3 พ.ค. 2020 เวลา 02:30 • ประวัติศาสตร์
ทุ่นกู้ภัยนาซี! 'Rescue buoy' สิ่งประดิษฐ์ช่วยชีวิตนักบินทหาร ที่ลอยคว้างกลางทะเลยุคสงครามโลกครั้งที่ 2
เมื่อสาเหตุส่วนใหญ่ของทหารอากาศในสมรภูมิกลางทะเล ไม่ได้รับบาดเจ็บจนตาย แต่เกิดจาก “ภาวะขาดน้ำและหนาวตาย” และสิ่งเดียวที่จะทำให้ทหารเหล่านั้นรอดชีวิตได้คือ ทุ่นกู้ภัย เหล่านี้
WIKIPEDIA PD
ไอเดียการสร้างทุ่นกู้ภัยกลางทะเลเกิดขึ้นโดย พันเอก Ernst Udet แห่งกองทัพอากาศเยอรมัน เขาเสนอให้มีการออกแบบสิ่งที่จะช่วยเหลือทหารอากาศเยอรมันที่จำเป็นต้องสละเครื่องบินกลางอากาศหลังถูกโจมตี หรือถูกบังคับให้จอดกลางทะเลให้สามารถรอความช่วยเหลือในภายหลังได้
ร่วมเป็นผู้สนับสนุนให้เรามีกำลังผลิตงานต่อไปได้ทาง บัญชีกสิกรไทย
0698966939
บริษัท สโป๊คดาร์ค จำกัด
Rescue buoy หรือ Rettungsboje ถูกคิดค้นขึ้นโดยกองทัพอากาศเยอรมันในสงครามโลกครั้งที่ 2 ในสมรภูมิที่รู้จักในชื่อ Battle of Britain บริเวณช่องแคบอังกฤษที่ดุเดือดและยาวนานถึง 4 เดือน
WIKIPEDIA PD
ทุ่นชุดแรกถูกออกแบบมาให้มีลักษณะคล้ายทุ่น มีความสูง 2 เมตร กว้าง 1.5 เมตร ทุ่นกู้ภัยกว่า 50 ทุ่นที่พัฒนาแล้วถูกติดตั้งไว้ตามเส้นทางการบินของเครื่องบินทิ้งระเบิด บริเวณช่องแคบอังกฤษ ไว้คอยช่วยเหลือทหารเยอรมัน
ที่ทำภารกิจมีโอกาสรอดสูงขึ้น
ภายในทุ่นกู้ภัยเพียงพอสำหรับการช่วยเหลือทหาร 4 คนแบบไม่แออัด และจุได้สูงสุดถึง 6 คน มีความกว้างอยู่ที่ 43 ฟุตประกอบด้วยเตียง 2 ชั้น 2 เตียง อุปกรณ์สำหรับดำรงชีพแบบครบครัน ประกอบไปด้วย เสบียงและน้ำดื่ม อุปกรณ์ทำความร้อนภายในทุ่น นอกจากนี้ยังมีข้อมูลระบุว่า มีบรั่นดีและบุหรี่รวมถึงสำรับไพ่ไว้สำหรับคลายเครียดระหว่างรอการช่วยเหลืออีกด้วย
1
WIKIPEDIA PD
การส่งสัญญาณขอความช่วยเหลือจะเกิดขึ้นในเฉพาะกลางคืนเท่านั้น พลุสีแดงและขาวที่สามารถมองเห็นได้ไกลถึง 3,000 ฟุต (ราว 1 กิโลเมตร) จะถูกจุดขึ้นบนทุ่นเพื่อส่งสัญญาณไปยังชายฝั่ง เพื่อรอความช่วยเหลือจากชายฝั่งโดย Flugsicherungboot เรือกู้ภัยที่จะลาดตระเวนตรวจตราในน่านน้ำทุก ๆ วัน จากสมรภูมิ Battle of Britain มีเครื่องบินของฝั่งเยอรมันถูกยิงเสียการควบคุมตกทะเลหลายพันลำ ซึ่งทหารเยอรมันหลายร้อยได้รับความช่วยเหลือจากทุ่นกู้ภัยเหล่านี้
ร่วมเป็นผู้สนับสนุนให้เรามีกำลังผลิตงานต่อไปได้ทาง บัญชีกสิกรไทย
0698966939
บริษัท สโป๊คดาร์ค จำกัด
มีข้อมูลระบุว่าฝั่งอังกฤษได้ลากทุ่น 2 ลูกของทหารเยอรมันไปเพื่อศึกษาและพัฒนาของตัวเองขึ้นในภายหลัง โดยนำไปติดตั้งในเส้นทางหลักของเครื่องบินทิ้งระเบิดในช่วงท้ายของสงครามโลกครั้งที่ 2 ด้วย
โฆษณา