30 เม.ย. 2020 เวลา 07:43 • การศึกษา
CHAPTER 3
เมื่อกระทำผิดด้วยความจำเป็น ต้องรับโทษไหม ?
เรามาดูกันครับ ^^
ที่มาภาพ : https://media.licdn.com/mpr/mpr/
1. ต้องเรียนให้ทุกท่านทราบก่อนครับว่า เจตนาในการกระทำนั้น
เป็นเครื่องชี้วัดในการกระทำความผิดเป็นสำคัญ หากท่านไม่มีเจตนา แต่ได้กระทำความผิดขึ้น ในเงื่อนไขดังนี้ ท่านไม่ต้องรับโทษที่กระทำไป
(1) อยู่ในที่บังคับ หรือภายใต้อำนาจ
ซึ่งไม่สามารถหลีกเลี่ยงหรือขัดขืนได้
(2) เพราะเพื่อให้ตนเอง หรือ ผู้อื่นพ้นภัยจากภยันอันตรายที่ใกล้จะถึงและไม่สามารถหลีกเลี่ยงให้พ้นโดยวิธีอื่นได้ เมื่อภยันอันตรายนั้น
ตนมิได้ก่อให้เกิดขึ้นเพราะความผิดของตน ถ้าการกระทำนั้นไม่เป็นการเกินสมควรแก่เหตุแล้ว ผู้นั้นไม่ต้องรับโทษ
อ้างอิง มาตรา 67 แห่งประมวลกฎหมายอาญา อนุ (1) และ (2)
แต่ทั้งนี้ แม้เราจะกระทำความผิดโดยเจตนาเป็นเหตุให้ต้องได้รับโทษตามกฎหมายอาญาก็ตาม แต่หากเป็นการจำเป็นและสมควรแก่เหตุตามมาตรา 67 แห่งประมวลกฎหมายอาญา “ผู้กระทำผิดก็อาจจะไม่ต้องรับโทษ”
⚠️ หมายเหตุ ⚠️
# หากเลี่ยงได้แต่ไม่เลี่ยง กลับเลือกที่จะกระทำผิด จะอ้างว่าจำเป็น เพื่อยกเว้นโทษไม่ได้
# ผู้กระทำก่อเหตุเอง จะอ้างจำเป็น เพราะอยู่ในที่บังคับ ไม่ได้ เพราะอาจเลี่ยงได้ตั้งแต่แรก โดยไม่ก่อเหตุเสียเอง
//// บางครั้งคนเราก็กระทำให้บุคคลอื่นได้รับความเสียหายด้วยเหตุจำเป็น ซึ่งกฎหมายจะพิจารณาและให้ความคุ้มครองไว้โดยไม่ถือว่าเป็นความผิดอาญา ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 67 (2) ที่ คุ้มครองการกระทำที่ จำเป็นของบุคคล ที่ทำไปเพื่อให้พ้นจากภยันอันตราย ///
- ตัวอย่างเช่น นายแดงเดินทางไปต่างจังหวัด ระหว่างนั้นเกิดพายุหนัก นายแดงหนีเข้าไป บ้านนายดำโดยไม่ได้รับอนุญาตเพื่อไปหลบพายุ
ในบ้านนายดำ แม้นายแดงจะมี ความผิดฐานบุกรุก
แต่ก็ได้รับการยกเว้นโทษ...
ภาพจาก : CECILIA WESSELS
- หรือสุนัขบ้าไล่กัดนายเอ นายเอจึงไปพังประตูบ้านของนายสองเพื่อหนี เข้าหลบสุนัขบ้าดังกล่าว ซึ่งส่งผลให้ประตูบ้านนายสองพัง
แม้นายเอจะมีความผิด ในฐานทำให้เสียทรัพย์ แต่ก็ไม่มีโทษต้องรับผิด เพราะเป็นการกระทำเพื่อให้ พ้นภยันตราย แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นการกระทำดังกล่าว ต้องไม่เข้าข่ายเป็นการกระทำ ที่เกินกว่าเหตุ...
ภาพที่มา : http://www.ampoljane.com/2016/12/29/773/
ตัวอย่าง คำพิพากษาฎีกา
- อยู่ในที่บังคับ หรือภายใต้อำนาจซึ่งไม่สามารถหลีกเลี่ยง
หรือขัดขืนได้
📚 คำพิพากษาฎีกาที่ 1750/2514 จำเลยถูกคนร้ายซึ่งมีสมัครพรรคพวกมากและมีอาวุธปืนครบมือ ขู่บังคับให้เอาเรือรับส่งคนร้ายข้ามฟากไปทำการปล้นทรัพย์ ถือว่าจำเลยกระทำด้วยความจำเป็น ไม่สามารถหลีกเลี่ยงหรือขัดขืนได้ จึงไม่ต้องรับโทษ แม้จำเลยจะมิได้เป็นฝ่ายฎีกา แต่เมื่อปรากฏว่าจำเลยกระทำความผิดด้วยความจำเป็น ไม่ต้องรับโทษ ศาลฎีกาก็มีอำนาจพิพากษาให้เป็นคุณแก่จำเลยได้
📚 คำพิพากษาฎีกาที่ 2348/2525 (ฎ เน ตอน 8 น 1652) ศาลฎีกาเห็นว่า คนร้ายมีปืน และฆ่าผู้ตายให้เห็นเป็นที่ประจักษ์เช่นนั้น จำเลยย่อมมีความกลัว และไม่กล้าขัดขืน คดีน่าเชื่อว่าจำเลยขับเรือรับผู้โดยสารไปยังที่เกิดเหตุ โดยไม่ทราบว่าเป็นคนร้ายจะไปฆ่าผู้ตาย หลังเกิดเหตุแล้วจำเลยจำต้องขับเรือไปส่งคนร้ายด้วยความจำเป็น เพราะอยู่ภายใต้อำนาจของคนร้าย ซึ่งจำเลยไม่สามารถหลีกเลี่ยงหรือขัดขืนได้ตาม ป.อ.ม.67 (1) เมื่อส่งคนร้ายแล้วก็ไปแจ้งความแก่ผู้ใหญ่บ้านทันที ดังนี้ จำเลยไม่ต้องรับโทษ
- เพื่อให้ตนเอง หรือผู้อื่น พ้นจากภยันตรายที่ใกล้จะถึง และไม่สามารถหลีกเลี่ยง
📚 คำพิพากษาฎีกาที่ 1660/2511 มีผู้นำช้างไปล่ามไว้ใกล้กับสวนของจำเลย โดยจำเลยไม่รู้ กลางคืนช้างหลุดพังรั้วเข้าไปในสวนของจำเลย จำเลยพบช้างอยู่กลางไร่ข้าวโพดห่างประมาณ 4 วา และช้างเดินเข้าหาจำเลย จำเลยเข้าใจว่าเป็นช้างป่า จึงยิงไป 2 นัด ดังนี้ เป็นการกระทำโดยจำเป็น จำเลยไม่ต้องรับโทษฐานทำให้เสียทรัพย์
- หมายเหตุ จำเลยไม่ผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ เพราะการเข้าใจว่าเป็นช้างป่า เท่ากับไม่รู้ว่าเป็นทรัพย์ของผู้อื่น ถือว่าไม่มีเจตนาทำให้เสียทรัพย์ของผู้อื่นเสียหายตาม ม 59 ว 3 ประกอบ ม 358 ไม่ต้องรับผิดตามมาตรา 59 วรรคแรก เมื่อไม่ต้องรับผิด จึงไม่ต้องพิจารณาเหตุงดโทษ ลดโทษ ไม่ต้องอ้างเหตุจำเป็นตามมาตรา 67
/// กฎหมายจอมโจร By Kuroba ///
*** ถ้าบทความนี้เป็นประโยชน์แก่สาธารณะ สามารถแชร์และไลค์เพื่อเป็นกำลังใจให้กับผู้จัดทำได้ครับ ^^

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา