปวัดกะที่สร้างพระนครใหม่ฝั่งตะวันออก
1
ภาพจาก: http://navyfamilylovetheking.blogspot.com/2014/11/blog-post_22.html?m=1
โดยอาณาบริเวณที่จะไปสร้างพระนครใหม่ มีพระยาราชาเศรษฐีและพวกจีนอาศัยตั้งบ้านเรือนอยู่แต่ก่อน การขนย้ายต้องทำกันอย่างกะทันหันแต่เข้าใจว่าจะไม่ยาก เพราะบ้านเรือนในครั้งนั้นคงเป็นแบบโรงเรือนชนิดมุงจาก เพียงไม่กี่วันก็คงจะอพยพย้ายกันไปอยู่ย่านสำเพ็ง และในบริเวณใกล้เคียงได้หมด
เพราะในวันที่ 21 เมษายนนั้นเอง ก็ได้ทำพิธียกหลักเมือง และในระหว่างนั้นก็คงจะเกลี่ยพื้นที่เตรียมสร้างที่ประทับ
การสร้างหลักเมืองตามประเพณีโบราณนั้น ในเมืองสำคัญจะต้องมีพระราชพิธียกหลักเมือง การสร้างกรุงรัตนโกสินทร์ก็เช่นเดียวกัน ได้มีการประกอบพระราชพิธียกเสาหลักเมืองก่อน เมื่อวันที่ 21 มษายน พศ. 2325 แล้วจึงเริ่มการสร้างพระราชวัง
1
กล่าวกันว่าหลักเมืองเดิมเป็นเพียงศาลาปลูกกันแดดกันฝนแบบธรรมดาเพราะเป็นการรีบด่วน บ้านเมืองยังไม่สงบเรียบร้อย
ในปี พ.ศ.2395 พระบาทสมเด็จพระจอมกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชดำริว่าหลักเมืองชำรุด จึงโปรดเกล้า ให้สร้างพร้อมกับได้บรรจุดวง
ชะตาเมืองใหม่และมีการฉลองสมโภชเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2395
6
และในสมัยรัชกาลที่ 9 ได้ปฏิสังขรณ์ซ่อมแชม มีลักษณะรูปศาลให้เป็นแบบจัตรมุข ขยายบริเวณให้กว้างออกไป เมื่อการปฏิสังขรณ์สำเร็จบริบูรณ์แล้วพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชได้เสด็จพระราช
ดำเนินมาประกอบพิธี วันจันทร์ที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2513
รายละเอียดการสร้างพระหลักเมืองในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬโลกเป็นอย่างไรไม่มีอธิบายไว้ในพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์
แต่ความเชื่อเรื่องฝังคนทั้งเป็นนี้ เข้าใจว่าจะเป็นการบอกเล่าสืบต่อกันมาซะมากกว่า
1
หากจะวิเคราะห์ว่าความเชื่อฝังคนลงหลักเมืองนี้มาจากไหนต้องย้อนไปดูที่วรรณคดีไทยเรื่องหนึ่งเรื่องนั้นคือ "ราชาธิราช"
เนื้อเรื่องของวรรณคดีนั้น มีช่วงหนึ่งเมื่อพระเจ้าฟ้ารั่วสร้างปราสาทมาเป็นพิธีฝังหลักเมือง ดังมีข้อความตอนหนึ่งว่า
"ครั้นวันฤกษ์พร้อมกันคอยหาฤกษ์ และนิมิตกึ่งฤกษ์เวลากลางวัน พอหญิงมีครรภ์คนหนึ่งเดินมาริมหลุม คนทั้งปวงพร้อมกันว่าได้ฤกษ์ แล้วก็ผลักหญิงนั้นลงในหลุม จึงยกเสาปราสาทนั้นลงหลุม"
