28 เม.ย. 2020 เวลา 01:26 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
Wireline Logging ตอน Resistivity tool EP2
ทบทวนของเก่านิดนึงก่อน เพราะต้องเรื่องราวต่อเนื่องกัน เราวัดความต้านทานจำเพาะของชั้นหินด้วยการส่งกระแสไฟฟ้าออกจากเครื่องมือที่หย่อยอยู่ในหลุม ผ่านน้ำโคลน ผ่านขี้โคลนที่เกาะผนังหลุม เข้าไปในชั้นหิน เราจะใช้วิธีนี้ได้ก็ต่อเมื่อ น้ำโคลนนั้นนำไฟฟ้า จริงไหมครับ (อ่านต่อ Wireline Logging ตอน Resistivity Tool EP1)
ถ้าเราใช้น้ำโคลนที่ไม่นำไฟฟ้าล่ะ อย่างเช่น OBM (Oil Base Mud ก็คือ น้ำโคลนที่ใช้น้ำมันนั่นแหละ) หรือ SBM (Synthetic Base Mud ใช้สารสังเคราะห์เป็นของเหลวหลัก นึกถึงน้ำมันเครื่องแบบสารสังเคราะห์ นั่นล่ะครับ) ในการขุดเจาะ หลายๆครั้งเราก็จำเป็นต้องใช้น้ำโคลนพวกนี้
แล้วเราจะวัดความต้านทานไฟฟ้าจำเพาะของชั้นหินได้อย่างไร
เราใช้หลักการเหนี่ยวนำไฟฟ้าน่ะครับ เหมือนกับหลักการที่เราใช้กับหม้อแปลงไฟฟ้านั่นเอง งั้นเรามาทบทวนปูพื้นกันหน่อยดีไหมครับ ว่าหม้อแปลงมันทำงานยังไง สายแข็งที่รู้แล้วก็อย่าเพิ่งเบื่อนะครับ รอเพื่อนๆนิสนุง
แปลง่ายๆคือ เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงกระแสไฟฟ้า จะเหนี่ยวนำให้เกิดสนามแม่เหล็ก (magnetic field) เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงสนามแม่เหล็ก จะเหนี่ยวนำให้เกิดกระแสไฟฟ้า (ground loop)
กระแสไฟฟ้า (ground loop) ที่เปลี่ยนแปลง จะทำให้เกิดสนามแม่เหล็กที่เปลี่ยนแปลง ถ้าเอาขดลวดไปวางเอาไว้ในโซนที่มีสนามแม่เหล็กที่เปลี่ยนแปลง ก็จะเกิดกระแสไฟฟ้าขึ้นมาในขดลวดนั้น ตามรูปข้างล่างนี้แหละ
ถ้าอยากให้เกิดกระแสเหนี่ยวนำมากๆ ก็ต้องหาอะไรสักอย่างที่เป็นตัวนำให้สนามแม่เหล็กมันไหลผ่านเยอะๆ เพราะอากาศไม่เป็นตัวนำสนามแม่เหล็กที่ดีนัก เหล็กนี่แหละ เป็นตัวนำสนามแม่เหล็กที่ดี

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา