25 เม.ย. 2020 เวลา 12:55 • ประวัติศาสตร์
การตัดสินพระราชหฤทัย ของรัชกาลที่ 6 ท่ามกลางเสียงโต้แย้งของเหล่าขุนนางชั้นสูง
เปลี่ยนโรงเรียนมหาดเล็กสู่มหาวิทยาลัยแห่งแรกของประเทศไทย
"จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย"
การจัดตั้งการศึกษาระดับอุดมศึกษาเกิดขึ้นจากพระราชดำริในรัชกาลที่ 5 ซึ่งพระองค์ท่านได้เล็งเห็นว่าการพัฒนาประเทศเพื่อให้ทันต่อชาติตะวันตก หนึ่งในเรื่องที่สำคัญยิ่งคือ การศึกษา
ในสมัยนั้นประเทศสยามใช้งบประมาณแผ่นดินไปกับการพัฒนาประเทศและปฏิรูประบบบริหารราชการแผ่นดิน เพื่อการฝึกหัดคนเข้ารับราชการฝ่ายพลเรือน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงตั้งโรงเรียนมหาดเล็กขึ้นใน พ.ศ. 2445
ครั้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงพระอนุสรณ์คำนึงถึงพระบรมราโชบายในสมเด็จพระบรมชนกาธิราช ให้มีมหาวิทยาลัยขึ้นสำหรับเป็นสถาบันอุดมศึกษาของชาวสยาม
3
จึงได้จัดตั้งทำการเปลี่ยนโรงเรียนมหาดเล็กเป็นโรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อ 1 มกราคม พ.ศ. 2453
3
ทำการขยายโรงเรียนให้กว้างขวางและเพิ่มเติมแผนกวิชาเรียนต่างๆ ให้มากขึ้น แต่ก็ยังไม่ได้เป็นสถาบันอุมศึกษาอยางสมบูรณ์ ยังจำกัดเฉพาะในบุคคลากรเพื่อนำมารับราชการ
ต่อมาได้มีขุนนางท่านหนึ่งที่เสนอแนวคิดให้สร้างมหาวิทยาลัย คือ เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา)
เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี
ได้เสนอแนวคิดของตนเมื่อ พ.ศ. 2457 ได้มีความเห็นว่า มหานครใดมีมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียง ย่อมเป็นเครื่องเชิดชูเกียรติคุณของมหานครนั้น สยามเห็นควรจะเริ่มมีมหาวิทยาลัยสำหรับเป็นอาภรณ์อย่างมหานครอื่นๆ
1
แต่การจัดตั้งสถาบันอุดมศึกษาแห่งแรกไม่ได้ราบรื่นนัก มีการต่อต้านและผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี โดยอ้างเหตุผลถึง งบประมาณแผ่นดินที่ต้องใช้อย่างรอบคอบในสถานการณ์ภาวะสงครามโลกและการสร้างเมืองที่ยังไม่แล้วเสร็จอีกหลายแห่ง
1
รวมทั้งเกรงว่าการจัดตั้งบุคคลทั่วไปให้มีโอกาสศึกษาระดับอุดมศึกษานั้นจะเป็นภัยต่อราชวงศ์ในภายภาคหน้า!!
5
การเจรจามีน้ำหนักไปในทางต่อต้านจำนวนมาก
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสอบถามเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี ถึงเรื่องตั้งมหาวิทยาลัยในประเทศสยามว่าสยามตอนนี้มีความพร้อมมากแค่ไหน
เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรีได้อธิบายความว่า
1
“..ถ้าถือเอาอ๊อกฟอร์ดหรือเคมบริดซ์เป็นมาตรฐาน เรายังไม่พร้อมที่จะสถาปนามหาวิทยาลัย จะต้องลงทุนรอนมากมายนัก ทั้งเงินทั้งคนของเรายังไม่พร้อม แต่ถ้าจะลดหย่อนลงมาเพียงมหาวิทยาลัยรุ่นใหม่ ๆ ซึ่งกำลังเกิดขึ้นสะพรั่งราวกับดอกเห็ดทั้งในตะวันตกและตะวันออก เราก็พอทำได้...”
3
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงมีพระราชดำรัสตอบกลับว่า
1
“….เดินเถิดอย่าคอยเวลาเลย อย่างไรเสียเราก็ต้องการมหาวิทยาลัย ตั้งเสียเดี๋ยวนี้ทีเดียว จะได้เป็นตลาดวิชาของเมืองไทย ไม่เป็นแต่เพียงที่เพาะข้าราชการไว้ใช้….”
1
จึงมีการยกโรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวขึ้นเป็นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ.2459
และต่อมาใน พ.ศ.2476 รัฐบาลได้จัดตั้งมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง เพื่อเป็นตลาดวิชากฏหมาย (ต่อมาได้เปิดสอนสาขาอื่นด้วย จึงมีการสอบคัดเลือกและเปลี่ยนชื่อเป็นมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์)
1
แม้ในครั้งนั้นจะมีขุนนางระดับสูงหลายท่าน ไม่เห็นด้วยกับแนวคิดการจัดตั้งสถาบันอุดมศึกษาแห่งแรกขึ้นในประเทศเพื่อประชาชนทั่วไป
1
แต่ด้วยพระปรีชาสามารถที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เล็งเห็นความสำคัญของการศึกษาและตัดสินพระราชหฤทัยเห็นควรจัดตั้งมหาวิทยาลัยแห่งแรกขึ้น
1
ปัจจุบันนี้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้รับการจัดอันดับให้เป็นมหาวิทยาลัยอันดับ 1 ของประเทศไทยจากหลายสถาบันจัดอันดับ ครอบคลุมทั้งด้านคุณภาพของมหาวิทยาลัย คุณภาพบัณฑิต คุณภาพด้านการวิจัยและชื่อเสียงของมหาวิทยาลัยในระดับโลก
จากการตัดสินพระราชหฤทัยในครั้งนั้นได้สร้างโอกาสแก่เยาวชน รวมทั้งผลิตบุคคลากรให้มีความก้าวทันต่อโลก มีความรู้ไม่แพ้มหานครใดๆ บนเวทีอารยประเทศ
❤️กดไลค์ กดแชร์ ติดตามเป็นกำลังใจ❤️
🙏ขอบพระคุณครับ🙏
โฆษณา