1 พ.ค. 2020 เวลา 18:37 • การศึกษา
CHAPTER 5
สัญญาเช่าเป็นมรดกตกทอดได้หรือไม่ ?
ภาพจาก : https://www.ddproperty.com
1. หลายครอบครัวพักอาศัยในบ้านเช่า ซึ่งอยู่กันมายาวนานหลายรุ่น
หากเจ้าของบ้านใจดี ให้ต่อสัญญาเช่ายามที่ผู้เช่าเสียชีวิต
ลูกหลานก็คงไม่เป็นไร แต่ถ้าไม่ต่อสัญญาเช่าให้ ลูกหลานต้องย้ายออก
หรือไม่นั้น กรณีนี้จะต้องมาดูว่า สัญญาเช่าเป็นมรดกตกทอดได้หรือไม่
2. ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 537 บัญญัติไว้ว่า
" อันว่าเช่าทรัพย์สินนั้นคือสัญญา ซึ่งบุคคลคนหนึ่งเรียกว่า ผู้ให้เช่า ตกลงให้บุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่า ผู้เช่า ได้ใช้หรือได้รับประโยชน์ในทรัพย์สินอย่างใดอย่างหนึ่งชั่วระยะเวลาอันมีจำกัด และผู้เช่าตกลงจะให้ค่าเช่าเพื่อการนั้น "
3. และ " มาตรา 544 ทรัพย์สิน ซึ่งเช่านั้น ผู้เช่าจะให้เช่าช่วงหรือโอนสิทธิของตนอันมีในทรัพย์สินนั้นไม่ว่าทั้งหมดหรือแต่บางส่วนให้แก่บุคคลภายนอก ท่านว่าหาอาจทำได้ไม่ เว้นแต่จะได้ตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่นในสัญญาเช่า "
4. ด้วยข้อบังคับของ 2 มาตราดังกล่าว สรุปได้สั้นว่า สัญญาเช่าเป็นการตกลงกันเฉพาะตัวระหว่างผู้เช่ากับผู้ให้เช่า เมื่อผู้เช่าตายไปสิทธิดังกล่าว จึงไม่ใช่สิทธิของบุคคลอื่นนอกสัญญา เช่น ลูกหลาน เป็นต้น
5. ดังนั้น เมื่อสัญญาเช่าเป็นสิทธิเฉพาะตัวของผู้เช่า หากผู้เช่าตายสัญญาเช่าย่อมระงับไป ไม่เป็นมรดกตกทอดไปยังทายาท ครับ
📍 ในทางตรงกันข้าม ถ้าผู้ให้เช่าตายสัญญาเช่าไม่สิ้นสุดลง
ภาพจาก : https://www.ddproperty.com
แต่เดี๊ยววววก่อน ~
📚 ถ้าในสัญญาเช่า คู่สัญญามิได้คำนึงถึง ( คุณสมบัติของผู้เช่าเป็นสาระสำคัญ ) แม้ผู้เช่าตาย สัญญาเช่าก็ไม่ระงับ !
อ้าว !!!! แล้วที่อ่านมาด้านบนคืออย่างไร ?????
" ไม่ต้องตกใจครับ ลองอ่านคำพิพากษา ฉบับนี้ดู "
(เทียบคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11058/2559)
💥 ผู้เช่าตายสัญญาเช่าไม่ระงับ !
เป็นอีก 1 คำพิพากษาฎีกาใหม่ที่น่าสนใจครับ เพราะ ปกติแล้วในการทำสัญญาเช่านั้น หากผู้เช่าตายลง สัญญาเช่าย่อมสิ้นสุดทันที เนื่องจากมองว่าสิทธิการเช่านั้นเป็นการเฉพาะตัวของผู้เช่า ...
แต่ในคดีนี้ ศาลพิพากษาว่า เมื่อผู้เช่าตายสัญญาเช่ายังไม่ระงับ เนื่องจาก
1) มีการตกลงเช่ากัน 30 ปี และชำระค่าเช่าล่วงหน้าเอาไว้แล้ว - กำหนดเวลา 30 ปี จึงถึงเป็นสาระสำคัญของสัญญาเช่นนี้
2) ผู้ให้เช่าตกลงให้ผู้เช่า เอาทรัพย์สินที่เช่าไปให้เช่าช่วงต่อได้ - แสดงว่า ผู้ให้เช่าไม่ได้พิจารณาที่ตัวผู้เช่าเป็นหลัก สิทธิการเช่าจึงไม่เป็นการเฉพาะตัวของผู้เช่าแต่อย่างใด
‼️ ดังนั้น คดีนี้จึงไม่ใช่การที่ศาลกลับหลักว่า สิทธิการเช่าเป็นการเฉพาะตัวของผู้เช่าครับ เพียงแต่ศาลพิจารณาถึงองค์ประกอบอื่นใดคดีด้วย และพิพากษาให้เกิดความยุติธรรมและเป็นไปตามเจตนารมณ์ของคู่สัญญามากที่สุด
*** เหตุของการทำสัญญาเช่า เช่น ทรัพย์ที่เช่ามีราคาสูงมาก ผู้เช่าไม่อยู่ในฐานะที่จะซื้อได้ หรือต้องการใช้ ทรัพย์เพียงชั่วคราว หรือต้องการใช้ทรัพย์เพียงครั้งเดียว หรือเทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงบ่อย หรือต้องการใช้ ทรัพย์ที่ใหม่เสมอ หรือเจ้าของทรัพย์ไม่ต้องการขาย เป็นต้น ***
/// กฎหมายจอมโจร By kuroba ///
🙏 ครั้งหน้าจะเป็นเรื่องอะไร รอติดตามกันนะครับ ^^
ภาพจาก : https://www.dotproperty.co.th/blog/เช่า-บ้าน-คอนโด-คุ้มค่ากว่าการซื้อไหม

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา