ตัวอย่างหนึ่งของการนำ AI มาใช้งานคือในประเทศอังกฤษ โดยคุณหมอ Rizwan Malik แห่งโรงพยาบาล Royal Bolton ดำเนินงานโดย UK’s National Health Service (NHS) ซึ่งเป็นผู้ที่มีความสนใจในการนำ AI มาประยุกต์ใช้ในทางการแพทย์อยู่เดิม
โดยก่อนการระบาดนี้เขาเคยเสนอโครงการในการนำ AI มาตรวจคัดกรองผู้ป่วยจากการอ่านฟิล์มเอกซเรย์ปอด ชื่อ qXR ที่พัฒนาโดยซอฟแวร์เฮาส์ในมุมไบประเทศอินเดีย
ซึ่งเขาเสนอแผนให้ใช้งาน qXR เป็นความเห็นจากการปรึกษาแพทย์อื่น หรือ second opinion
แต่หากมีการปรับปรุงข้อมูลการตั้งค่าให้เหมาะสมแล้ว AI จะมีส่วนช่วยอย่างมากในการคัดกรองผู้ป่วยและยังสร้างความมั่นใจให้กับพยาบาลหน้างานด้วย
ดังนั้นในรายงานจึงสรุปผลออกมาว่า การจะใช้งาน AI ให้ได้ประโยนช์สูงสุดนั้น จึงต้องเป็นการทำงานร่วมกันระหว่างมนุษย์และ AI โดยมีผู้พัฒนา AI เป็นตัวกลางระหว่าง AI และผู้ใช้งาน
แม้ว่าก่อนหน้านี้ข่าวคราวผลการใช้ AI ในห้องทดลองจะดูดี ราวกับว่า AI จะเก่งกว่าหมอเฉพาะทางเสียด้วยซ้ำ แต่การนำมาใช้จริงหน้างานนั้นกลับยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่ส่งผลต่อความแม่นยำของ AI ดังนั้นกว่าที่ AI จะพร้อมและเข้ามาเป็นผู้ช่วยคงต้องใช้เวลาอีกพักใหญ่
หากคนใช้และ AI เข้ากันได้ดีก็เหมือนคู่หูที่เข้าขานั่นเอง ฉะนั้นแล้วการที่ AI จะมาแย่งงานหมอนั้นคงจะไม่ใช่ น่าจะเป็นการมาช่วยงานหมอเสียมากกว่า โดยเฉพาะการรับมือกับระบาดครั้งใหญ่ของโรคอุบัติใหม่ครั้งหน้า 😉