Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ธุรกิจและกฎหมาย by Kuroba
•
ติดตาม
30 เม.ย. 2020 เวลา 13:50 • สุขภาพ
CHAPTER 4
พิษโควิด - 19 ทำให้สัตวเลี้ยงถูกทิ้งมากขึ้น
"เพราะว่าสัตว์พูดไม่ได้ เราจึงต้องช่วยพูดแทน” (:
ภาพจาก: ทีมข่าว เดลินิวส์ สถานที่ : มูลนิธิอนุรักษ์ช้างและสิ่งแวดล้อม ที่ อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่
ปัจจุบันสิ่งหนึ่งที่เห็นได้ชัดในสังคมไทย คือ การเปลี่ยนจากครอบครัวใหญ่ไปสู่ ครอบครัวเดี่ยวมากขึ้น
ประกอบกับการดำเนินชีวิตของคนไทยที่มีวิถีชีวิตที่เต็มไปด้วยการเผชิญหน้า กับการแข่งขันที่ค่อนข้างสร้างความเครียดและความกดดันพอสมควร
ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ถือเป็นเหตุผลหนึ่ง ที่ส่งผลให้คนส่วนใหญ่หันมาสนใจเลี้ยงสัตว์มากขึ้น เนื่องจากการเลี้ยงสัตว์เป็นทางเลือกหนึ่งที่ช่วย ผ่อนคลายความเหงาและความเครียดที่เกิดขึ้นให้น้อยลงได้
อีกทั้งปัจจุบันค่านิยมในการเลี้ยงสัตว์เปลี่ยนไป จากเดิมที่เป็นเพียงสัตว์ที่เลี้ยงไว้ในบ้านเป็นสัตว์เลี้ยงที่กลายเป็นส่วนหนึ่งของครอบครัว
ภาพจาก : By Krungsri Academy
ซึ่งจากข้อเท็จจริง จากสำนักข่าวเดลินิวส์ได้ลงข้อมูลว่า " หลังการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้คาเฟ่แมวและสุนัขหลายแห่งต้องปิดตัวลงและเจ้าของไม่สามารถแบกรับภาระการเลี้ยงดูสัตว์เลี้ยงเหล่านี้ได้ ติดต่อขอให้มูลนิธิช่วยรับเลี้ยงจำนวนมาก "
ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าการระบาดของ โควิด -19 นั้น ส่งผลกระทบต่อธุรกิจคาเฟ่สัตว์เลี้ยง ที่ต้องปิดตัวชั่วคราว หลังจากประกาศทางกฎหมายจากรัฐ
นอกจากที่ต้องเห็นใจกับผู้ประกอบการธุรกิจดังกล่าวแล้ว
สิ่งที่น่าสงสารที่สุดคือบรรดาสัตว์เลี้ยงทั้งหลาย ที่ต้องกอดคอกันตกงาน
สุดท้าย ก็ต้องส่งน้องๆ ไปยังมูลนิธิ เพราะแบกรับค่าใช้จ่ายไม่ไหว TT
ภาพจาก: ทีมข่าว เดลินิวส์ สถานที่ : มูลนิธิอนุรักษ์ช้างและสิ่งแวดล้อม ที่ อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่
ทีนี้เรามาพูดถึงในกรณีที่เจ้าของสัตว์เลี้ยง ทิ้งสัตว์เลี้ยงของตนเอง ไม่ว่าจะเหตุใดก็ตาม
- นำมาเลี้ยงแล้ว ภายหลังเกิดความเบื่อหน่าย ไม่มีเวลา และมองเป็นภาระ ก็ใช้วิธีนำไปปล่อยวัด หรือในสถานที่ต่างๆ ให้พ้นภาระของตัวเอง
เรื่องราวเช่นนี้ไม่ง่ายดายเหมือนในอดีตอีกแล้ว เพราะการกระทำเช่นนี้ ถือเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ. 2557 มาตรา 23
" ห้ามมิให้เจ้าของสัตว์ปล่อย ละทิ้ง หรือการทำการใดๆ ให้สัตว์พ้นจาก การดูแลของตนโดยไม่มีเหตุอันควร หากฝ่าฝืนต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 40,000 บาท ตามมาตรา 32 "
ภาพจาก : MATICHON ONLINE
📚เพิ่มเติมความรู้เรื่อง กรรมสิทธิ์ในสัตว์เลี้ยง ครับ
ด้วยปัจจุบันมีความสับสนในข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับนิยามคำว่า
เจ้าของสัตว์ VS เจ้าของสุนัข
1. ตามข้อบัญญัติควบคุมการเลี้ยงและปล่อยสัตว์ พ.ศ. 2545
ที่ กทมฯ และหลายเทศบาลออกตาม พรบ สาธารณสุข 2535 เจ้าของสัตว์ หมายความว่า "ผู้ครอบครองสัตว์"
2. ส่วนตาม ข้อบัญญัติควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสุนัข พ.ศ. 2548 ของ กทมฯ เจ้าของสุนัข หมายถึง "ผู้ครอบครองสุนัข และหมายความรวมถึง ผู้ให้อาหารเป็นประจำด้วย"
3. แต่ ต้นปี 2557 ศาลปกครองได้มีคำสั่งเพิกถอนส่วนที่ว่า
“ผู้ให้อาหารเป็นประจำ” ออกไปจึงเหลือเพียง "ผู้ครอบครองสุนัข"
4. ในขณะที่ พรบ ป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ. 2557 เจ้าของสัตว์ หมายถึง "เจ้าของกรรมสิทธิ์และให้หมายความรวมถึง ผู้ครอบครองสัตว์หรือผู้ทรี่ได้รับมอบหมายให้ดูแล ไม่ว่าจะได้รับมอบหมายจากเจ้าของกรรมสิทธิ์ หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากเจ้าของกรรมสิทธิ์ให้ดูแลด้วย"
5. ความแตกต่างจึงอยู่ที่คำว่า เจ้าของสัตว์ กับ เจ้าของสุนัข ว่าเรากำลังพูดถึงกฎหมายอะไรอยู่ จะนำนิยามของกฎหมายหนึ่งมาใช้แทนอีกกฎหมายหนึ่งไม่ได้ ดังนั้นหากพูดถึงสุนัข แมว ช้าง ม้า วัว ควาย ตามข้อบัญญัติ กทมฯ 2545 เจ้าของก็คือผู้ครอบครองสัตว์นั้นๆ
6. หากเป็นเรื่องทารุณสัตว์ เจ้าของคือ เจ้าของกรรมสิทธิ์ ผู้ครอบครอง
และผู้ที่ได้รับมอบหมายต่อจากเจ้าของด้วย
7. แต่หากพูดเรื่องสุนัข เจ้าของก็คือ ผู้ครอบครองสุนัข ไม่รวมพวกป้าๆที่ให้อาหาร เจ้าหน้าที่หรือผู้เกี่ยวข้องจะนำเรื่องการให้อาหารสัตว์ตามถนนมาเล่นงานใครไม่ได้ ไม่ว่าจะกฎหมายไหน
8. โดยคำสั่งของศาลปกครองมีผลกับทุกกฎหมาย รวมทั้ง พรบ ป้องกัน และข้อบัญญัติต่างๆขององค์การบริหารส่วนท้องถิ่นหรือเทศบาลทั่วประเทศด้วย
9. เพราะฉะนั้น คนให้อาหารสัตว์ตามที่สาธารณะต่างๆไม่ถือว่าเป็นเจ้าของ ในขณะเดียวกันก็ไม่สามารถนำการให้อาหารสัตว์มาอ้างความเป็นเจ้าของได้ แต่อาจอ้างการครอบครองสัตว์เพื่อเรียกร้องความเป็นเจ้าของได้
10. ยกตัวอย่างเช่น ป้าหนึ่งให้อาหารสุนัขแถวบ้านเป็นประจำมานับสิบปี อยู่ๆป้าสองก็มารับหมาบางตัวไปทำหมัน แล้วหาบ้านใหม่โดยไม่หารือ
ป้าหนึ่งจะมาโวยวายขอหมาคืนหรือฟ้องร้องอะไรไม่ได้
หากขึ้นโรงขึ้นศาลกันต่างฝ่ายต่างก็ต้องพิสูจน์สิทธิครอบครอง โดยป้าสองนำสุนัขไปเลี้ยงไปรักษามีหลักฐานการจ่ายเงินและสถานที่เลี้ยงสุนัขไว้จึงเป็นต่อ
ยิ่งหากนำสุนัขไปขึ้นทะเบียนตามระเบียบ กทมฯ หรือท้องถิ่นแล้ว ยิ่งชนะใสๆ ในทางกลับกันหากป้าสองเคยนำสุนัขไปขึ้นทะเบียนฝังไมโครวิพไว้ ป้าหนึ่งก็จะกลายเป็นคนขโมยหมา
ที่มาแหล่งอ้างอิง :
http://thevoicefoundation.org/
/// กฎหมายจอมโจร By Kuroba ///
*** ถ้าบทความนี้เป็นประโยชน์แก่สาธารณะ ช่วยกดไลค์กดแชร์ เป็นกำลังใจให้ผู้จัดทำด้วยนะครับ ^^ ***
ภาพจาก : https://mgronline.com/local/detail/9610000029946
1 บันทึก
2
2
4
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
- กฎหมายและเหตุการณ์ -
1
2
2
4
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย