2 พ.ค. 2020 เวลา 06:20 • ประวัติศาสตร์
โลงศพบนหน้าผา อารยธรรม 4,000 ปี ในมณฑลเสฉวน
ลองคิดเล่น ๆ ว่าถ้าคุณเป็นนักปีนเขา กำลังปีน ๆ อยู่แล้วไปป๊ะกับกล่องไม้ยาว ๆ ยื่นออกมาจากหินผา และไม่ใช่แค่กล่องเดียว รอบตัวคุณตรงนั้นมีอยู่เป็นสิบ ๆ กล่อง ท่ามกลางความเงียบสงัดนั้น คุณเริ่มตระหนักได้ว่า กล่องลักษณะแบบนี้ไม่น่าจะเป็นอย่างอื่นไปได้นอกจาก “โลงศพ” !
AFP
ร่วมเป็นผู้สนับสนุนให้เรามีกำลังผลิตงานต่อไปได้ทาง บัญชีกสิกรไทย
0698966939
บริษัท สโป๊คดาร์ค จำกัด
ธรรมเนียมการนำโลงศพไปขึ้นหิ้งบนหน้าผาสูง 130 เมตร เป็นธรรมเนียมของชาวโป๋ ชนเผ่าที่อาศัยอยู่ทางตอนใต้ของประเทศจีน ปัจจุบันชาวโป๋ได้สูญหายไปอย่างไร้ร่องรอย แต่โลงศพของบรรพบุรุษที่แขวนอยู่ตามหน้าผาสูงยังคงอยู่ ปัจจุบันนับได้ทั้งหมดสองร้อยกว่าโลง
AFP
โลงศพเหล่านี้ถูกขุดจากไม้เนื้อแข็งทั้งต้น หนักราว ๆ200 กิโลกรัม วางอยู่บนไม้สองสามท่อนที่ถูกปักเข้าไปในหน้าผา คล้ายชั้นวางของบนผนังบ้าน ธรรมเนียมการจัดการศพแบบนี้น่าจะมาจากความเชื่อที่ว่าหน้าผาสูงอยู่ใกล้ท้องฟ้า ผู้ที่เสียชีวิตจะได้ขึ้นสวรรค์ง่าย ๆ แถมญาติโยมข้างหลังยังสามารถเห็นกันได้ ยามใดคิดถึงก็มาเยี่ยมที่หน้าผา รู้ว่าอาม่าอากงอาเจ็กอากิ๋มของใครนอนอยู่โลงไหน คงอุ่นใจดีพิลึก
AFP
นักโบราณคดีของจีนทำการบูรณะกลุ่มโลงศพบนหน้าผาเหล่านี้เสร็จสิ้นไป โดยได้นำโลงศพลงมาซ่อมแซม ลงน้ำมันรักษาไม้ สำรวจสิ่งของที่อยู่ในโลง วัดขนาดโครงกระดูกเพื่อการศึกษาวิจัย ใส่ทุกอย่างกลับเข้าไปในโลงแล้วเอากลับขึ้นไปแขวนใหม่
AFP
หลายคนอาจสงสัยว่าคนโบราณเอาโลงศพขึ้นไปแขวนบนหน้าผาได้ยังไง เรื่องนี้ก็เป็นหัวข้อถกเถียงอย่างหนักในหมู่นักโบราณคดีไม่แพ้เรื่องวิธีการสร้างปีระมิดในอียิปต์ ปัจจุบันคำอธิบายที่ได้รับการยอมรับมากที่สุดคือการหย่อนโลงจากข้างบนลงไปที่หน้าผาด้วยเชือก เพราะมีการค้นพบร่องรอยของเชือกและหลักจำนวนหนึ่ง อย่างไรก็ตาม การเอาไม้ไปเสียบในหน้าผาหินเพื่อทำชั้นวางโลงศพทำอย่างไร ตรงนี้ยังไม่มีคำตอบที่แน่ชัด
ร่วมเป็นผู้สนับสนุนให้เรามีกำลังผลิตงานต่อไปได้ทาง บัญชีกสิกรไทย
0698966939
บริษัท สโป๊คดาร์ค จำกัด
โฆษณา