Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
เจาะเวลาหาอดีต
•
ติดตาม
28 เม.ย. 2020 เวลา 02:25
Lockdown Covid-19 VS พม่า Lockdown กรุงศรีอยุธยา
ผู้คนในยุคนั้นมีชีวิตเป็นอย่างไร
จากภัยของสงคราม?
ปัจจุบันเรา Lockdown เพราะการระบาดของโควิด แต่ในอดีต อยุธยาเคยถูกพม่า Lockdown เช่นกัน แต่คนละลักษณะ
อย่างที่ทราบกัน ตอนนี้รัฐบาลพิจารณาการประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ต่อไปอีก 1 เดือน หลังจากที่จะครบกำหนดในวันที่ 30 เม.ย.นี้
เวลานี้เราอาจจะต้องเผชิญกับช่วงเวลาที่เลวร้ายและช่วงเวลาที่ยากลำบากของประเทศไทย
สิ่งที่ทุกคนจะช่วยกันได้คือ การปฎิบัติตามหน้าที่ของตนเองให้ดีที่สุด ทั้งต่อตัวเองต่อครอบครัวและต่อสังคม ผมหวังว่าอีกไม่นานทุกอย่างจะกลับเป็นปกติครับ
วันนี้ผมจะพาทุกท่านมาดูเรื่องราวของการ Lockdown ในสมัยอยุธยาจากศึกสงคราม ช่วงก่อนเสียกรุงครั้งที่สอง ผู้คนในยุคนั้นต้องเจออะไรบ้างที่ระบุไว้บนพงศาวดาร?
เมื่อบ้านเมืองต้องถูกพม่า Lockdown
ในช่วงแรกนั้นผู้คนในอาณาจักรอโยธยาเริ่มได้ข่าวการเดินทัพของพม่าซึ่งนำทัพโดยมังมหานรธาเส้นทางผ่านเมืองกาญจนบุรี และอีกทัพหนึ่งนำโดยเนเมียวสีหบดีจากเส้นทางเมืองเชียงใหม่ พม่าใช้เวลาเพียงไม่กี่เดือนจนสามารถบุกทัพมาประชิดใกล้กรุงได้
ฝ่ายกรุงศรีก็ต้อนผู้คนและพระสงฆ์จากวัดต่างๆ ที่อยู่นอกกำแพงเมือง เข้ามาในเมือง จนแน่นขนัด เพราะเป็นจุดมั่นสุดท้ายไว้อาศัยหลบภัยสงคราม
ตามการคำนวณเวลาที่พม่า Lockdown กรุงศรีอยุธยานั้นขออิงตามข้อมูลของ
สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ โดยนับตั้งแต่เดือน 4 ปีระกา จนถึงเสียกรุง
เป็นเวลากว่า 1 ปี กับอีก 2 เดือน
1 ปี กับอีก 2 เดือน นี้ เป็นเวลายาวนานมากที่ชาวอยุธยาต้องเผชิญกับการ Lockdown จากพม่า
ตามข้อมูลทางพงศาวดารเรื่องราวสิ่งที่ชาวบ้านต้องเผชิญนั้นมักจะถูกข้ามไป ข้อมูลบนพงศาวดารจึงมีน้อยมาก หากเป็นเพียงบรรทัดสั้นๆ กระจิดริดกระจัดกระจาย ไม่มีการลงรายละเอียดอย่างชัดเจน แต่ก็พอจะมาบรรยายให้ผู้อ่านจินตนาการถึงคราวนั้นได้บ้าง
ในช่วงแรกที่พม่าเริ่มบุกตามหัวเมืองในช่วงต้นสงคราม มีการบรรยายถึงเหตุการณ์พม่าได้เผาเมืองชุมพรความว่า
"เมื่อเข้าเมืองได้นั้นพลทหารทั้งปวงก็จับผู้รักษาเมืองแลพลทหารพลเมืองชายหญิงแลเก็บริบเอาเงินทองของราษฏรชาวบ้านแลเก็บศาสตราวุธทั้งปวง"
เหมือนไม่ได้มีการฆ่าเกิดขึ้น พงศาดารแค่ระบุว่าชาวบ้านถูกจับ พิจารณาหากถูกจับมาเป็นเชลยนั้นจะต้องเจอกับอะไรบ้าง
ตามหลักการขยายอำนาจในยุคนั้น พม่าต้องการกำลังคนเพื่อสู้ศึก เชลยจึงเป็นส่วนสำคัญในการสร้างค่ายสร้างป้อมฐานที่มั่น หาอาหารหาเสบียง บ้างก็นำมาเป็นกองกำลังช่วยรบ
เชลยที่ไม่สามารถหนีไปได้ก็ต้องถูกต้อนไปเริ่มต้นชีวิตใหม่ที่พม่า ทรัพยากรบุคคลในยุคนั้นจึงสำคัญที่สุด การรบแต่ละครั้งจึงมีการกวาดต้อนเชลยกลับเมืองตัวเองเพื่อเสริมกำลังให้อาณาจักรแข็งแกร่งยิ่งขึ้น
ส่วนภาพความโหดร้ายอื่นที่มีการบันทึกอย่างชัดเจนทั้งทางพม่าและไทยก็มีบ้าง ไม่ว่าจะเป็นการสังหารหมู่ การปล้นชิง หรือการทารุณทรมานเพื่อให้บอกที่ซ่อนสมบัติ
ชาวเมืองในยุคนั้นมักฝังสมบัติใส่ไหใส่หีบไว้ โดยคิดว่าหลังสงครามสงบจะกลับมาขุด การปฏิบัติอย่างโหดเหี้ยมของฝ่ายพม่าจึงเริ่มขึ้นเพื่อเค้นให้เชลยบอกที่ซ่อน
สมบัติต่างๆที่พม่าชิงมาคือของกำนัลจากสงครามและนำกลับไปอาณาจักรตน เพื่อสร้างขุมอำนาจทางเศรษฐกิจอีกทางหนึ่ง
ส่วนการสังหารหมู่ก็มีเกิดขึ้น บริเวณตำบลสีกุก มีชาวเรือถูกพม่าสังหารตายเป็นกองซากศพมากขนาดทำให้น้ำในแม่น้ำไม่สามารถใช้ดื่มกินได้
เมื่อพม่าประชิดกรุงศรีได้สภาพความเป็นอยู่ของชาวบ้านคล้ายกับการติดเกาะ ซึ่งกินเวลาเป็นปี มีบันทึกความว่า
"ฝ่ายทหารพลเมืองกรุงศรีอยุธยาก็ได้ความลำบากอดหยากมา 2 ปีเศษ แล้วจึงคับแค้นนัก พลเมืองทั้งปวงก็หนีออกมาเข้ากับสีหะปะเต๊ะแม่ทัพทุกวันมิได้ขาด"
ชาวเมืองทนไม่ไหวถึงกับต้องหนีออกมาจำนนต่อพม่าเพราะอะไร?
ไม่ใช่แค่เพราะความอดอยาก ความแร้นแค้น ที่ชาวเมืองต้องเผชิญในศึกนี้เท่านั้น แต่การติดเกาะไปไหนไม่ได้นั้น ยังถูกบรรเลงด้วยลูกกระสุนจากปืนใหญ่ของฝั่งพม่าทุกวี่ทุกวันไม่ได้ขาด การเดินทางออกไปไหนมาไหนของชาวบ้านจึงเสี่ยงตายมาก
ในพงศาวดารฝั่งพม่าก็บันทึกไว้เช่นกัน เรื่องความลำบากของชาวเมืองในพระนครตรงกับของฝั่งไทยทุกประการ และยังไม่รวมพวกพลทหารที่ต้องทนอดอาหารซึ่งขาดแคลนหนักและต้องทนรับศึกต่อไปอีกยาวนาน
1
และชาวบ้านที่อยู่ภายนอกอาณาเขตเมืองล่ะ?
เมื่อทางการช่วยอะไรไม่ได้แล้ว ชาวบ้านก็รอไม่ได้ จึงต้องตั้งตนรวมกลุ่ม สร้างกองกำลังขึ้นมาเพื่อปกป้องตนเอง เป็นกองโจรป้องกันตัวเองจากพม่าและชุมนุมก๊กอื่นๆ
ในเวลานั้นบ้านเมืองอยู่ในวิกฤติ สภาพการเมืองเป็นสุญญากาศ ผู้คนต้องเอาชีวิตรอด ใครปล้นได้ก็ปล้น เรียกได้ว่าเป็นสภาพไร้กฏหมาย
บ้านเมืองจึงมีก๊กชุมนุมเกิดขึ้นมากมาย
ต่างรบและแย่งชิงอาหารกัน จนเกิดกาลาหลไปทั่วทั้งแผ่นดิน
สะท้อนความล้มเหลวในการเกณฑ์ไพร่พลของอยุธยาได้อย่างชัดเจน จนต่อมาพระเจ้าตากได้รวบรวมและปราบปรามก๊กต่างๆ และต่อมาจึงผนึกกำลังมาไล่พม่า ภายหลังเสียกรุงไป
อาจจะเป็นข้ออธิบายได้ว่าทำไมพระยาตากถึงตีฝ่าแหวกทัพหม่าออกจากเมืองไปทางทิศตะวันออกเหตุนั้นเพราะทางทิศตะวันออกมีจำนวนข้าศึกพม่าที่เบาบางกว่า
1
พม่าตั้งค่ายล้อมกรุงไว้จำนวนมากแต่ทิศตะวันออกของเมืองไม่หนาแน่นเท่าทิศอื่น จึงมีชาวเมืองจำนวนไม่น้อยที่ไม่หวังพึ่งกรุงศรี หนีออกมาพึ่งตนเองก็จำนวนมาก
ส่วนในมุมของพระยาตากการฝ่าวงล้อมออกมาแบบนี้ ก็ต้องแลกกับการที่พระยาตากต้องเจอกับก๊กมากมายนับไม่ถ้วน ในเวลานั้นสภาพบ้านเมืองไม่มีกฏหมายหมายไม่มีใครู้ว่าใครเป็นใคร ทัพพระยาตากก็ย่อมเป็นภัยต่อก๊กต่างๆเช่นกัน
การเดินทัพปราบก๊กต่างๆไปเรื่อยๆ เพื่อรวบรวมกำลังเส้นทางทางทิศตะวันออกจากนครนายกจรดจันทบุรี
ศึกของพระยาตากจึงเป็นศึกที่หนักหน่วงไม่แพ้ในเมือง แต่เป็นการดีกว่าหากติดเกาะอยู่ในเมืองต่อไป อาจจะตายกันหมดหรือไม่ก็ถูกจับเป็นเชลยศึก
ชาวเมืองกรุงศรีกว่าหลายชีวิตที่ถูกระบุไว้ในพงศาวดาร เสียชีวิตไปกว่า 200,000 คน ถูกกวาดต้อนไปพม่ากว่า 30,000 คน
ตามรายงานการสำรวจปริมาณประชากร ของ ลา ลูแบร์ ได้บอกว่า อาณาจักรอโยธยามีประชากรราว 1,900,000 คน หากจำนวนผู้เสียชีวิตที่ระบุไว้บนพงศาวดารเป็นความจริง
สงครามคราวเสียกรุงได้ลดจำนวนประชากรไปกว่า 10% ของประชากรทั้งอาณาจักร
อย่างไรก็ตามเป็นการเสียดาย ข้อมูลที่บรรยายไว้ในพงศาสดาร เป็นเรื่องของชาติและศึกสงครามของกษัตริย์ บทบาทของราษฏรจึงแทบไม่ค่อยปรากฏว่ามีอะไรกระทบต่อชีวิตของพวกเขาบ้าง
สภาพแท้จริงที่ผู้คนต้องเผิชญอาจจะมีเหนือคณานับจากบทความที่กล่าวมาอีกมาก
จุดมุ่งหมายที่เจาะเวลาหาอดีตเขียนบทความนี้ขึ้น เพื่อสื่อให้ผู้อ่านหวนนึกถึงสื่งที่บรรพบุรุษเคยเผชิญมา อาจมีความคล้ายกันในบางมุมของภัยร้ายที่มาในรูปแบบโรคระบาดหรือศึกสงคราม ทุกอย่างล้วนทำให้เกิดความสูญเสียและความยากลำบากในการดำเนินชีวิต
สุดท้ายนี้จึงขอเป็นกำลังใจให้ทุกคนเข็มแข็งและร่วมก้าวผ่านไปด้วยกันครับ
❤️กดไลค์ กดแชร์ ติดตามเป็นกำลังใจ❤️
🙏ขอบพระคุณครับ🙏
อ้างอิง:
- หนังสือ Shutdown กรุงศรี โดย ปรามินทร์ เครือทอง
เครดิตภาพจากภาพยนตร์:
- ตำนานสมเด็จพระศรีสุริโยทัย
- ขุนศึก
- ตำนานสมเด็จพระนเรศวร
- บางระจัน
23 บันทึก
216
46
36
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
อยุธยายอยศยิ่งฟ้า
23
216
46
36
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย