25 เม.ย. 2020 เวลา 00:35 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
Porosity tools – EP1 เราอยากรู้ porosity ไปทำไม
เรารู้จักเครื่องมือวัดธรณีฟิสิกส์ของชั้นหินไปแล้ว 2 ชนิด คือ SP (Spontaneous Potential) และ Gammy Ray วันนี้จะแนะนำให้รู้จักเครื่องมือวัดอีกชนิดหนึ่งที่ใช้วัดความพรุน (porosity) ของชั้นหิน
ก่อนอื่นเรามารู้จักคำว่า “ความพรุน” กันก่อนว่ามันคืออะไร
เม็ดทรายเวลาสะสมกันเป็นตะกอน ไม่มีทางที่เม็ดทรายเหล่านั้นจะแนบชิดสนิทกัน ไม่มีช่องว่างเลย ลองนึกถึงขวดโหลใส่ลูกแก้วซิครับ หรือ ขวดใส่เม็ดถั่วเขียว อารมณ์นั้นนั่นแหละ จะมีช่องว่างอยู่ระหว่างลูกแก้ว หรือ เมล็ดถั่วเขียวเสมอ
อย่างรูปข้างล่าง สีน้ำตาลคือเม็ดทราย ที่สีขาวๆคือช่องว่างๆ
ถ้าตัดหินมาเป็นก้อน 4 เหลี่ยมลูกบากศ์ หน้าตาก็จะประมาณนี้ ตรงสีฟ้าเป็นที่ว่าง สีขาวจุดๆเป็นเม็ดทราย
ถ้าให้ปริมาตรทั้งก้อน 4 เหลี่ยมนี้เป็น 1 หน่วย ที่ว่างๆที่เป็นรูพรุนนั้น เราวัดเป็นสัดส่วนของปริมาตรทั้งหมด เช่น มีรูพรุน 10% ถ้าหินก้อนนี้เป็นหินทรายล้วนๆก็แปลว่ามีเนื้อทราย 90%
เอาล่ะรู้แล้วว่ารูพรุนเป็นอย่างไร ต่อไปก็จะมาคุยกันว่าจะวัดมันอย่างไร
ชวนมาเล่นสนุกเกอร์กันก่อน เวลาลูกสนุกเกอร์วิ่งมาชนกันเนี่ย จะมีการถ่ายเทพลังงานให้แก่กัน ลูกที่โดนชนก็ได้รับพลังงานไป
ลูกที่วิ่งไปชนก็เสียพลังงาน ลองหลับตากนึกภาพตามนะ ถ้าลูกใหญ่อยู่นิ่งๆ แล้วลูกเล็กวิ่งไปชน เหมือนแมงกะไซด์ชนรถสิบล้อ จะเกิดอะไรขึ้น ลูกใหญ่ก็ขยับนิดเดียว แต่ลูกเล็กเด้งกลับหรือชิ่งเปลี่ยนทิศทาง(ขึ้นกับมุมตกกระทบ)อย่างเร็วเลย … จริงป่ะ
งั้นกลับกันล่ะ นึกภาพใหม่ ถ้าลูกเล็กอยู่เฉยๆ ลูกใหญ่วิ่งมาชน เหมือนสิบล้อชนซาเล้ง ลูกใหญ่ก็ไม่หยุด ลูกเล็กก็กระเด็นปลิวเลย
มโนกันต่อ ถ้าลูกขนาดเท่าๆกันล่ะ ลูกนึง อยู่เฉยๆ ลูกนึงวิ่งมาชน ลูกที่วิ่งมาชนจะเสียความเร็วไปจนเกือบจะนิ่ง (แต่ไม่นิ่ง) ลูกที่โดนชนก็กระเด็นไป
งั้นถ้ามีกล่องอยู่ใบหนึ่ง ในนั้นมีลูกสนุกเกอร์คละขนาดอยู่ ขนาดล่ะเท่าไรก็ไม่รู้ ถ้าอยากประมาณว่ามีลูกสนุกเกอร์ขนาดไหนในกล่องนั้นเท่าไร เราก็เอาลูกสนุกเกอร์ขนาดนั้นระดมปาเข้าไป แล้วนับจำนวนลูกสนุกเกอร์ที่ปาเข้าไปที่เกือบจะหยุดนิ่ง ก็จะรู้ว่าลูกสนุกเกอร์ขนาดนั้นในกล่องมี “ประมาณ” เท่าไร

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา