26 เม.ย. 2020 เวลา 00:22 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
Porosity Tool EP2 กับ compton scattering และ sonic
ยังมีเครื่องมือวัดความพรุนหลักๆอีก 2 ชนิดครับ ที่จำเป็นต้องกล่าวถึง จึงได้ตั้งชื่อตอนนี้ว่า EP2 ครับ
LDT (Lithology Density Tool)
เอาชนิดแรกก่อน เราเรียกมันว่า เครื่องมือวัดความหนาแน่น หรือ Density Tool ชื่อทั่วๆไปของมันคือ LDT ย่อมาจาก Lithology Density Tool ชื่อผลงานหรือสิ่งที่มันให้เราคือ LDL ย่อมาจาก Lithology Density Log
ทำไมถึงมีชื่อ Lithology ติดมาด้วย แล้ว Lithology นี้มันคืออะไร
Lithology เป็นศัพท์ทางธรณี แปลแบบง่ายๆก็คือ ชนิดของหินนั้นแหละ ว่าเป็น หินทราย หินปูน หินโน้นหินนี่ เครื่องมือชนิดนี้ หลักๆทำขึ้นมาเพื่อวัดความหนาแน่นชั้นหิน แต่มีผลพลอยได้ ทำให้รู้ชนิดของหินไปด้วย เป็นไงๆ … ตามมาครับ 🙂
มารื้อควอนตัมฟิสิกส์กันหน่อยดีไหม (ไม่ดีก็ต้องดีครับ เพราะมันจำเป็นในการเข้าใจการทำงานของเจ้านี่)
Compton Scattering
ปรากฏการณ์ Compton Scattering คืออะไร ถ้าอ่านตามลิงค์ที่ให้ไว้ล่ะ มึนตึ๊บ ขอแปลแบบบ้านๆก็แล้วกัน
ถ้ามีโฟตอน (พลังงานแสงที่อยู่ในรูปกลุ่มก้อนตามทฤษฎีของเฮียหัวยุ่งๆนั่นแหละ) ความยาวคลื่นหนึ่งวิ่งไปชนอิเลคตรอน (ที่กำลังวิ่งวนรอบๆอะตอมอยู่ดีๆของมัน เหมือนดาวเทียมโคจรรอบโลก) มันจะทำให้อิเลคตรอนตกใจ เอ๊ย เพิ่มพลังงาน กระโดดขึ้นมาอยู่ในวงโคจรถัดไปซึ่งเป็นที่อยู่ (วงโคจร) ของอิเลคตรอนที่มีพลังงานสูงขึ้นอีกระดับ (ตามทฤษฎีอะตอมยุคบุกเบิกของเฮียบอร์)
อิเลคตรอนที่ถูกเพิ่มพลังงานนี้จะอยู่ในวงโคจรนั้นได้ไม่นาน ไม่เสถียร เพราะไม่ใช่ที่ของมัน มันไม่มีพลังงานพอที่จะอยู่ตรงนั้นได้อย่างถาวร ที่มาอยู่ตรงนั้นได้ชั่วคราวก็เพราะได้รับพลังงานจากโฟตอนที่มาชน

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา