24 เม.ย. 2020 เวลา 11:15 • การศึกษา
เป็นนายหน้าก็ย่อมหวังค่านายหน้าเมื่องานสำเร็จ แต่ถ้างานเสร็จแล้วถูกยกเลิกภายหลังล่ะ ยังจะได้ค่านายหน้าอยู่หรือไม่?
เงินค่านายหน้า เป็นค่าตอบแทนที่นายหน้าจะได้รับเมื่อได้ชี้ช่องให้บุคคลที่เกี่ยวข้อง เช่น ผู้ซื้อหรือผู้ขาย ผู้เช่าหรือผู้ให้เช่าได้เข้าทำสัญญากัน โดยบุคคลที่เกี่ยวข้องจะจ่ายค่านายหน้าให้เมื่อสัญญาได้ทำกันสำเร็จ
หรือพูดง่าย ๆ ก็คือ ถ้านายหน้าไม่สามารถชี้ช่อง หรือชักชวนให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทำสัญญากันได้ ก็ยังไม่มีสิทธิได้รับเงินค่านายหน้า
Cr. pixabay
แต่ก็มีบางกรณีที่นายหน้าสามารถทำให้ผู้ที่เกี่ยวข้องเข้าทำสัญญากันได้แล้ว แต่อยู่ดี ๆ คนเหล่านั้นกลับมายกเลิกสัญญาเสียเอง ทำให้ไม่มีการทำนิติกรรมใด ๆ เกิดขึ้น
กรณีแบบนี้คนที่เป็นนายหน้ายังจะมีสิทธิได้รับค่านายหน้าอยู่หรือไม่?
เรื่องนี้เคยมีคดีขึ้นสู่ศาลมาแล้ว โดยนายหน้าสามารถชี้ช่องให้คนซื้อและคนขาย เข้ามาทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินจนสำเร็จลุล่วงไปแล้ว
Cr. pixabay
ต่อมาไม่รู้เพราะเหตุผลอะไร อยู่ดี ๆ คนซื้อและคนขายกลับมายกเลิกสัญญาจะซื้อจะขายที่ทำสำเร็จไปแล้วในภายหลัง
คนที่เป็นนายหน้าก็ย่อมไม่พอใจเป็นธรรมดา จึงไปทวงเงินค่านายหน้ากับเจ้าของที่ดินซึ่งเป็นคู่สัญญา แต่กลับถูกปฏิเสธ โดยอ้างว่าการซื้อขายไม่ได้เกิดขึ้น นายหน้าชี้ช่องไม่สำเร็จ จึงไม่มีสิทธิได้รับเงิน
นายหน้าจึงมาฟ้องศาลเพื่อขอให้เจ้าของที่ดินจ่ายค่านายหน้าให้
Cr. pixabay
เรื่องนี้ศาลจะตัดสินว่าอย่างไร ก่อนอ่านบรรทัดต่อไปขอให้ลองเดากันก่อนนะครับ...
.....คดีนี้ศาลตัดสินว่า สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินที่ผู้ซื้อและผู้ขายตกลงทำกัน ได้สำเร็จไปแล้วเพราะการชี้ช่องของนายหน้า
ถึงแม้ภายหลังจะไม่มีการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินก็เป็นเพราะผู้ซื้อและผู้ขายตัดสินใจยกเลิกสัญญากันเอง ซึ่งไม่ใช่ความผิดของผู้ที่เป็นนายหน้า
ดังนั้น เจ้าของที่ดินจึงต้องชำระเงินค่านายหน้าตามที่ได้ตกลงกันไว้ครับ
Cr. pixabay
References
- คำพิพากษาฎีกาที่ 3648/2529
- ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 845
ยังมีช่องทางอื่น ๆ ให้ติดตามกัน 😉
- สำหรับเอาไว้อ่านบทความดีๆ
- สำหรับเอาไว้ดูรูปสวย ๆ กับอินโฟกราฟิก
- สำหรับสายย่อ เอาไว้รับข่าวหรือข้อกฎหมายแบบกระชับ

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา