2 พ.ค. 2020 เวลา 07:13 • การศึกษา
CHAPTER 6
พระภิกษุมีสิทธิที่จะรับมรดกหรือไม่ ?
ภาพจาก : https://www.prachachat.net/general/news-48175
✅ พระภิกษุ สามารถรับพินัยกรรมได้โดยไม่ต้องสึกจากสมณเพศ
🚫 แต่จะเรียกร้องเอาทรัพย์มรดกในฐานะที่เป็นทายาทโดยธรรม ไม่ได้ เว้นแต่จะได้สึกจากสมณเพศ
📍หมายเหตุ : ต้องสึกก่อน ถึงจะมีสิทธิเรียกร้องเอาทรัพย์มรดกตามลำดับทายาทโดยธรรม ในเวลาที่กำหนด คือ 1 ปี ครับ หลังจากเจ้ามรดกตาย
📚 ตรงนี้ผมขออธิบายเพิ่มเติมกับคำว่า “ทายาท” นะครับ
ซึ่งในทางกฎหมายมี 2 ประเภทด้วยกัน คือ
- ทายาทโดยธรรม (ทายาทที่มีสิทธิตามกฎหมาย)
- ทายาทโดยพินัยกรรม (ทายาทที่มีสิทธิตามพินัยกรรม)
ซึ่งทั้ง 2 ประเภทก็มีความแตกต่างกัน ‼️
/// ทายาทโดยธรรม ///
คือทายาทประเภทญาติ และประเภทคู่สมรส
ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
👨👩👦👦 ทายาทโดยธรรมประเภทญาติ คือ ผู้ที่มีสายสัมพันธ์ทางสายโลหิต
ซึ่งมี 6 ลำดับด้วยกัน คือ
1. ผู้สืบสันดาน
2. บิดามารดา
3. พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน
4. พี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกัน
5. ปู่ ย่า ตา ยาย และ
6. ลุง ป้า น้า อา
/// ทายาทโดยพินัยกรรม ///
ซึ่งสิทธิของผู้รับพินัยกรรมจะเกิดขึ้นได้ต่อเมื่อ ก่อนตายเจ้ามรดกได้ทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินให้ ไม่ว่าจะทั้งหมดหรือแต่บางส่วน เว้นเสียแต่ว่าพินัยกรรมหรือข้อกำหนดในพินัยกรรมนั้นตกเป็นอันไร้ผลตามกฎหมาย
เช่น ผู้รับพินัยกรรมตายก่อนผู้ทำพินัยกรรม เป็นต้น ในกรณีเช่นนี้ต้องปันทรัพย์มรดกตามพินัยกรรมนั้นสู่กองมรดกเพื่อแจกจ่ายให้แก่ทายาทโดยธรรมต่อไป
💥 หมายเหตุ : แต่สำหรับกรณีที่เจ้ามรดกทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินให้พระภิกษุนั้น พระภิกษุไม่จำเป็นต้องสึกจากการเป็นพระเสียก่อนแต่อย่างใด ทั้งนี้สามารถรับมรดกในฐานะทายาท โดยพินัยกรรมได้ทันทีที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย
ภาพจาก : https://www.moj.go.th/view/8036
และ ทรัพย์สินของพระภิกษุที่ได้มาระหว่างบวชพระ จะเป็นอย่างไร ?
📚 ตามบทบัญญัติประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1623
1. ได้บัญญัติว่าทรัพย์สินของพระภิกษุที่ได้มาระหว่างที่อยู่ในสมณะเพศนั้น เมื่อพระภิกษุถึงแก่มรณภาพให้ตกเป็นสมบัติของวัดที่เป็นภูมิลำเนาของพระภิกษุนั้นหรือที่อยู่ในขณะมรณภาพ
2. แต่อย่างไรก็ตาม หากพระภิกษุในขณะมีชีวิตอยู่ได้ทำการจำหน่าย จ่ายโอนทรัพย์สินนั้นไปหรือยกทรัพย์สินให้บุคคลอื่น ทรัพย์สินนั้นก็ไม่ตกแก่วัด อีกทั้งพระภิกษุก็มีสิทธิทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินให้บุคคลอื่นได้ตามบทบัญญัติดังกล่าวข้างต้น
3. นอกจากนี้ทรัพย์สินใดของพระภิกษุได้มาก่อนอุปสมบท ทรัพย์สินนั้นก็ไม่ตกเป็นของวัดแต่อย่างใด หากไม่ได้จำหน่ายจ่ายโอนให้ผู้ใด เมื่อพระภิกษุมรณภาพ ทรัพย์สินนั้นก็ตกเป็นมรดกตกทอดแก่ทายาทโดยธรรมต่อไป ตามบทบัญญัติของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1624
ภาพจาก : https://www.slideshare.net/mobile/Yosiri/ss-57451342
/// กฎหมายจอมโจร by Kuroba ///
ถ้าบทความนี้เป็นประโยชน์แก่สาธารณะ
 
ขอให้ช่วยกดแชร์ กดไลค์ เป็นกำลังใจให้ผู้จัดทำด้วยนะครับ ^^

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา