Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
กฎหมายย่อยง่าย by Natarat
•
ติดตาม
27 เม.ย. 2020 เวลา 11:51 • การศึกษา
ผู้เช่าอาจต้องดูข้อความในสัญญาเช่าให้ดี ๆ เพราะบางทีอาจไม่ได้เป็นอย่างที่คิด
ใครที่เคยทำสัญญาเช่า ไม่ว่าจะเป็นการเช่าที่ดิน หรือการเช่าอาคารก็ตาม ลองสังเกตกันบ้างหรือไม่ว่า ในบางครั้งสัญญาเช่าอาจมีข้อความระบุไว้ทำนองว่า...
“เมื่อครบกำหนดอายุสัญญานี้ หากผู้เช่าประสงค์จะเช่าต่อไป ผู้เช่าจะเสนอขอต่อสัญญาเช่าต่อผู้ให้เช่าภายในกำหนด 60 วัน
หากไม่ขอต่อภายในกำหนดให้ถือว่าผู้เช่าตกลงสละสิทธิการเช่าตามสัญญานี้ และผู้ให้เช่ามีอำนาจจัดการกับสถานที่เช่านี้ได้ทุกประการ”...
Cr. pixabay
ผู้เช่าบางรายไม่ทำความเข้าใจให้ดี แต่กลับคิดไปเองว่า แค่แจ้งต่อผู้ให้เช่าภายในกำหนดก็เท่ากับว่าสัญญาเช่าได้ต่อไปแล้ว
...ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ไม่ถูกต้อง
จริง ๆ แล้วข้อความประเภทนี้มีความหมายเพียงว่า เมื่อสัญญาเช่าครบกำหนดแล้ว ผู้ให้เช่าเปิดโอกาสให้ผู้เช่ายื่นข้อเสนอเพื่อต่อสัญญาเช่าเท่านั้น
ไม่ได้มีผลเป็นการต่อสัญญาเช่า หรือผูกพันผู้ให้เช่าต้องยอมรับข้อเสนอในเรื่องการต่อสัญญาแต่อย่างใด
สัญญาเช่าจะเกิดขึ้นหรือไม่นั้น เป็นสิทธิของผู้ให้เช่าที่จะพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง
Cr. pixabay
เนื่องจากข้อสัญญาดังกล่าวไม่มีลักษณะบังคับที่แน่นอนและชัดเจนว่า เมื่อผู้เช่าจะขอต่อสัญญาเช่าแล้วมีผลต้องผูกพันผู้ให้เช่าต้องรับทำสัญญาต่อให้
จึงไม่ใช่คำมั่นว่าจะให้เช่าซึ่งมีผลให้ผู้ให้เช่าต้องปฏิบัติตาม แต่มีลักษณะเป็นเพียงคำเสนอของผู้เช่าฝ่ายเดียว
เมื่อผู้ให้เช่าปฏิเสธไม่ต่อสัญญาเช่าให้ จะถือว่าผู้ให้เช่าผิดสัญญาไม่ได้
(อ้างอิงคำพิพากษาฎีกาที่ 13286/2556)
ในทางกฎหมาย สัญญาจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อมี “คำเสนอ” และ “คำสนอง” โดยที่คำเสนอและคำสนองจะต้องตรงกันสัญญาจึงจะเกิดขึ้น
จากตัวอย่างในบทความนี้.. เมื่อผู้เช่าได้บอกกล่าวไปยังผู้ให้เช่าว่าจะขอต่อสัญญาเช่า (เป็นคำเสนอ) ถ้าผู้ให้เช่าตอบตกลงตามที่ผู้เช่าเสนอมา (เป็นคำสนอง) อย่างนี้จึงจะถือว่าสัญญาเช่าได้เกิดขึ้น
Cr. pixabay
ยังมีช่องทางอื่น ๆ ให้ติดตามกัน 😉
- สำหรับเอาไว้อ่านบทความดีๆ
Facebook.com/Nataratlaw
- สำหรับเอาไว้ดูรูปสวย ๆ กับอินโฟกราฟิก
Instagram.com/Natarat_law
- สำหรับสายย่อ เอาไว้รับข่าวหรือข้อกฎหมายแบบกระชับ
https://twitter.com/Nataratlaw?s=09
11 บันทึก
41
15
11
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
กฎหมายแพ่งและพาณิชย์
11
41
15
11
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย