Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
กฎหมายย่อยง่าย by Natarat
•
ติดตาม
22 เม.ย. 2020 เวลา 23:24 • การศึกษา
หนังสือรับสภาพความผิดที่ลูกหนี้ทำขึ้น
ถือว่าเป็นการทำสัญญาประนีประนอมยอมความหรือไม่?
เมื่อเป็นหนี้ก็ต้องใช้ แต่ถ้าใช้ไม่ไหวทางออกที่ดีที่สุดก็คือต้องเจรจาพูดคุยกัน
ซึ่งวิธีที่เจ้าหนี้และลูกหนี้ส่วนใหญ่มักจะทำกันก็คือ การทำสัญญาประนีประนอมยอมความ หรือการแปลงหนี้
Cr. pixabay
สัญญาประนีประนอมยอมความ คือ สัญญาที่เจ้าหนี้และลูกหนี้ตกลงระงับข้อพิพาทที่มีอยู่หรือที่จะมีขึ้นให้เสร็จไปโดยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กัน
เช่น A เป็นหนี้ B อยู่ 1ล้านบาท ถึงกำหนดคืนเงินแล้วแต่ A ยังไม่สามารถหาเงินมาใช้หนี้ได้ ทั้งคู่จึงเจรจาตกลงกัน
B ยอมให้ผ่อนชำระเดือนละ 2 แสนบาทเป็นเวลา 5 เดือน และ A ตกลงตามนั้น จึงทำสัญญาฉบับหนึ่งขึ้นมาเพื่อเป็นหลักฐาน
สัญญาฉบับดังกล่าว คือ สัญญาประนีประนอมยอมความ
ส่วนการแปลงหนี้คือ การเปลี่ยนแปลงสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งหนี้ เช่น ทรัพย์ที่ใช้ชำระหนี้ ซึ่งจะมีผลทำให้หนี้เดิมระงับไป และมาผูกพันตามหนี้ใหม่แทน
จากตัวอย่างเดิมที่ A เป็นหนี้ B อยู่ 1 ล้านบาท แต่ A ไม่มีเงินใช้หนี้ จึงเสนอรูปภาพที่วาดโดยศิลปินดังมาใช้หนี้แทนซึ่ง B ก็ยินยอม
กรณีนี้ถือว่าหนี้เงินได้ระงับไปแล้ว แต่ A
และ B จะต้องผูกพันตามมูลหนี้ใหม่ คือการนำรูปภาพมามอบให้แก่ B เพื่อชําระหนี้แทนการใช้เงินนั่นเอง
ปัญหาที่มักจะเกิดขึ้นบ่อย ๆ ก็คือ กรณีที่
ความเป็นหนี้เกิดขึ้นเนื่องมาจากการกระทำความผิดของตัวลูกหนี้เอง
และลูกหนี้ตกลงชดใช้หนี้ให้ด้วยการทำหนังสือรับยอมรับสภาพความผิดแต่เพียงฝ่ายเดียว โดยที่เจ้าหนี้ไม่ได้ตกลงยินยอมด้วย
กรณีแบบนี้จะถือว่าเป็นการทำสัญญาประนีประนอมยอมความหรือการแปลงหนี้ใหม่หรือไม่?
เรื่องมีอยู่ว่า.. ลูกจ้างได้แอบนำเงินของนายจ้างไปใช้ส่วนตัว
Cr. pixabay
ต่อมา นายจ้างจับได้ ลูกจ้างจึงได้ทำหนังสือรับสภาพความผิดขึ้นมาเพื่อเป็นหลักฐานว่าได้นำเงินของนายจ้างไปใช้ส่วนตัว และตกลงว่าจะใช้คืนให้ครบภายใน 3 เดือนพร้อมดอกเบี้ย
ต่อมาลูกจ้างไม่ใช้เงินคืนตามที่ตกลงไว้ นายจ้างจึงได้นำคดีมาฟ้องศาล
เรื่องนี้มีประเด็นในชั้นศาลว่า หนังสือรับสภาพความผิดดังกล่าวถือว่าเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความหรือการแปลงหนี้หรือไม่?
Cr. pixabay
ซึ่งศาลได้วินิจฉัยว่าหนังสือรับสภาพความผิดดังกล่าว เป็นหลักฐานที่ลูกจ้างได้ทำขึ้นเองฝ่ายเดียว โดยตกลงรับผิดชำระหนี้ที่นำเงินของนายจ้างไปใช้โดยไม่ชอบ
ไม่ใช่คู่กรณีตกลงระงับข้อพิพาทที่มีอยู่หรือที่จะมีขึ้นให้เสร็จไปด้วยการยอมผ่อนผันให้แก่กัน
จึงไม่ใช่สัญญาประนีประนอมยอมความที่จะมีผลทำให้หนี้เดิมระหว่างลูกจ้างและนายจ้างระงับไป และเกิดเป็นหนี้ใหม่ตามสัญญา
อีกทั้ง ไม่มีการเปลี่ยนสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งหนี้ จึงไม่เป็นการแปลงหนี้ใหม่ซึ่งจะทำให้หนี้ระงับไป
สรุปก็คือ หนังสือรับสภาพความผิดที่ลูกหนี้ทำให้แก่เจ้าหนี้ โดยที่เจ้าหนี้ไม่ได้ตกลงยินยอมด้วย ไม่ถือว่าเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ และไม่เป็นการแปลงหนี้ใหม่ด้วยเช่นกัน
References
- คำพิพากษาฎีกาที่ 6271/2558
- ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 349 และ 850
ยังมีช่องทางอื่น ๆ ให้ติดตามกัน 😉
- สำหรับเอาไว้อ่านบทความดีๆ
Facebook.com/Nataratlaw
- สำหรับเอาไว้ดูรูปสวย ๆ กับอินโฟกราฟิก
Instagram.com/Natarat_law
- สำหรับสายย่อ เอาไว้รับข่าวหรือข้อกฎหมายแบบกระชับ
https://twitter.com/Nataratlaw?s=09
7 บันทึก
55
18
7
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
กฎหมายแพ่งและพาณิชย์
7
55
18
7
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย