ฮันนาห์ อาเรนท์ นักปรัชญาการเมืองคนสำคัญแห่งศตวรรษที่ 20 ที่ได้เปลี่ยนมุมมองปรัชญาที่พูดถึงความคิดที่มีต่อโลก เป็นการกระทำที่มีต่อโลก เธอได้เขียนหนังสือชื่อดังอยู่สามเล่ม The Origins of Totalitarianism (1951), The Human Condition (1958), และ On Revolution (1963)
มนุษย์นั้นมีการกระทำอยู่สามสิ่ง Labour Work และ Action
มุมมองหนึ่ง ในทุกๆงานที่เราทำแม้จะน่าเบื่อ ซ้ำซาก จำเจขนาดไหน ก็ยังแฝง Work และ Action อยู่เสมอ ยกตัวอย่างเช่น Work อยู่ในงานที่ต้องทำตามเป้าหมายเพื่อให้บรรลุ และการถกเถียงในห้องประชุมเพื่อเอาชนะนั่นคือ Action มองหา Work และ Action ในงานของเราแล้ว เราจะมีความหมายและมีเป้าหมายที่เราต้องไปให้ถึง
วิทยาศาสตร์เป็นหนึ่งในการหลบเลี่ยง Labour และ Work เพราะต้องคิดสร้างการทดลองขึ้นมาเพื่อตอบคำถามให้สิ่งที่ไม่รู้ สร้างสรรค์สิ่งใหม่ขึ้นมาบนโลก ในขณะเดียวกันการทดลองต่างๆเกิดขึ้นจากเครื่องมือที่มาจาก Work และ Labour
ตอนท้ายของ season 2 แก๊งกรงเล็บกำลังจะทำตามแผนครองโลก ซูซูกิผู้นำของกรงเล็บที่มองว่าตัวเองเป็นจุดสูงสุดของโลกและไม่จำเป็นต้องมีปฏิสัมพันธ์กับใคร ทั้งผู้มีพลังจิตที่เขาใช้เป็นเครื่องมือ ที่สามารถปลดทิ้งและแต่งตั้งใหม่ได้เสมอ และคนธรรมดาที่ไม่มีพลังเหมือนกับขยะ
Action ทางการเมืองสัมพันธ์กับเผด็จการ แบบเดียวกับสภาในยุคกรีกโบราณที่ให้ผู้หญิงทำ Labour และ Work ขณะที่ผู้ชายอยู่ในสภาออก Action เช่น การถกเถียงเพื่อสร้างนโยบาย
อย่างพวกม็อบที่ take Action ได้อย่าง seriously โดยใช้ชีวิตของตัวเองเข้าเสี่ยงสู้กับซูซูกิจอมเผด็จการโดยยึดมั่นกับหลักการว่าไม่ควรทำร้ายผู้คน และผู้ที่มีพลังจิตนั้นไม่ต่างจากคนอื่นๆในสังคม
ถ้าผู้คนไม่ออก Political Action เช่น มีส่วนร่วมในการวิจารณ์ ถกเถียง เลือกตั้ง พูดคุยการเมือง หรือมีส่วนร่วมในการออกกฎหมาย เมื่อนั้นเผด็จการก็จะเข้ามาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้