2 พ.ค. 2020 เวลา 14:28 • การศึกษา
CHAPTER 7
" สิทธิผู้ต้องหา เรื่องจริง...ไม่ได้มีแค่ในหนัง "
ภาพจาก http://bereporter.blogspot.com/2017/05/blog-post_13.html?m=0
1. เมื่อมีการจับกุมตัวผู้ต้องหา ตำรวจต้องแจ้งสิทธิให้ผู้ถูกจับกุม
รับทราบว่า เขามีสิทธิที่จะให้การหรือไม่ให้การก็ได้
และมีสิทธิได้รับทนายความในการต่อสู้คดีหากไม่มีทนายความ
รัฐจะเป็นฝ่ายจัดหาทนายความให้ ซึ่งประโยคเหล่านี้ได้ยินมานานในภาพยนตร์
แต่ประชาชนส่วนใหญ่ยังไม่รู้ว่าตัวเองมีสิทธิดังกล่าว
โดยสามารถร้องขอทนายความได้ตั้งแต่ชั้นสอบสวนในโรงพัก.
2. ขณะเดียวกันตำรวจเองก็ต้องตะหนักถึงสิทธิของผู้ต้องหาเช่นกัน.
หากตำรวจละเลยไม่แจ้งสิทธิตามกฎหมายแก่ผู้ต้องหา
ก็จะมีความผิดเสียเอง !!!
เพราะ สำหรับสิทธิต่างๆเมื่อถูกจับกุม จะระบุไว้ชัดว่า
หากตำรวจไม่แจ้งสิทธิของผู้ต้องหาให้ผู้ต้องหารับทราบ
คำพูดของผู้ต้องหาจะไม่สามารถใช้เป็นหลักฐานพิสูจน์ความผิดได้.
( ประเด็นนี้ถือว่าสำคัญอย่างยิ่งครับ ) !
ภาพจาก : สำนักงานกิจการยุติธรรม
***ซึ่งเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่บัญญัติไว้ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักไทย และตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 7/1 ***
✅ โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจต้องแจ้งสิทธิดังกล่าวถึง 2 ครั้งด้วยกัน คือในชั้นจับกุมตัว และในชั้นสอบสวนของพนักงานสอบสวน
หมายเหตุ : จะต้องแจ้งสิทธิดังกล่าวครบ 2 ครั้ง / จะครั้งใดครั้งหนึ่งไม่ได้
❗️แต่กฎข้อนี้ก็มีข้อยกเว้น ในกรณีที่ผู้ร้ายยิงต่อสู้ครับ
ก็คงไม่ต้องถึงขนาด ตะโกนแจ้งสิทธิให้ผู้ต้องหาทราบก่อนที่จะยิงกันก่อน
⚠️ ถ้าเจ้าพนักงานไม่พูดแจ้งสิทธิ เราก็สามารถไปต่อสู้ในชั้นศาลได้ว่า คำให้การของเราในชั้นพนักงานสอบสวนไม่สามารถรับฟังได้ครับ
*** อ้างอิง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ที่ระบุว่า
ถ้อยคำใดๆ ที่ผู้ต้องหาให้ไว้ต่อพนักงานสอบสวนก่อนมีการแจ้งสิทธิตามวรรคหนึ่ง หรือก่อนที่จะดำเนินการตามมาตรา 134/1 มาตรา 134/2 และ มาตรา 134/3 จะรับฟังเป็นพยานหลักฐานในการพิสูจน์ความผิดของผู้นั้นไม่ได้ ***
/// กฎหมายจอมโจร by Kuroba ///
ถ้าบทความนี้เป็นประโยชน์แก่สาธารณะ
ขอให้ช่วยกดไลค์ กดแชร์ เป็นกำลังใจให้ผู้จัดทำด้วยนะครับ ^^

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา