23 เม.ย. 2020 เวลา 12:38 • ประวัติศาสตร์
ไขข้อสงสัย ทำไมคนสมัยก่อน ถึงไม่ยิ้มเวลาถ่ายรูป...!
เคยสงสัยกันมั้ยคะว่า
ทำไมภาพถ่าย ของคนสมัยก่อนนั้น
ต้องทำหน้าเคร่งขรึม บึ้งๆ ไม่ยิ้มกันเลย ? 🤔
.
.
.
เรามาคลายความสงสัย ด้วยกันดีกว่า :)
ภาพถ่ายภาพแรกของโลก
เกิดขึ้นในช่วง 1820s
หลังจากนั้น ก็เริ่มมีการถ่ายรูปมากขึ้นเรื่อยๆ
ตามโอกาสสำคัญต่างๆ
อย่างไรก็ตาม
รอยยิ้มของผู้คนนั้น
เป็นสิ่งที่แทบจะไม่ปรากฎเลย บนภาพถ่าย
จน 100 ปี ผ่านไป
ในช่วงปี 1920s 'การยิ้ม'
ถึงเริ่มที่จะเป็น สิ่งพื้นฐานในการถ่ายรูป
Cr. blog.watercolors.com
อะไรทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเช่นนั้น ?
ได้มีนักวิชาการ
และผู้คร่ำหวอดทางประวัติศาสตร์หลายคน
ให้เหตุผลที่แตกต่างกันไป
ซึ่งสรุปกันออกมาได้ดังนี้ค่ะ
.
.
หลายคนเชื่อว่า เป็นเรื่องของทันตกรรม
คนสมัยก่อน มีฟันไม่สวย
เลยทำให้ไม่อยากยิ้ม
2
Cr. frdental.hu
ซึ่งเรื่องนี้ ก็มีนักวิชาการออกมาปฏิเสธ
โดยอ้างว่า เรื่องฟันไม่สวยของคนสมัยก่อนนั้น
เป็นเรื่องปกติของคนส่วนใหญ่
และ 'ฟัน' ก็ไม่ใช่สิ่งที่คนสมัยนั้นใส่ใจ
อย่างไรก็ตาม
ผู้อำนวยการของ the National Portrait Gallery ออสเตรเลีย
โต้แย้งว่า การที่การแพทย์ทางทันกรรมพัฒนา
และทำให้คนมีฟันที่สวยขึ้นนั้น
เป็นสิ่งที่ช่วยทำให้คนชอบยิ้มมากขึ้น เวลาถ่ายรูป
.
.
นักวิชาการหลายคน
ยังได้ยกเรื่อง 'ภาพวาด'
ขึ้นมาเป็นเหตุผล ของเรื่องนี้เช่นกัน
Cr. quora.com
โดยเชื่อว่า สไตล์การถ่ายรูปของคนสมัยก่อน
เป็นสิ่งที่ได้รับอิทธิพล มาจากภาพวาด
ซึ่งนั่นหมายถึง การไม่ยิ้ม นั่นเอง
คนสมัยนั้น
คิดว่าภาพถ่าย ไม่ต่างอะไรจากภาพวาด
มันก็คือวิธีการ 'เก็บภาพนิ่ง'
เอาไว้อย่างหนึ่งนั่นแหละ
ไม่ใช่การเก็บความทรงจำ
'ณ ช่วงเวลานั้น'
เหมือนอย่างที่คนปัจจุบันคิด
ในปี 1884 มีบทสัมภาษณ์ นายแบบคนหนึ่ง
เขาได้กล่าวว่า เขาไม่เห็นความแตกต่าง
ระหว่างการโพสเพื่อภาพวาด หรือภาพถ่าย เลยซักนิด
"มันต่างกันยังไงหรอ?" เขาถามกลับ...
.
.
อยากดู 'มีคลาส' ดูสง่างาม ในรูปมั้ย ?
ถ้าอยาก 'ห้ามยิ้ม' !
และนี่คืออีกหนึ่งเหตุผล ที่คนต้องทำหน้านิ่งเข้าไว้
Cr. .vox.com
ความเชื่อนี้ มีมาตั้งแต่ช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 17
รอยยิ้มในภาพวาด
ถือเป็นสิ่งที่ไม่เหมาะสม
คนที่ยิ้ม โดยเฉพาะยิ้มกว้างๆ ยิ้มเห็นฟัน
จะมีแต่พวกคนไม่มีฐานะ
คนบ้า คนเมา หรือพวกตัวตลก เท่านั้น
หลายคนจึงคาดว่า ความเชื่อนี้
ได้ส่งผลมาถึงภาพถ่ายด้วย
ยกตัวอย่างบุคคลสำคัญ
อย่าง Abraham Lincoln
ซึ่งเป็นคนหนึ่ง ที่มีอารมณ์ขัน
แต่เมื่อต้องถ่ายรูป ก็เป็นอย่างที่เราเห็นกันค่ะ
Abraham Lincoln / Cr. petapixel.com
และที่ชัดเจนที่สุด คือ Mark Twain
นักเขียน และนักเล่าเรื่องตลกชื่อดังชาวอเมริกัน
เขาได้กล่าวไว้ว่า
"ภาพถ่าย คือสิ่งที่สำคัญที่สุด
และมันก็ไม่มีอะไรแย่ไปกว่าการที่เราต้องส่งภาพ
ไปสู่รุ่นลูกรุ่นหลาน ด้วยรอยยิ้มที่ดูโง่เขลาเหล่านั้น..."
6
(ผู้เขียนอ่านประโยคนี้ แล้วหุบยิ้มไม่ทันเลย)
Mark Twain / Cr. altaonline.com
ในช่วงยุค 1900s
สตูดิโอถ่ายรูปชื่อดังต่างๆ
จะจัดท่าทาง ให้ลูกค้าดูขรึมนิ่งที่สุด
เพื่อภาพที่ดูดี เป็นทางการ
ในสมัยนั้น ด้วยค่าใช้จ่ายที่สูงมาก
จึงไม่ใช่ทุกคน ที่จะถ่ายรูปเมื่อไหร่ก็ถ่ายได้
ภาพถ่ายคน จึงมักจะเป็นภาพสำคัญ
ที่คนหวังจะนำไปใช้เก็บไว้ในอนาคต
หลังจากคนๆนั้นเสียชีวิตไปแล้ว
ภาพถ่ายนี่แหละ คือสิ่งเดียวที่ถือว่าเป็นที่ระลึก
และจะคงอยู่ตลอดไป ให้กับคนรุ่นหลัง
ดังนั้น มันก็ต้องดูดี เป็นทางการกันหน่อยสิ
Cr. blufftonicon.com
อีกเหตุผล ที่คนพูดถึงกันเยอะ
คือ เทคโนโลยีการถ่ายภาพในสมัยก่อน
ที่กว่าจะถ่ายได้นั้น ต้องใช้เวลา
และต้องนิ่งให้มากที่สุด เพื่อจะได้ภาพที่ชัด
การจะให้ยิ้ม
โดยไม่รู้ว่าเมื่อไหร่รูปจะจับภาพนั้น
ทำให้คนสมัยนั้น เลือกที่จะไม่ยิ้มกัน
ต่อมา ในปี 1900
Kodak ได้ออกกล้องรุ่น "Brownie"
ซึ่งเป็นกล้องราคาประหยัด ในราคา $1
จึงเป็นที่นิยมอย่างมาก ในหมู่ประชาชนทั่วไป
Brownie Camera 1900 / Cr. .wikipedia.org
หลังจากที่คนเริ่มใช้กล้อง กันอย่างแพร่หลาย
บวกกับวิวัฒนาการ snapshot
ที่ค่อยๆพัฒนาขึ้น
Kodak ก็เริ่มมีโฆษณา และสื่ออื่นๆออกมา
โดยใช้ภาพคนยิ้ม สื่อถึงการมีความสุข
ในช่วงเวลาถ่ายภาพ
และนั่นเอง ที่เป็นจุดเริ่มต้น
ของรอยยิ้มบนภาพถ่าย
ที่ค่อยๆเพิ่มขึ้นๆ มาจนถึงปัจจุบัน :)
Cr. imagesource.com
มีงานวิจัยหนึ่ง
ได้เผยถึงรูปถ่ายของนักเรียนอเมริกัน
ในหนังสือรุ่น ตั้งแต่ปี 1905 -2005
และพบว่า มุมปากของนักเรียนนั้น ค่อยๆเพิ่มขึ้นๆ
จนเรียกได้ว่า 'ยิ้ม' ในที่สุด :)
มาถึงตรงนี้ เราจะบอกว่า Kodak
เป็นเสมือนผู้บุกเบิก
'วัฒนธรรมยิ้ม'
ของภาพถ่ายเลยก็ว่าได้...
สุดท้ายนี้ผู้เขียนอยากบอกว่า
.
ภาพถ่ายที่มีรอยยิ้มนั้น
ผู้เขียนเชื่อว่ายังไงๆ ก็สามารถส่งผ่านความสุข
ให้กับคนที่เห็นได้ไม่มากก็น้อย
.
บางครั้ง ไม่จำเป็นต้องใช้กล้อง เพื่อกดถ่าย
การยิ้มของเรานั้น
อาจเป็นสิ่งที่ทำให้ใครบางคน
'จดจำ' เรา ไปตลอดกาลเลยก็ได้ :)
.
แล้ววันนี้คุณผู้อ่าน 'ยิ้ม' กันบ้างแล้วหรือยังคะ ? 😊
🌟ถ้าชอบอย่าลืมกดLike กดติดตาม หรือกดแชร์ เพื่อเป็นกำลังใจให้ผู้เขียนด้วยนะคะ
🌟ยินดีน้อมรับทุกคำแนะนำติชมค่ะ

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา