1 พ.ค. 2020 เวลา 00:45 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
Production Logging Tool (PLT)
ตัวย่อของมันในรายงานต่างๆคือ PLT แต่ถ้าเป็นผลงาน (log) ของเครื่องมือชิ้นนี้ เราเรียกว่า Production Logging Log ในรายงานต่างๆย่อว่า PLL หรือ บางทีบางบ.ก็ย่อว่า PL เอาว่า ก็เดาๆเอาก็จากบริบทของรายงานแล้วกัน
เครื่องมือชิ้นนี้ ไม่ได้วัดคุณสมบัติทางฟิสิกส์ของชั้นหินแบบเครื่องมือก่อนๆที่ผมเอามาเล่าให้ฟังครับ แต่มันวัดคุณสมบัติต่างๆของของไหลที่ผลิตออกมาจากชั้นหิน (reservoir fluid) ณ.จุดที่ของไหลไหลเข้ามาในหลุม
ผมใช้คำว่าของไหล ไม่ใช้คำว่าของเหลว หรือ น้ำมัน หรือ ปิโตรเลียม เพราะว่า ผมจงใจต้องการให้ครอบคลุมไปให้ครบทั้ง น้ำ น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติเหลว และ ก๊าซ
PLT ต่างจากการทดสอบหลุมที่เรียกว่า Well Testing ที่วัดกันที่ปากหลุม หรือ อาจจะวัดกันที่จุดไหลเข้าหลุม โดยแยกทดสอบทีล่ะส่วนๆ (zone) ของหลุม และ ทำได้หนเดียว คือ ตอนที่ทดสอบหลุมตอนเริ่มต้น แต่ถ้าหลุมผลิตไปแล้วก็ไม่สามารถจะทำได้ด้วยวิธีเดิม เพราะองคาพยพ การติดตั้งอุปกรณ์ต่างๆมันเยอะแยะมากมายบานเบอะ
คุณสมบัติต่างๆของของไหลที่ผลิตออกมาจากชั้นหินที่ PLT วัดกันนั้นคืออะไรกันบ้าง ก็เบสิกๆครับ (แต่ประโยชน์มหาศาล) คือ ความดัน ความหนาแน่นของของไหล อุณหภูมิ และ อัตราการไหล
ความดัน กับ อุณหภูมิ นี่ไม่ยาก ทุกคนเข้าใจ ก็ใช้ เกจความดัน (pressure gauge) ธรรมดาๆ ส่วน อุณหภมิก็เบๆ thermo-coupling ที่ใช้กันแพร่หลาย ไม่แต่เฉพาะใน Production Logging Tool
ส่วนความหนาแน่นของของไหลนั้น วัดง่ายๆมาก แค่วัดความดันของของไหลในหลุม 2 จุด บนเครื่องมือที่ห่างกันคงที่ เช่น ห่างกัน 1 ฟุต ดูในรูปข้างล่างตรงที่ลูกศรชี้ไปที่เรียกว่า gradiomanometer จะเห็นจุดวัดความดัน 2 จุดที่ห่างกัน
สูตรเลขและฟิสิกส์พื้นๆเลยครับ ความดัน (p) = ความหนาแน่นของไหล (d) x แรงโน้มถ่วงโลก (g) x ความลึก (h)
รู้ความดัน 2 จุด รู้ระยะหว่างระหว่าง 2 จุดที่วัด แก้สมการเอา d = (p2 – p1)/(g x h)
อ้าว …. ถ้าหลุมมันเอียงๆล่ะ .... อ่านต่อ ... https://nongferndaddy.com/production-logging-tool/

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา