23 เม.ย. 2020 เวลา 13:22 • ประวัติศาสตร์
ชีวิตที่อาภัพของพระนางผู้โดดเดี่ยวแม้ในวาระสุดท้ายของพระชนมชีพ
3
เหตุการณ์ลอบปลงพระชนม์พระมเหสีในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6
“ตัวคนเดียวโดดเดี่ยวอยู่เปลี่ยวเปล่า
ไม่มีบ่าวโจษจันฉันกริ้วแหว
ขืนมีบ่าวเข้ามามันตอแย
ยั่วยุแหย่ยุ่งขโมยโอยรำคาญ
บ้างเข้าทำท่าเป็นบ้างั่ง
เรียกจะสั่งทำให้ไม่ขอขาน
สั่งอย่างโง้นทำอย่างงี้เลี่ยงลี้งาน
ใช่ฉันพาลเป็นดังนี้ทุกวี่วัน”
พระนางเธอลักษมีลาวัณ พระมเหสีในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 เมื่อครั้งที่พระองค์ทรงมีพระชนม์ที่แสนเศร้า
ในบั้นปลายแห่งพระชนมชีพ พระนางเธอฯ ทรงดำรงพระชนม์อย่างโดดเดี่ยวตามลำพัง โดยไร้ผู้รับใช้ใกล้ชิด ดังพระนิพนธ์คำกลอนที่นำมาข้างต้น
3
พระนางลักษมีลาวัณ มีพระนามเดิม คือ หม่อมเจ้าวรรณพิมล วรวรรณ เป็นพระธิดาในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรวรรณากร กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ กับหม่อมหลวงตาด วรวรรณ
เมื่อครั้งรักแรกพบนั้น พระบิดาในหม่อมเจ้าหญิงหม่อมเจ้าหญิงวรรณพิมลเจ้าของละครคณะ “ปรีดาลัย” ซึ่งมีชื่อเสียงด้านละครร้องมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5
ส่วนหม่อมเจ้าหญิงเองก็เป็นตัวละครของพระบิดา จนพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวตรัสชักชวนให้ไปแสดงละครในวังร่วมกับพระองค์ นับว่าเป็นสตรีท่านแรกที่ได้รับบทนางเอกในละครพูด ละครสังคีตบทพระราชนิพนธ์ เช่น เรื่องกุศโลบาย วิวาหพระสมุทร ซึ่งต้องพระอุปนิสัยในรัชกาลที่ 6 อย่างยิ่ง จนพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเกิดความสนพระทัยในหม่อมเจ้าหญิงวรรณพิมล
ต่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสถาปนาหม่อมเจ้าวรรณพิมล วรวรรณลาวัณ พระนามเดิม ขึ้นเป็น "พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าลักษมีลาวัณ" ทันที พร้อมกับทรงหมั้นและมีพระราชวินิจฉัยว่า จะทรงทำการราชาภิเษกสมรสด้วย
หลังจากที่พระนางเธอลักษมีลาวัณได้รับสถาปนาเป็นพระมเหสีแล้ว เพียงไม่นานก็ถูกพระราชสามีตัดสินพระราชหฤทัยแยกกันอยู่ ด้วยเหตุที่พระนางเธอลักษมีลาวัณ มิได้ทรงพระครรภ์เพื่อให้กำเนิดรัชทายาทถวายพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้สมดังพระราชประสงค์
ซึ่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงครองพระองค์เป็นโสดมานาน และทรงมีพระราชดําริที่จะอภิเษกสมรสเพื่อให้มีรัชทายาทสืบราชบัลลังก์โดยเร็ว
เพื่อเป็นการปลอบพระทัยและดำรงไว้ซึ่งสัญญาที่จะทรงเลี้ยงให้เที่ยงตรง
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานตําหนัก เงินบํานาญ เพื่อให้พระนางเธอฯ ดํารงพระชนมชีพอย่างสะดวกสบายโดยมิต้องเดือดร้อน
และทรงรับพระราชทานมรดกในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวตามส่วนที่จับสลากได้ เป็นเครื่องเพชรมูลค่าหลายสิบล้านบาท
พระนางเธอลักษมีลาวัณทรงใช้ชีวิตเพียงลําพังต่อมา โดยใช้เวลาว่างให้หมดไปกับการทรงพระอักษรและนิพนธ์นวนิยายไว้หลายเรื่อง
โดยเฉพาะกิจการของคณะละครชื่อ “ปรีดาลัย” สืบสนองพระเจตนารมณ์ของพระบิดา ทรงปฏิวัติการแสดงละครสมัยนั้น ผู้แสดงเป็นชายจริงหญิงแท้ มีเพลงร้องประกอบทำนองไทยและสากล ใช้เครื่องดนตรีฝรั่ง จำนวนผู้แสดงมากถึง 40 คน เบิกโรงด้วยระบำฟากฟ้าต่อด้วยเรื่อง “พระอาลิสะนัม” แสดงครั้งแรก ณ ศาลาเฉลิมกรุง และอีกหลายเรื่องในเวลาต่อมา
ในปี พ.ศ.2486 ทรงจัดการแสดงละครร่วมกับบริษัทสหศินิมา จำกัด
ครั้งสุดท้ายจัดแสดง ณ ศาลาเฉลิมนคร จึงเป็นอันสิ้นสุดคณะละครปรีดาลัยแต่บัดนั้น
เมื่อล่วงเข้าวัยชรา พระนางเธอลักษมีลาวัณ ทรงใช้ชีวิตอย่างโดดเดี่ยวอยู่ ณ ตำหนักลักษมีวิลาส สี่แยกพญาไท โดยมีข้ารับใช้ผลัดเปลี่ยนมารับใช้อยู่บ่อย เนื่องจากพระนางเธอมักจะไม่ต้องพระทัยกับข้ารับใช้ ใครมาอยู่พักเดียวเมื่อทำไม่ดีก็ถูกพระนางไล่ออกไป เป็นเช่นนี้จนไม่มีใครกล้าเข้าหา
พระนางเธอจึงทรงเป็นเพียงเจ้านายสตรีทั้งยังชราและอาศัยเพียงลำพังในพระตำหนัก และเรื่องร้ายก็ได้เกิดขึ้นเมื่อ นายวิรัช หรือเจริญ กาญจนาภัย อดีตคนสวนผู้รู้ความเคลื่อนไหวอย่างดีในพระตำหนัก ที่ถูกไล่ออกไป วางแผนกลับมาลอบปลงพระชนม์และลักทรัพย์สิน
1
เมื่อวันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2504 เวลา 15.30 น. พลตรีพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรรณไวทยากร กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ พระเชษฐาต่างพระมารดา ได้รับโทรศัพท์จาก นางสาวแน่งน้อย แย้มศิริ นิสิตมหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์
ว่าตนไปกดออดและโทรศัพท์เข้าไปยังตำหนักลักษมีวิลาศ แต่ไม่มีใครตอบหรือรับสาย พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ เสด็จไปยังวังลักษมีวิลาศ และทรงพบพระศพอยู่บริเวณข้างโรงรถ ซึ่งเวลาก็ล่วงเลยไปแล้วถึง 3 วันหลังจากสิ้นพระชนม์ สิริพระชนมายุรวม 62 ชันษา
การกลับมาของอดีตคนสวนเพื่อลงมือปลงพระชนม์ครั้งนั้น ได้ร่วมมือกับเพื่อนอีกคนที่ชื่อนายแสง หรือ เสงี่ยม หอมจันทร์ แต่ในต่อมาทั้งคู่ก็ได้ถูกจับในที่สุด
เมื่อนายวิรัชนำเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไปจำนำกับโรงรับจำนำแห่งหนึ่ง เจ้าของเห็นผิดสังเกตจึงแจ้งเจ้าหน้าที่ตำรวจ และเขาก็รับสารภาพถึงการฆาตกรรม ซึ่งให้การว่าตนทราบแต่เพียงว่าพระนางทรงเป็นเจ้านาย ไม่คิดว่าจะทรงเป็นเจ้านายใหญ่ถึงเพียงนั้น
ผู้ต้องหาทั้งสองถูกจับได้ และถูกพิพากษาให้ประหารชีวิต แต่ทั้งสองได้รับสารภาพ จึงได้รับการหย่อนโทษหนึ่งใน 3 คือให้จำคุกตลอดชีวิต
1
ต่อมาในหลวงรัชกาลที่ 9 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ไว้ทุกข์ในพระราชสำนักมีกำหนด 15 วัน และประดิษฐานพระศพ ณ ศาลามรุพงศ์ ในวัดมกุฎกษัตริยาราม พระศพพระนางเธอลักษมีลาวัณประดิษฐานในพระโกศกุดั่นน้อย ประดิษฐานที่ศาลามรุพงศ์ ภายใต้ฉัตรโหมดทอง 5 ชั้น
รายล้อมด้วยอภิรุม ชุมสาย ฉัตร บังแทรก บังสูรย์ พัดโบก โดยมีพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรรณไวทยากร กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ เป็นองค์ประธานในการพระราชทานน้ำสรงพระศพ
นับเป็นเหตุการณ์สะเทือนใจคนทั้งประเทศในครั้งนั้นมาก
2
อนุสรณ์แห่งความรัก ความอาภัพ และความทรงจำของพระองค์ เริ่มเลือนหายไปตามเวลา ภายหลังการสิ้นพระชนม์ของพระนางเธอลักษมีลาวัณ ตำหนักลักษมีวิลาสได้ถูกทิ้งร้างว่างเปล่าอยู่นานหลายปี
และต่อมามีการขอซื้อที่ดินผืนนี้จากคริสตจักรแบ๊บติส จนปัจจุบันพิ้นที่แห่งนี้กลายเป็น คริสต์จักรนิมิตใหม่ ศูนย์รวมนักศึกษาแบ๊บติสต์ บริเวณสี่แยกพญาไท
❤️กดไลค์กดแชร์ติดตามเพื่อเป็นกำลังใจ❤️
1
🙏ขอบพระคุณครับ🙏
1
โฆษณา