รวมทั้งมีผู้นำเรื่องราวในวรรณคดีเรื่องราชาธิราชมาผสมและดันเขียนบันทึกทางหลักฐานทางประวัติศาสตร์ให้คนรุ่นหลังเชื่อหนักเข้าไปอีกคือการฝังหลักเมืองของเมืองถลาง
ในหนังสือ ประวัติจังหวัดภูเก็ตฉบับฉลอง 25 พุทธศตวรรษ เมื่อ พ.ศ. 2500 ได้กล่าวถึงการฝังหลักเมืองไว้ตอนหนึ่งว่า
"...เมื่อท้าวเทพกษัตรีและท้าวศรีสุนทรได้ถึงอสัญกรรมแล้ว พระยาถลาง (ทองพูน) ได้เป็นเจ้าเมืองถลาง ได้จัดหาสถานที่เพื่อสร้างเมืองใหม่ขึ้น และได้ตกลงให้สร้างเมืองใหม่ขึ้นที่ตำบลเทพกษัตรี อำเภอถลางในปัจจุบันนี้
โดยเรียกว่า 'บ้านเมืองใหม่' เมื่อจัดหาที่ได้แล้ว จึงได้ประกอบพิธีกรรมขึ้นเพื่อฝังหลักเมือง โดยนิมนต์พระภิกษุสงฆ์รวม 32 รูป เจริญพระพุทธมนต์อยู่ 7 วัน 7 คืน
แล้วจึงให้อำเภอทนายป่าวร้องหาตัวผู้ที่จะเป็นแม่หลักเมือง (ผู้ที่จะเป็นแม่หลักเมืองได้ต้องเป็นคนที่เรียกกันว่า สี่หูสี่ตา คือกำลังมีครรภ์นั่นเอง) การป่าวร้องหาตัวแม่หลักเมืองนี้ ได้ประกาศป่าวร้องเรื่อย ๆ ไปตลอดทุกหมู่บ้านว่า โอ้เจ้ามั่น โอ้เจ้าคง อยู่ที่ไหนมาไปประจำที่ ในที่สุดจึงไปได้ผู้หญิงชื่อนางนาค ท้องแก่ประมาณ 8 เดือนแล้ว
3
นางนาคได้ขานตอบขึ้น 3 ครั้ง แล้วได้เดินตามผู้ประกาศไป ขณะนั้นเป็นเวลาพลบค่ำแล้ว เมื่อไปถึงหลุมที่จะฝังหลักเมือง นางนาคก็กระโดดลงไปในหลุมนั้นทันที ฝาหลุมก็เลื่อนปิด เจ้าพนักงานก็กลบหลุมฝังหลัก เป็นอันเสร็จพิธีการฝังหลักเมือง...”
นี่คือที่มาของ อิน จัน มั่นและคง เรื่องราวที่ผู้คนนำไปเล่าต่อๆกัน จนเป็นที่เข้าใจผิดแต่ที่แปลกไปกว่านั้นก็คือ หนังสือประวัติจังหวัดภูเก็ตเล่มดังกล่าว ได้ตีพิมพ์เรื่องตอนนี้ไปได้อย่างไร ผู้คนก็จำเรื่องผิดๆไป ปากต่อปาก จนกลายเป็นตำนาน
ประเด็นความเชื่อเรื่องฝังคนทั้งเป็นในพิธีตั้งหลักเมืองนี้ รุนแรงขนาดถึงขั้นมีการสร้างเป็นละคร อันที่จริงแล้วการฝังคนลงไปนั้นไม่ได้มีกล่าวไว้ในหลักฐานพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์
1
รวมทั้งข้อมูลตามตำราพระราชพิธีฝังหลุมพระนคร หรือที่เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "ตำราพระราชพิธีนครฐาน" ฉบับโบราณก็มีอยู่หลายฉบับ ได้พรรณนาพิธีการตั้งแต่ต้นจนสุดท้ายอย่างละเอียดพิสดาร แต่ก็ไม่มีการนำคนฝังลงไปแต่อย่างใด
❤️กดไลค์ กดแชร์ ติดตามเป็นกำลังใจ❤️
🙏ขอบพระคุณครับ🙏
โฆษณา