24 เม.ย. 2020 เวลา 01:34 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
Gamma Ray เครื่องมือวัดชิ้นแรกที่เบสิกที่สุด
Gamma Ray เครื่องมือวัดชิ้นแรกที่เบสิกที่สุด
เครื่องมือวัดชิ้นแรกที่เบสิกที่สุดที่เรียนกันคือ SP (Spontaneous Potential log) อย่างที่แนะนำไปแล้ว เบสิกมาก เพราะมีแค่แท่งโลหะ (electrode) แค่แท่งเดียวติดอยู่ปลายสายเคเบิ้ล
เราเรียกเครื่องมือวัดค่ากัมตภาพรังสีธรรมชาติของชั้นหิน ชื่อมันคือ Gammy Ray คือ รังสีแกมม่า นั่นแหละครับ
เครื่องมือชิ้นนี้ใช้ หลอดไกเกอร์ (Geiger Muller Tube) หรือเรียกกันทั่วไปว่า G.M. counter นั่นแหละ หน้าตาเหมือนที่เราเคยเห็นในหนังเลย แต่ไม่ใช่ที่เราใช้งานจริง เพราะของเราจะใส่ทั้งหมดไว้ในท่อทรงกระบอก ยาวราวๆ เมตรนึง เส้นผ่าศูนย์กลางราวๆ 3 3/8 นิ้ว แล้วหย่อนลงไปในหลุมโดยสายเคเบิ้ลที่แกนกลางมีสายไฟฟ้า 7 เส้น (logging cable)
ผมจะไม่ลงรายละเอียดมากนักเกี่ยวกับเครื่องมือนะครับ เพราะมันก็พื้นๆ หาอ่านที่ไหนก็ได้ นั่นเป็นเครื่องมือรุ่นแรกๆที่เราใช้กัน ตอนนี้ที่ใช้กันแพร่หลายเป็นมาตราฐานคือแบบ Scintillation counter หลักการก็ตามรูปข้างล่าง
หลักการก็ง่ายๆ คือ แทนที่จะวัดรังสีแกมม่าโดยตรง ก็ให้รังสีแกมม่าตกกระทบตัวกระจายผลิตอิเลคตรอน แล้วเอาอิเลคตรอนนั้นมาขยายอีกที แล้วค่อยวัดไฟฟ้าที่เกิดจากอิเลคตรอนนั้น
พอๆ พอแค่นี้ดีกว่าเรื่องฟิสิกส์ เดี๋ยวปวดกระเบนเหน็บเจ็บไข่ดัน 555
ใครอยากรู้ว่าปัจจุบันนี้หน้าตามเครื่องมือนี้ที่เราใช้เป็นอย่างไรก็คลิ๊กที่นี่ก็แล้วกัน
เรามาว่ากันถึงการใช้งานมันดีกว่า ว่ามันบอกอะไรเรา
ชั้นหินที่เรามองหาไฮโดรคาร์บอนนั้นคือชั้นหินทราย (sand) ที่เป็นแหล่งกักเก็บ (reservoir rock) เพราะอะไร เพราะหินทรายมันมีรูพรุน มันก็มีโอกาสที่จะมีไฮโดรคาร์บอนอยู่ในรูพรุนนั้นจริงป่ะ ส่วนจะมีหรือไม่ มีมากมีน้อย ค่อยว่ากันอีกที แต่ขอให้เจอชั้นหินทรายก่อนเป็นดี
หินทราย หินดินดาน
หินทราย ก็ตามชื่อ เกิดจากตะกอนเม็ดทรายมาทับถมกัน โดนอัดแน่นจนเป็นหิน อัดกันแน่นแค่ไหนก็ยังมีช่องว่าระหว่างเม็ดทรายเป็นที่ให้ของเหลวต่างๆมาอาศัยอยู่

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา