2 พ.ค. 2020 เวลา 04:18 • สุขภาพ
สรุปรวบรวม การบริโภคผักให้ปลอดภัย สารเคมีเลี่ยงได้ถ้ารู้วิธี!!!
เป็นที่ทราบกันว่า สารเคมีที่มาจากการเกษตรเราอาจจะเลี่ยงให้100% ได้ยาก เพราะมันปนเปื้อนอยู่ในแหล่งดิน แหล่งน้ำ ยาวนานหลายปี รวมไปถึงข้าวที่ปลูกที่ประเทศไทย พบว่ามีการปนเปื้อนของโลหะหนัก Arsenic
สารเคมีเหล่านี้ถ้าได้รับน้อยๆ แต่ระยะยาว ก็อาจจะส่งผลถึงในโรคมะเร็งที่ตามมา ในเด็กและคนท้องก็อาจจะมีผลต่อการพัฒนาอวัยวะได้
วันนี้ Health Spices จะมาอธิบายวิธีลด เลี่ยง และ ล้างสารเคมีที่มาจากผักผลไม้ให้ปลอดภัย
สรุปจากEP04 จาก podcast HEALTH SPICES
1. พยายามทานผักให้หลากหลายชนิด Eat the rainbow เพื่อให้มีสารอาหารที่หลากหลายครบ 5 สี
5 สีหลัก phytonutrient ของพืช ทานให้ครบสีแดง สีส้ม สีขาว สีเขียว และสีม่วง
2. พยายามทานหมุนเวียนไม่ซ้ำกันบ่อยๆ
3. ทานธัญพืช ถั่วเมล็ดแห้ง ถั่วเมล็ดอ่อนเพิ่ม (เลือกตัวที่เราไม่แพ้โปรตีนจากถั่วนะคะ)
4. ทานผักพื้นบ้านบ้าง เช่น กระถิน กระเจี๊ยบ ใบขี้เหล็ก ผักหวาน ใบเหลียง ผักแพว ซึ่งมักจะไม่ใช่พืชเศรษฐกิจ
5. พยายามทานผักตามฤดูกาล
🌞ฤดูร้อน (มีนาคม - พฤษภาคม) ผักที่จะขึ้นได้ดีในฤดูนี้จะมีลักษณะที่ทนแล้งหรือชอบน้ำน้อย เช่น ฟักทอง, มะระ, บีทรูท, แตงกวา, คะน้า, ใบเหลียง, ผักหวาน, บวบ
🌈ฤดูฝน (มิถุนายน - กันยายน) ผักที่ขึ้นได้ดีในฤดูนี้จะเป็นผักที่มีน้ำมาก หรือผักที่เจริญเติบโตในน้ำอยู่แล้ว เช่น กระเจี๊ยบ, ผักกูด, ผักโขม, ชะอม, ถั่วฝักยาว, ตำลึง, ฟักเขียว, สายบัว และผักบุ้ง
❄️ฤดูหนาว (ตุลาคม - กุมภาพันธ์) ผักในฤดูนี้มักเป็นผักที่กินใบเป็นส่วนใหญ่ และชอบอากาศหนาว ๆ เช่น กะหล่ำดอก, กะหล่ำปลี, บรอกโคลี, ปวยเล้ง, แครอท, ผักกาดขาว, ผักสลัด, และผักกาดหอม
 
6. ผักที่ปลูกง่ายใช้สารเคมีน้อย หรือ ผักและผลไม้ที่มีเปลือก เช่น ยอดฟักแม้ว อโวคาโด มะเขือม่วง broccoli กล้วย แอปเปิ้ล หัวหอม
7. เลือกซื้อผักที่มีเครื่องหมายรับรองมาตรฐาน เช่น ผักอนามัย รับรองโดยกรมวิชาการเกษตร ผักเกษตรอินทรีย์ โดยสำนักงานเกษตรอินทรีย์
8. ปลูกผักกินเองที่บ้าน วิธีนี้ recommend ค่ะ ประหยัด ปลอดภัย ดีต่อสุขภาพ คลายเครียดด้วยค่ะ
9. ล้างผักเพื่อลดปริมาณสารพิษ โดย
- ล้างโดยปล่อยน้ำไหลผ่าน
ทำความสะอาดผักและผลไม้รอบแรก แช่นาน 10 นาที จากนั้นเปิดน้ำไหลตลอดแล้วทำความสะอาดร่วมด้วยประมาณ 2 นาที
- ล้างโดยใช้ Baking soda (Sodium Bicarbonate)
ใช้ 1/2 ชต. ผสมน้ำอุ่น 20 ลิตร แช่ผัก 15 นาที บางตำราบอกว่า ผสมน้ำ 10 ลิตร หลังจากนั้นล้างน้ำออกหลายๆ ครั้ง ( 2 ครั้งขึ้นไป)
- ล้างโดยน้ำส้มสายชู
น้ำส้มสายชูที่มีความเข้มข้น 5% ผสมกับน้ำ (1:10) แช่ผัก 10-15 นาที ล้างออกด้วยน้ำสะอาด แต่ต้องระวังในผักใบบางเพราะจะมีรสชาติน้ำส้มสายชูติดไปด้วย และไม่ควรใช้ภาชนะพลาสติกค่ะ
- ล้างโดยด่างทับทิม (Potassium Permanganate)
20-30 เกร็ด ผสมน้ำ 4 ลิตร แช่ 10 นาที แล้วล้างออก พยายามใช้ปริมาณที่เหมาะสมนะคะ ต้องระวังสูดไอระเหยเข้าไปอาจจะเกิดอันตรายต่อระบบการหายใจและดวงตาได้ และถ้าใช้มากเกินไปผักจะเหี่ยวหรือเป็นสีน้ำตาล
-การปอกหรือลอกเปลือกแล้วล้าง
วิธีนี้เหมาะคนที่กังวลเรื่อง wax ที่เคลือบนะคะ
- การแช่ในน้ำยาล้างผัก
ตามสัดส่วนที่ผลิตภัณฑ์แนะนำเลยค่ะ
Tips :
1 เห็ดบางชนิดเราไม่ล้างนะคะ (เช่น เห็ดแชมปิญอง champingon) เราจะเช็ดด้วยทิชชูสำหรับทำอาหารชุบน้ำ แล้วลอกเปลือกส่วนบนออกค่ะ) แต่บางชนิดที่ล้างน้ำ แนะนำให้ใช้น้ำดื่มล้างค่ะ รวมไปถึงผักผลไม้ที่มีคุณสมบัติดูดและอุ้มน้ำด้วยนะคะ
2 การซาวข้าว แนะนำให้ใช้น้ำดื่มซาวข้าวค่ะ มีรายงานว่าการล้างด้วยน้ำ 5-6 ครั้ง!!! ต้องซาวถึง 5-6 ครั้ง เน้นๆๆ เพราะจะสามารถสดสาร Arsenic ได้ 35-45% เลย
สำหรับใครไม่อยากพลาด Health Spices Tips ดีๆ
!!! อย่าลืมกดปุ่ม see first นะคะ 🙂
Love,
Health Spices Team.
References :
1. Raab A, Baskaran C, Feldmann J, Meharg AA. Cooking rice in a high water to rice ratio reduces inorganic arsenic content. J Environ Monit. 2009;11(1):41–44. doi:10.1039/b816906c
Web results
ความ(ไม่)รู้เรื่องการล้างผัก - เครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช
เพื่อกำจัดสารเคมีกำจัดแมลงตกค้างในผักสด - กระทรวงสาธารณสุข
4. https://www.organicfarmthailand.com/how-to-grow-seasonal-vegetables/ สืบค้นวันที่ 29 เมษายน 2563
โฆษณา