2 พ.ค. 2020 เวลา 00:00 • การศึกษา
Gold Insight : เจาะลึกทองคำ สรุปข้อมูลในไตรมาสที่ 1 ปี 2020 ความต้องการทองคำในภาคการลงทุนเพิ่มขึ้นถึง 80%
สถานการณ์ในปัจจุบันของตลาดทองคำเป็นอย่างไร? ต่อไปจะเกิดอะไรขึ้นอีก? ราคาจะไปทางไหนต่อ? วันนี้ World Maker จะมาวิเคราะห์ให้ฟังครับ
Gold Demand โดยรวมในไตรมาสที่ 1 ของปี 2020 เพิ่มขึ้น 1% จากปี 2019 ไปสู่ระดับ 1,083.8 ตัน ซึ่ง Demand ส่วนใหญ่มาจากภาคการลงทุนเป็นหลัก อ้างอิงจากข้อมูลของสภาทองคำโลก (World Gold Council)
การระบาดของ COVID-19 เป็นเชื้อเพลิงให้แก่ตลาดสินทรัพย์ปลอดภัย (Safe Haven) ซึ่งตรงข้ามกับสัญญาณความเปราะบางที่เกิดขึ้นกับตลาดหุ้น ในสายตาของผู้บริโภค
ก่อนที่เราจะไปวิเคราะห์ตลาดกัน World Maker อยากพาผู้อ่านทุกท่านมาดูข้อมูลดิบที่สำคัญเพื่อให้เห็นภาพรวม และนำไปใช้ประกอบการพิจารณาในเนื้อหาต่อไป ดังนี้ครับ
รายละเอียดเบื้องต้นของข้อมูล Inflow ไตรมาสที่ 1 ปี 2020
(1.) เหล่ากองทุน ETF ถือครองทองคำเพิ่มขึ้น 298 ตัน
(2.) สถิติการถือครองทองคำทั่วโลกของกองทุน ETF ทำระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์อีกครั้งที่ 3,185 ตัน
(3.) โดยรวมแล้วมูลค่าของ Demand ทองคำทั่วโลกในไตรมาสที่ 1 ปี 2020 คิดเป็น 5.5 หมื่นล้านดอลลาร์ ซึ่งสูงที่สุดนับตั้งแต่ไตรมาสที่ 2 ปี 2013
(4.) ราคาทองคำพุ่งทำระดับสูงสุดตลอดกาลเมื่อเทียบกับสกุลเงิน Rupee ของอินเดีย และสกุลเงิน Lira ของตุรกี และประเทศตลาดเกิดใหม่บางส่วน
(5.) Demand ทองคำแท่งลดลง 19% สู่ระดับ 150.4 ตัน
(6.) Demand ทองคำเหรียญเพิ่มขึ้น 36% สู่ระดับ 76.9 ตัน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการซื้อของนักลงทุนรายย่อยทางฝั่งตะวันตก
(7.) โดยรวมแล้ว Demand ของทองคำแท่งและทองคำเหรียญลดลง 6% จากปี 2019 สู่ระดับ 241.6 ตัน
(8.) ทองคำในภาคเครื่องประดับ Demand ลดลง 39% จากปี 2019 สู่ระดับ 325.8 ตัน ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในการบันทึกข้อมูลของสภาทองคำโลก สาเหตุโดยส่วนใหญ่มาจาก Demand ในจีนที่ลดลงถึง 65%
(9.) Demand ทองคำในภาคเทคโนโลยีลดลง 8% จากปี 2019 สู่ระดับ 73.4 ตัน โดยได้รับผลกระทบจากมาตรการ Lockdowns ของประเทศต่าง ๆ
(10.) ธนาคารกลางหลายประเทศยังคงซื้อทองคำเข้าคลังอย่างต่อเนื่องในปริมาณมาก แม้ว่าจะอยู่ในอัตราที่ต่ำกว่าไตรมาส 1 ของปี 2019 โดยมียอดซื้อสุทธิอยู่ที่ 145 ตัน ลดลง 8% จากปี 2019 ซึ่ง Demand ที่หายไปส่วนหนึ่งมาจากการประกาศหยุดซื้อทองคำของธนาคารกลางรัสเซีย
(11.) การผลิตทองคำจากเหมืองแร่ลดลง 3% จากปี 2019 สู่ระดับ 795.8 ตัน ซึ่งเป็นระดับต่ำที่สุดในรอบ 5 ปี
(12.) Total Supply ในไตรมาสที่ 1 ปี 2020 ลดลง 4% โดยคิดรวมทั้งภาคการผลิตและภาคการ Recycling (ทองคำเก่าที่หมุนเวียนในระบบ)
FOCUS จุดสังเกตที่ 1 : จากภาพสรุปด้านบน เราจะเห็นได้ว่า Demand ทองคำโดยรวมนั้นเพิ่มขึ้น 1% แม้ว่า Demand ในภาคเครื่องประดับและเทคโนโลยีจะลดลง แต่ก็ถูกทดแทนด้วยสัดส่วน Demand จากภาคการลงทุนที่เพิ่มขึ้นถึง 80% เมื่อเทียบกับปี 2019 โดยส่วนใหญ่มาจากกองทุน ETF
ส่วนต่อไปจะเป็นข้อมูลเจาะลึกในแต่ละ Sectors ของทองคำ
Jewellery : ภาคเครื่องประดับ
ผลกระทบจาก COVID-19 และราคาทองคำที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในก่อนหน้านี้ ได้ทำให้ Demand ในภาคเครื่องประดับโดยรวมลดลง 39% สู่ระดับ 325.8 ตัน
(1.) มูลค่า Demand สุทธิลดลง 1.66 หมื่นล้านดอลลาร์ สู่ระดับต่ำสุดตั้งแต่ไตรมาส 2 ปี 2010
(2.) ประเทศจีนซึ่งเป็นตลาดเครื่องประดับที่ใหญ่ที่สุด ได้รับผลกระทบอย่างหนักจากมาตรการ Lockdowns ซึ่งทำให้ Demand ลดลงถึง 65% สู่ระดับ 64 ตัน ซึ่งต่ำที่สุดในรอบกว่า 13 ปี
(3.) Demand ในภาคเครื่องประดับของประเทศอินเดียลดลงถึง 41% สู่ระดับ 73.9 ตัน ซึ่งต่ำที่สุดในรอบ 11 ปี โดยได้รับผลกระทบจากมาตรการ Lockdowns เช่นเดียวกับประเทศอื่น ๆ
(4.) ราคาทองคำในประเทศจีนสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยราคาเฉลี่ยของทองคำในตลาด Shanghai Gold Exchange (SGE) ทำระดับสูงสุดตลอดกาลในไตรมาสที่ 1 ของปี 2020 นับตั้งแต่มีการก่อตั้ง SGE ขึ้นมาในปี 2002
(5.) ราคาเฉลี่ยของทองคำในประเทศอินเดียอยู่ที่ระดับ 41,124 RS/10g (รูปีต่อ 10 กรัม) เพิ่มขึ้นถึง 26% จากปี 2019 และราคาได้ขึ้นไปทำระดับสูงสุดตลอดกาลที่ 44,315 RS/10g ในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา
ข้อสังเกต : รูปด้านล่างนี้แสดงให้เห็นถึงราคาทองคำในตลาด MCX Futures ของอินเดีย ซึ่งจะสูงกว่าราคา Gold Spot อยู่เล็กน้อย
(6.) ประเทศตุรกี Demand ลดลง 10% สู่ระดับ 8.6 ตัน ส่วน Demand โดยรวมในตะวันออกกลางลดลง 9% สู่ระดับ 42.9 ตัน โดยเฉพาะในอิหร่านที่ Demand ลดลงถึง 20% สู่ระดับ 7.7 ตัน
(7.) Demand ในภาคเครื่องประดับของสหรัฐฯ ลดลง 3.7% จากปี 2019 สู่ระดับ 23.1 ตัน ซึ่งต่ำที่สุดนับตั้งแต่ไตรมาส 4 ปี 2016
(8.) สำหรับประเทศในทวีปยุโรป Demand โดยเฉลี่ยลดลง 15% สู่ระดับ 10.8 ตัน ซึ่งต่ำที่สุดนับตั้งแต่สภาทองคำโลกได้มีการบันทึกข้อมูลมา โดยอิตาลีลดลงมากที่สุดถึง 22% ตามมาด้วยอังกฤษที่ลดลงประมาณ 20%
(9.) ประเทศในเขต Asia ส่วนใหญ่ Demand ลดลงเป็นตัวเลข 2 หลัก ขณะที่ราคาทองคำเริ่มแสดงถึงความอ่อนแอ (แตกต่างจากจีนและอินเดีย) โดย 2 ประเทศที่ Demand ลดลงมากที่สุดก็คือ ประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งลดลง 55% และประเทศไทย ซึ่งลดลง 45%
(10.) สำหรับประเทศญี่ปุ่น Demand ลดลง 10% จากปี 2019 สู่ระดับ 3.1 ตัน ซึ่งโดยรวมแล้วตลาดญี่ปุ่นอยู่ในสภาวะที่ค่อนข้างลดลงอย่างช้า ๆ
(11.) ภาพด้านล่างแสดงให้เห็นว่า Demand ในภาคเครื่องประดับลดลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 10 ปี ขณะที่ราคาทองคำยังคงพุ่งสูงขึ้น
Investment : ภาคการลงทุน
Inflow จากกองทุน ETF เพิ่มขึ้นในไตรมาสที่ 1 โดย Demand ในทองคำเหรียญเพิ่มขึ้นอย่างมาก สวนทางกับ Demand ทองคำแท่งที่ลดลง โดยการถือครองของกองทุน ETF เพิ่มขึ้นสู่ระดับสูงสุดตลอดกาลที่ 3,185 ตัน
(1.) การลงทุนในสินทรัพย์ประเภท Safe-Haven ทางฝั่งตะวันตกเพิ่มขึ้น จึงส่งผลให้ Demand สำหรับทองคำเหรียญเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 76.9 ตัน
(2.) Demand สำหรับทองคำแท่งขนาดเล็กในตลาดฝั่งเอเชียลดลง โดยได้รับผลกระทบจากการ Shut down
(3.) โดยรวมแล้ว Demand ในภาคการลงทุนเพิ่มขึ้นถึง 80% เมื่อเทียบเป็นปีต่อปี สู่ระดับ 539.6 ตัน
(4.) กองทุน ETF ถือครองทองคำและสินทรัพย์ที่คล้ายกันเพิ่มขึ้น 298 ตัน ในไตรมาสที่ 1 ซึ่งเป็นค่าสูงสุดในรอบ 4 ปี คิดเป็นมูลค่ารวม 2.3 หมื่นล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 10% เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า และเพิ่มขึ้น 6% เมื่อเทียบเป็นปีต่อปี
(5.) การสั่งซื้อทองคำส่วนใหญ่มาจากกองทุน ETF ของประเทศอังกฤษ
(6.) ในสหรัฐฯ ราคาทองคำเพิ่มขึ้น 4.6% เทียบกับ US Dollar
(7.) โดยรวมแล้ว กองทุนในทวีปยุโรปซื้อทองคำเข้าคลังมากที่สุดถึง 150.1 ตัน คิดเป็นมูลค่า 8 พันล้านดอลลาร์
(8.) กองทุนจากอเมริกาเหนือตามมาเป็นอันดับที่ 2 โดยการซื้อทองคำเข้าคลัง 128.5 ตัน คิดเป็นมูลค่า 7 พันล้านดอลลาร์
FOCUS จุดสังเกตที่ 2 : สิ่งที่น่าสนใจกว่านั้นคือ World Gold Council บอกว่า "ราคาทองคำที่ลดลงมาจากการที่กองทุนบางส่วนได้เทขายทองคำเพื่อนำเงินไปชดใช้ความสูญเสียทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น" (เดี๋ยวจะวิเคราะห์เรื่องนี้กันในช่วงท้าย)
(9.) อย่างไรก็ตาม ทองคำยังเป็นสินทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนดีที่สุดอย่างหนึ่งในปี 2020 เมื่อเทียบเป็นรายวัน
(10.) มีการซื้อขายทองคำเป็นมูลค่าทั้งสิน 2.6 แสนล้านดอลลาร์/วัน ในเดือนมีาคมที่ผ่านมา
(11.) แม้กระแส Inflow รายปียังเป็นบวก แต่ในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมา กองทุน ETF ได้ทำการเทขายทองคำจำนวนหนึ่ง ซึ่งทำให้ค่าความผันผวน (VIX) ในตลาดเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก สังเกตได้จากรูปด้านล่างนี้
(12.) กระแส Inflow โดยรวมยังเป็นบวกอยู่ที่ 3.6 พันล้านดอลลาร์ในเดือนมีนาคม ซึ่งทำให้กระแส Inflow โดยรวมอยู่ที่ 1.15 หมื่นล้านดอลลาร์ ณ วันที่ 18 มีนาคม 2020 และเพิ่มขึ้นเป็น 1.84 หมื่นล้านดอลลาร์ จากข้อมูลล่าสุดที่เปิดเผยออกมา
(13.) ปัจจุบันมีนักลงทุน Gold Futures ในตลาด Comex เปิด Long Position เยอะมาก และเรื่องนี้มักจะเกี่ยวข้องกับการเก็งกำไร โดยในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา World Gold Council รายงานว่ามีการเทขายทองคำเป็นสัดส่วนถึง 7% ก่อนราคาจะพุ่งกลับขึ้นมาในเดือนเมษายน
ข้อสังเกต : ตอนนั้นใครอยู่ในตลาดทองคำก็จะเห็นได้ว่าราคาทองคำปรับลดลงจาก 1,700 $/Oz ไปสู่ระดับ 1,400 $/Oz ภายในระยะไม่ถึง 2 อาทิตย์ และหลังจากนั้นก็พุ่งกลับขึ้นมาสู่ระดับ 1,700 $/Oz อีกครั้งภายในเวลาไม่ถึง 1 เดือน
(14.) สำหรับคำถามที่ว่า "ทองคำยังเป็นสินทรัพย์ที่ใช้ป้องกันความเสี่ยงได้อีกหรือไม่?" อยากให้ท่านดูตามภาพด้านล่างนี้ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการแสดงประสิทธิภาพของราคาทองคำในช่วงวิกฤตเมื่อปี 2008
(15.) จะสังเกตเห็นได้ว่าราคานั้นปรับตัวลดลงในช่วงแรกของวิกฤต และหลังจากนั้นปรับตัวขึ้นไปสู่ระดับเดิมในช่วงต้นปี 2009 และยังไม่จบเพียงเท่านั้น โดย World Maker อยากให้ผู้อ่านได้ดูประสิทธิภาพของราคาทองคำในช่วงหลังจากนั้นไปจนถึงช่วงกลางปี 2011
ข้อสังเกต : FED เริ่ม QE ครั้งแรกในเดือนธันวาคมปี 2008
(16.) ตามภาพด้านบน ราคาทองคำปรับตัวลดลงในช่วงปีแรกที่เกิดวิกฤต และหลังจากนั้นอีกเกือบ 3 ปี ราคาพุ่งขึ้นไปจากระดับ 700 $/Oz เป็น 1900 $/Oz ก่อนจะเข้าสู่ภาวะตลาดหมีอีกครั้ง
(17.) ดังที่ข้อมูลในอดีตได้แสดงให้เห็นผลกระทบจากการ Q.E. ไปแล้ว จากนี้ไปก็อยู่ที่การตัดสินใจของผู้อ่านทองคำยังเป็นสินทรัพย์ปลอดภัยอยู่หรือไม่? โดยตารางด้านล่างนี้จะแสดงให้เห็นประสิทธิภาพของราคาทองคำในปัจจุบัน เทียบกับราคาตลาดหุ้นของประเทศต่าง ๆ
(18.) Demand โดยรวมของทองคำแท่งและทองคำเหรียญในภาคการลงทุนลดลง 6% จากปี 2019 โดย Demand ทองคำแท่งลดลง 19% สู่ระดับ 150.4 ตัน ขณะที่ Demand ในทองคำเหรียญเพิ่มขึ้น 36% สู่ระดับ 76.9 ตัน
(19.) Demand ส่วนใหญ่ของทองคำแท่งที่หายไป มาจากตลาดฝั่งเอเชีย ซึ่งได้รับผลกระทบจากมาตรการ Lockdown และราคาซื้อขายในภาคท้องถิ่นที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก
(20.) Demand ส่วนใหญ่ของทองคำเหรียญที่เพิ่มขึ้น มาจากนักลงทุนรายย่อยทางฝั่งตะวันตก ซึ่งเกือบจะชดเชย Demand ทั้งหมดที่หายไปจากทองคำแท่งได้เลยทีเดียว
(21.) สภาทองคำโลกให้ข้อสรุปว่า "ตลาดทองคำยังอยู่ในสภาวะบวกสำหรับไตรมาสแรกของปี 2020"
(22.) ทางฝั่งจีน Demand ทองคำแท่งและทองคำเหรียญลดลงถึง 48% สู่ระดับ 39.3 ตัน ซึ่งเป็นระดับต่ำที่สุดตั้งแต่ไตรมาสแรกของปี 2010 อย่างไรก็ตาม การถือครองทองคำโดยกองทุน ETF ของประเทศจีนเพิ่มขึ้น 4.6 ตัน
(23.) ล่าสุดมีสัญญาณการฟื้นตัวสำหรับ Demand ทองคำในประเทศจีน หลังจากเริ่มผ่อนคลายมาตรการ Lockdowns ภายในประเทศลง
(24.) อินเดียมี Demand ในทองคำแท่งและทองคำเหรียญลดลง 17% สู่ระดับ 28 ตัน ซึ่งเป็นระดับต่ำที่สุดในรอบ 4 ปี ขณะที่ราคาทองคำภายในประเทศปรับตัวลดลงมากที่สุดถึง 70 $/Oz เนื่องจากผลกระทบของมาตรการ Lockdowns
ข้อสังเกต : รูปด้านล่างแสดงให้เห็นถึงการปรับตัวลดของราคาในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมา แต่ระดับราคาเฉลี่ยโดยรวมยังคงสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
(25.) ประเทศไทย มีความอ่อนแอของตลาดเกิดขึ้นมาที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออก โดย Demand ทองคำแท่งและทองคำเหรียญลดลงถึง 73% มาอยู่ที่ระดับ 5.7 ตัน
(26.) ประเทศญี่ปุ่น มีการขายทองคำออกจากคลังมากกว่าการซื้อเข้าติดต่อกันเป็นระยะเวลา 5 ไตรมาสแล้ว โดยล่าสุดกองทุน ETF ของญี่ปุ่นได้ขายทองคำออกไปทั้งสิ้น 6.5 ตัน ในไตรมาสนี้
(27.) ประเทศอิหร่าน การลงทุนในทองคำแท่งและทองคำเหรียญลดลง 21% สู่ระดับ 8.9 ตัน โดยได้รับผลกระทบหลัก ๆ มาจากการระบาดของ Coronavirus
(28.) ประเทศตุรกี นักลงทุนพุ่งเข้าสู่ตลาดทองคำอย่างมาก ซึ่งทำให้ Demand ทองคำแท่งและทองคำเหรียญเพิ่มขึ้นถึง 27% สู่ระดับ 21.2 ตัน โดยตลาดคาดการณ์ว่าราคาทองคำจะยังคงพุ่งสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
(29.) ประเทศสหรัฐฯ อเมริกา การลงทุนในทองคำแท่งและทองคำเหรียญเพิ่มขึ้นกว่า 2 เท่า จากไตรมาสแรกของปี 2019 สู่ระดับ 14.9 ตัน ซึ่งก่อนหน้านั้นในเดือนมกราคม และกุมภาพันธ์ ได้มีการเทขายอย่างหนักเกิดขึ้น ส่วนในเดือนมีนาคมยอดซื้อเข้าเพิ่มขึ้นอย่างมาก
(30.) การขายเหรียญ Eagle และเหรียญ Buffalo ของสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นถึง 130% และยังคงมีแนวโน้มแข็งแรงอย่างต่อเนื่องในไตรมาสที่ 2
(31.) ประเทศในทวีปยุโรป มีระดับการลงทุนจากนักลงทุนรายย่อยเพิ่มขึ้นมากที่สุดนับตั้งแต่ไตรมาสที่ 1 ปี 2017 โดยเพิ่มขึ้น 53% เมื่อเทียบเป็นปีต่อปี สู่ระดับ 65.1 ตัน
(32.) Demand ทองคำแท่งและทองคำเหรียญในประเทศอังกฤษเพิ่มขึ้นสูงสุดตลอดกาล สู่ระดับ 6.6 ตัน โดยสาเหตุส่วนหนึ่งมาจากความจำเป็นที่จะต้องลงทุนเพื่อบริหารความเสี่ยงในเรื่องของการ Brexit
Central Banks and other institutions : ธนาคารกลางและสถาบันอื่น ๆ
โดยรวมแล้วธนาคารกลางต่าง ๆ ยังคงซื้อทองคำเข้าคลังเป็นจำนวนมหาศาล แม้แนวโน้มในปีนี้จะลดลง 8% จากปี 2019 โดยข้อมูลรายไตรมาสที่ 1 ของปี 2020 เปิดเผยว่ามีการซื้อทองคำเป็นจำนวน 145 ตัน
(1.) ธนาคาร 6 แห่งซื้อทองคำอย่างน้อย 1 ตันหรือมากกว่า เทียบกับจำนวน 10 ตันในช่วงเดียวกันของปี 2019
(2.) ธนาคารกลางรัสเซียประกาศว่าหลังจากไตรมาสที่ 1 ของปี 2020 จะหยุดการซื้อทองคำเข้าคลังชั่วคราว หลังจากซื้อไปแล้วกว่า 1,900 ตัน นับตั้งแต่ปี 2005
(3.) ปริมาณทองคำที่ธนาคารกลางต่าง ๆ เข้าซื้อในไตรมาสนี้ยังคงสูงกว่าค่าเฉลี่ยในระยะเวลา 5 ปีที่ระดับ 132.9 ตัน
(4.) ธนาคารกลางตุรกี ซื้อเพิ่ม 72.7 ตัน
(5.) ธนาคารกลางสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ซื้อเพิ่ม 7 ตัน
(6.) ธนาคารกลางอินเดีย ซื้อเพิ่ม 6.8 ตัน
(7.) ธนาคารกลางคาซัคสถาน ซื้อเพิ่ม 2.8 ตัน
(8.) ธนาคารกลางอุซเบกิสถาน ซื้อเพิ่ม 2.2 ตัน
(9.) ข้อมูลจากธนาคารกลางประเทศอื่น ๆ ไม่ได้มีการเปิดเผยให้ทราบถึงรายละเอียด โดยคาดว่าเป็นเรื่องของปัญหาความมั่นคงระหว่างประเทศ
Technology : ภาคเทคโนโลยี
COVID-19 ได้ส่งผลลบแก่ตลาดทองคำในด้านของเทคโนโลยี ซึ่งโดยรวมแล้ว Demand ทองคำลดลง 8% จากปี 2019 สู่ระดับ 73.4 ตัน
(1.) Demand ในภาค Electronics ลดลง 7% จากปี 2019 สู่ระดับ 59 ตัน
(2.) Demand ในเทคโนโลยีอื่น ๆ ลดลง 13% สู่ระดับ 11.2 ตัน
(3.) Demand ทางด้านทันตกรรมลดลง 9% สู่ระดับ 3.2 ตัน
Supply : ภาคอุปสงค์
Total Supply ลดลง 4% สู่ระดับ 1,066 ตัน ในไตรมาสที่ 1 ปี 2020 เนื่องจากการ Lockdowns เหมืองและการขนส่งทองคำหมุนเวียนในระบบ
(1.) การผลิตจากเหมืองลดลง 3% สู่ระดับ 795.8 ตัน ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่ปี 2015 และเป็นการลดลงมากที่สุดนับตั้งแต่ปี 2017
(2.) Coronavirus ดูเหมือนจะส่งผลกระทบต่อ Supply ทองคำตลอดปีนี้
(3.) แม้ราคาจะสูงขึ้น แต่ทองคำหมุนเวียนในระบบกลับลดลง 4% สู่ระดับ 280 ตัน ซึ่งต่ำกว่าค่าเฉลี่ย 5 ปีที่ระดับ 302.4 ตัน
(4.) การผลิตในประเทศจีนลดลง 12%
(5.) การผลิตในประเทศเปรูลดลง 17%
(6.) การผลิตในประเทศอาร์เจนตินาลดลง 13%
(7.) การผลิตในประเทศแอฟริกาใต้ลดลง 11%
Others Update : ข่าวอื่น ๆ ที่น่าสนใจเกี่ยวกับทองคำ
(1.) ก่อนหน้านี้ ราคาทองคำร่วงลงมาอยู่ที่ระดับประมาณ 1675 $/Oz ซึ่งเป็นการปรับตัวลงอย่างต่อเนื่องในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา
(2.) ล่าสุดราคาทองคำพุ่งกลับขึ้นมาเล็กน้อย สู่ระดับประมาณ 1700 $/Oz
(3.) กองทุนในทวีปยุโรป ถือครองทองคำเพิ่มขึ้น 84 ตัน ในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา คิดเป็นมูลค่า 4.4 พันล้านดอลลาร์ และคิดเป็นสัดส่วน 5.8% ของสินทรัพย์ทั้งหมดที่ถือครอง
(4.) กองทุนจากอเมริกาเหนือ ถือครองทองคำเพิ่มขึ้น 57 ตัน ในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา คิดเป็นมูลค่า 3.2 พันล้านดอลลาร์ และคิดเป็นสัดส่วน 3.9% ของสินทรัพย์ทั้งหมดที่ถือครอง
(5.) กองทุนจากทวีปเอเชีย ถือครองทองคำเพิ่มขึ้น 4.9 ตัน ในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา คิดเป็นมูลค่า 309 ล้านดอลลาร์ และคิดเป็นสัดส่วน 6.4% ของสินทรัพย์ทั้งหมดที่ถือครอง
(6.) กองทุนจากภูมิภาคอื่น ๆ ถือครองทองคำเพิ่มขึ้น 4.7 ตัน ในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา คิดเป็นมูลค่า 249 ล้านดอลลาร์ และคิดเป็นสัดส่วน 9.4% ของสินทรัพย์ทั้งหมดที่ถือครอง
(7.) กองทุน SPDR® Gold Shares ซึ่งเป็นกองทุนทองคำที่ใหญ่ที่สุดในโลก ถือครองทองคำเพิ่มขึ้น 32.7 ตัน ในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา คิดเป็นมูลค่า 1.8 พันล้านดอลลาร์ และคิดเป็น 3.8% ของสินทรัพย์ทั้งหมดที่ถือครอง
(8.) กองทุน iShares Gold Trust ถือครองทองคำเพิ่มขึ้น 13.2 ตัน ในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา คิดเป็นมูลค่า 729 ล้านดอลลาร์ และคิดเป็น 3.7% ของสินทรัพย์ทั้งหมดที่ถือครอง
(9.) กองทุน SPDR® Gold MiniShares ถือครองทองคำเพิ่มขึ้น 15% ในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา คิดเป็นมูลค่า 214 ล้านดอลลาร์
(10.) กองทุน Graniteshares Gold Trust ถือครองทองคำเพิ่มขึ้น 9% ในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา คิดเป็นมูลค่า 67 ล้านดอลลาร์
(11.) กองทุน Invesco Physical Gold ถือครองทองคำเพิ่มขึ้น 33 ตัน ในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา คิดเป็นมูลค่า 1.7 พันล้านดอลลาร์ และคิดเป็น 22% ของสินทรัพย์ทั้งหมดที่ถือครอง
(12.) กองทุน iShares Physical ถือครองทองคำเพิ่มขึ้น 29 ตัน ในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา คิดเป็นมูลค่า 1.5 พันล้านดอลลาร์ และคิดเป็น 18% ของสินทรัพย์ทั้งหมดที่ถือครอง
(13.) กองทุน Amundi ถือครองทองคำเพิ่มขึ้น 16 ตัน ในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา คิดเป็นมูลค่า 819 ล้านดอลลาร์ และคิดเป็น 54% ของสินทรัพย์ทั้งหมดที่ถือครอง
(14.) กองทุน Xtrackers Physical Gold ETC (EUR) ถือครองทองคำลดลงจากเดิม 11.6 ตัน ในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา คิดเป็นมูลค่า 581 ล้านดอลลาร์ และคิดเป็น 14.2% ของสินทรัพย์ทั้งหมดที่ถือครอง
(15.) กองทุน WisdomTree Physical Swiss Gold ถือครองทองคำลดลงจากเดิม 7.6 ตัน ในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา คิดเป็นมูลค่า 383 ล้านดอลลาร์ และคิดเป็น 12.2% ของสินทรัพย์ทั้งหมดที่ถือครอง
(16.) กองทุน Bosera Gold ในประเทศจีนถือครองทองคำเพิ่มขึ้น 2.5 ตัน ในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา คิดเป็นมูลค่า 141 ล้านดอลลาร์ และคิดเป็น 20.6% ของสินทรัพย์ทั้งหมดที่ถือครอง
(17.) โดยรวมแล้ว ใน 12 เดือนที่ผ่านมา การถือครองทองคำของกองทุน ETF เพิ่มขึ้น 56%
(18.) กองทุนจากประเทศอังกฤษกำลังเพิ่มสัดส่วนการถือครองทองคำในตลาดโลกขึ้นอย่างมาก โดยปัจจุบันมีสัดส่วนการถือครองทองคำถึง 46% ของทวีปยุโรป และ 21% ของทั่วโลก
(19.) กองทุนขนาดเล็กในสหรัฐฯ เพิ่มการถือครองทองคำอย่างต่อเนื่องรอบใน 22 เดือนที่ผ่านมา ซึ่งเพิ่มขึ้นถึง 263%
(20.) Bloomberg รายงานว่า เวเนซุเอลา กำลังส่งมอบทองคำบางส่วนในคลังให้แก่อิหร่าน (อาจจะประมาณ 9 ตัน) ขณะที่เวเนซุเอลา ถือครองทองคำอยู่ทั้งสิ้นประมาณ 70 ตัน และทรัพย์สินสุทธิยังคงลดลงเรื่อย ๆ
What's Next ? : ราคาทองคำจะไปทางไหนต่อ ?
Analysis By World Maker
(1.) จากข้อมูลทั้งหมดที่ได้นำเสนอไปในข้างต้น ผู้อ่านคงจะเห็นภาพแล้วว่าโดยรวมนั้น Demand ของทองคำยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แม้จะมีการระบาดของ Coronavirus เกิดขึ้นก็ตาม
(2.) อย่างไรก็ตาม World Maker พบสิ่งที่ขัดแย้งกันระหว่าง Demand ในภาคการลงทุน และภาคอุตสาหกรรมอื่น ๆ ดังนั้นแล้ว มันจึงหมายความได้ว่า ราคาทองคำในขณะนี้ อยู่ในภาวะการเก็งกำไรอย่างสูงเช่นกัน
(3.) เมื่อมีการเก็งกำไรทองคำไว้ ทั้ง ๆ ที่ Demand ใน Sectors อื่น ๆ ลดลง นั่นหมายความว่าราคาทองคำในปัจจุบัน อาจจะสูงกว่าความเป็นจริงอยู่บ้าง ไม่มากก็น้อย
(4.) จากข้อมูล Long Position ในตลาด Comex ตามที่ได้กล่าวไปแล้วในข้างต้น ก็คงบอกเราได้ว่าตอนนี้มีคนถือไม้ Buy ค้างไว้เยอะแค่ไหน
(5.) แน่นอนว่าเมื่อเป็นเช่นนี้ ย่อมเกิดความเสี่ยงที่ตลาดจะตอบสนองในระยะสั้น โดยการเคลื่อนที่ไปในทิศทางที่ตรงกันข้ามกับความคาดหวังของคนหมู่มาก (ย้ำอีกครั้งว่าในระยะสั้นเท่านั้น)
(6.) โปรดจงจำเอาไว้ว่า หลายประเทศได้รับความเสียหายอย่างหนักจากการระบาดของ Coronavirus และทองคำเป็นเพียง 1 ในสินทรัพย์ไม่กี่อย่างที่ราคาพุ่งขึ้นมาอย่างมากในช่วงที่เกิดการระบาด
(7.) ดังนั้นมันจึงไม่แปลกอะไรเลย หากทองคำจะโดนเทขายทำกำไรในช่วง 1-3 เดือนต่อไปนี้ เพื่อนำเงินสดมาชดเชยความสูญเสียที่เกิดขึ้น
(8.) อย่าลืมว่าในช่วงก่อนหน้านี้ ทองคำปรับตัวจากระดับ 1,700 $ มาสู่ระดับ 1,400 $/Oz ภายในเวลาไม่ถึง 2 สัปดาห์
(9.) สิ่งที่ Wolrd Maker พยายามจะสื่อก็คือ ราคาทองคำในช่วงที่ตลาดปั่นปวนเช่นนี้ สามารถวิ่งได้มากกว่า +- 250 $/Oz ในช่วงเวลาสั้น ๆ
(10.) สำหรับราคาทองคำในระยะยาว เมื่อดูข้อมูลสรุปจากไตรมาสที่ 1 ของปี2020 และแนวโน้มจากปัจจัยพื้นฐาน (Fundamental) รวมถึงแนวโน้มจากปัจจัยทางเทคนิค (Technical) คงต้องบอกว่า "ไปได้อีกไกล"
(11.) คำแนะนำสำหรับผู้ที่จะลงทุนในทองคำระยะสั้นก็คือ "Port ของท่านสามารถรับความเสี่ยงจากราคาที่อาจจะแกว่งตัวกว่า 250 $/Oz ในช่วงเวลาสั้น ๆ ได้หรือไม่ ?"
ข้อสังเกต : ภาพด้านล่างนี้เป็นการเปรียบเทียบราคาทองคำในตลาด Comex ตั้งแต่วันที่ 28 เม.ย - 1 พ.ค. 2020
สำหรับบทความนี้ World Maker ก็ขอจบลงเพียงเท่านี้ครับ และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าบทความนี้จะสามารถให้ความรู้ รวมถึงเปิดมุมมองของผู้อ่านให้กว้างขึ้นในเรื่องราวของทองคำ เจอกันบทความหน้าครับ ขอบคุณครับ
โปรดอ่าน !! ทิ้งท้ายเพื่อเตือนสติ
(1.) หากไม่ได้เกิดจากการศึกษาอย่างถ่องแท้ด้วยตนเอง หรือไม่เคยมีประสบการณ์จริงในตลาดหุ้น ท่านก็ไม่ควรจะปักใจเชื่อบทวิเคราะห์ใด ๆ ในทันที ถึงแม้ว่ามันจะน่าเชื่อถือแค่ไหนก็ตาม
(2.) หากจะปักใจเชื่อในบทวิเคราะห์ใด ๆ ก็ขอให้ผ่านทุกขั้นตอนนี้ไปก่อน
"อ่าน -> คิด -> พิจารณา -> พิสูจน์ด้วยตนเอง"
(3.) สุดท้ายแล้วไม่มีบทวิเคราะห์ใด จะถูกต้องเสมอ 100% ดังนั้นแล้วท่านจึงควรอ่านบทความนี้ เพื่อใช้ประกอบการพิจารณาและตัดสินใจ มากกว่าการอ่านเพื่อท่องจำ และเชื่อไปตามนั้น โดยไม่เคยคิดจะตั้งข้อสงสัยใด ๆ เลย
การกดไลค์ กดแชร์ กดติดตาม และการติชมในเชิงสร้างสรรค์ของคุณ เป็นกำลังใจให้เราและเหล่าอาชีพนักเขียนทุกคนในการพัฒนาผลงานให้ดียิ่งขึ้นต่อไป ขอเชิญทุกท่านร่วมสร้างสังคมการเรียนรู้ที่ดีด้วยกันกับเรา
World Maker
สามารถติดตาม World Maker ผ่านทาง Facebook ได้แล้ววันนี้ที่

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา