30 เม.ย. 2020 เวลา 00:46 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
วัดความดัน การเคลื่อนตัว และ เก็บตัวอย่างของเหลว (RFT)
ที่ผ่านมาเราได้ทราบวิธีที่จะ “รู้” ว่าในชั้นหินที่เราสนใจพอจะมีไฮโดรคาร์บอนอยู่ไหม และ ถ้ามี พอจะมีเท่าไร โดยการวัดค่าทางธรณีฟิสิกส์ต่างๆมายมายของชั้นหิน แล้วเอาไปคำนวนด้วยสมการหาน้ำมันตัวพ่อ “Archie Law”
แต่จนแล้วจนอีก เอ๊ย จนแล้วจนรอด เราก็ยังไม่รู้แบบชัวร์ๆ จับต้องได้เป็นเนื้อเป็นหนัง และ เรายังไม่รู้ว่าไอ้ที่บอกว่ามีไฮโดรคาร์บอนเท่านั้นเท่านี้น่ะ มันไหลได้หรือเปล่า ถ้าไหลได้แล้ว มันไหลสะดวกดีไหม หรือ ไหลแบบฝืดๆ แบบติดๆขัดเหมือนรถในกทม.ตอนฝนตก
Wireline Logging ตอน RFT
นางเอกรุ่นเก่าของเราคนนี้ช่วยตอบคำถามนี้ได้ครับ นางชื่อ Repeat Formation Tester หรือ Tool (ในวงการเราเรียกสั้นๆเข้าใจตรงกันว่า RFT)
หลักการเครื่องมือชิ้นนี้ง่ายๆมากๆครับ นางจะมีกระป๋องเล็กๆอยู่ในตัวนางสองใบ ใบล่ะ 10 ซีซี หรือ 5 ซีซี (เรียกว่า pretest chamber) แล้วแต่ไซด์ว่าไซด์ปกติ หรือ ไซด์เอส (ที่เรียกว่า SRFT ก็คือ Slim RFT จะให้กระป๋องเล็ก 5 ซีซี)
แล้วนางก็จะมีริมฝีปาก (packer) ที่เอาไว้ประกบแนบสนิทกับชั้นหิน และมี หัวดูด (probe) ยื่นออกมากลางริมฝีปาก จิ้มเข้าไปในชั้นหิน (มโนภาพตาม นางคงน่าเกลียดพิลึก) อารมณ์เหมือนยุงเอาปากแหลมๆจิ้มผ่านหนังกำพร้าหนังแท้ เข้าไปดูดเลือดเรานั่นแหละ
แล้วก็ให้แรงดันในชั้นหินดันของเหลวในชั้นหินให้เข้ามาในกระป๋องที่ว่านั่นแหละ ระหว่างทางก่อนจะลงกระป๋อง ก็จะมีมาตรวัดความดัน (pressure gauge) คอยวัดความดัน
นอกจากนั้น นางยังมีกระป๋องใบใหญ่อีก 2 ใบ (sampling chamber) ใหญ่หน่อย มีหลายขนาด ใบล่ะ ตั้งแต่ 1 ถึง 10 ปกลลอน หรือ อาจจะมากว่านั้น เอาไว้เก็บตัวอย่างของเหลวหิ้วกระแตงๆขึ้นมากับนางได้ด้วย
งงดิว่าหน้าตานางจะเป็นอย่างไร มีริมฝีปาก มีหัวดูด อิอิ

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา