3 พ.ค. 2020 เวลา 13:54 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
อะตอมนักพยากรณ์?? 😉
เมื่อเราสามารถทำการสังเกตอะตอมเพื่อการพยากรณ์อากาศได้ 🧐
Beryllium-7 อะตอมที่เราสามารถใช้ทำนายสภาพอากาศได้ ว่าแต่มันทำได้ยังไงหนอ?
ด้วยการวัดปริมาณอะตอมของธาตุ Beryllium-7 ในอากาศในพื้นที่อยู่คนละมุมโลก แต่มันทำให้สามารถรู้ได้เลยว่าฤดูฝนที่อินเดียจะเริ่มวันไหน
แต่ไม่ได้เกี่ยวอะไรกับอะตอมข้างล่างนี้เลยนะครับ แปะไว้เล่น ๆ สังเกตไปก็ใช้ทำนายอะไรไม่ได้ ไว้ฟังเพลิน ๆ พอได้ 😁
ด้วยสถานีตรวจจับปริมาณธาตุกัมมันตรังสีในบรรยากาศที่กระจายตัวอยู่ทั่วโลกซึ่งอ่านค่าของเบริลเลียม-7 (Beryllium-7 )ไอโซโทปหนึ่งของเบริลเลียม ที่เกิดจากการแตกตัวของธาตุไนโตรเจนและออกซิเจนในบรรยากาศ
ทั้ง 3 เมืองอยู่ห่างกัน 5,000 ไมล์เท่ากันเลย มันต้องไม่ใช่เรื่องบังเอิญแน่ ๆ
เมื่อไหร่ก็ตามที่ค่าปริมาณเบริลเลียม-7 ในอากาศที่วัดได้ที่เมือง Dubma ประเทศรัสเซียกับ Melourne ที่ออสเตรเลียอ่านค่าได้เท่ากัน ให้นับไปอีก 52 วันจะเป็นวันเริ่มต้นฤดูฝนของเมือง Karala ในประเทศอินเดีย
ซึ่งการพยากรณ์นี้ให้ผลที่เรียกได้ว่าแม่นเป๊ะ แต่เพราะอะไร Beryllium-7 มีอิทธิพลต่อสภาพภูมิอากาศที่อินเดียอย่างนั้นหรือ?
ความจริงแล้วเจ้า Beryllium-7 ไม่ได้ส่งผลอะไรต่อสภาพอากาศเลย แต่ถ้าหากเราเข้าใจความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นเราก็จะเข้าใจถึงวิธีการพยากรณ์อากาศจากการสังเกตปริมาณ Beryllium-7 ในอากาศ
เหมือนกับความเข้าใจที่ว่าน้ำขึ้น-น้ำลงที่เกิดจากแรงโน้มถ่วงของดวงจันทร์ หรือพิษจากปรอทส่งร้ายต่อสุขภาพเราได้อย่างไร
สำหรับการพยากรณ์วันเริ่มฤดูฝนโดย Beryllium-7 นั้นเราต้องรู้จักคำว่า Hedley Cell กันก่อน
“Hadley cell” คือกระแสอากาศหมุนวนระหว่างพื้นโลกกับบรรยากาศระดับสูงในพื้นที่ตั้งแต่เส้นศูนย์สูตรไปจนถึงละติจูดที่ 30 องศาเหนือและใต้
ถัดจากละติจูด 30 องศาไปถึง 60 องศาจะเรียกว่า Ferral Cell และ 60 องศาไปถึงขั้วโลกเรียกว่า Polar Cell
Hadley cell มีท้งซีกโลกหนือและซีกโลกใต้
ซึ่งเจ้ากระแสอากาศหมุนวนนี้แหละเป็นตัวนำพา Beryllium-7 หมุนวนไปในบรรยากาศ
แล้วเจ้า Beryllium-7 นั้นมาจากไหน?
Beryllium-7 นี้เกิดจากการแตกตัวของอะตอมออกซิเจนหรือไนโตรเจนจากการพุ่งชนด้วยรังสีอวกาศพลังงานสูงในบรรยากาศชั้นบนสูงขึ้นไป 15 กิโลเมตรจากพื้นโลก
และเจ้า Beryllium-7 นี้ก็จะถูกพัดพาลงมายังพื้นด้วยกระแสอากาศหมุนวนใน Hedlay Cell
ซึ่งเจ้า Hedlay Cell นี้ไม่ได้อยู่ระหว่างเส้น ละติจูด 30 องศาเหนือและใต้เป๊ะ ๆ เสมอไป โดยในช่วยฤดูร้อนของซีกโลกเหนือก็จะขยับสูงขึ้นไปทางชั้วโลกเหนือ
ทำให้ปริมาณ Beryllium-7 ที่ตรวจวัดได้ ณ เมือง Dubna มากกว่าที่ Melbourne
กลับกันในช่วงฤดูร้อนของซีกโลกใต้ เราก็จะตรวจวัดค่า Beryllium-7 ในอากาศที่เมือง Melbourne ได้มากกว่าที่ Dubna
แต่ช่วงต้นของเดือนเมษายนของทุกปีเจ้า Hedlay จะอยู่กลางระหว่างเส้นศูนย์สูตรพอดี
โดยวันนี้ค่า eryllium-7 ในอากาศที่ตรวจวัดได้ ณ เมือง Dubna จะเท่ากับที่ Melbourne
ซึ่งตอนนี้แหละแม่หมอสามารถทำนายได้ทันทีว่า อีก 52 วันจะเริ่มฤดูฝนในพื้นที่บริเวณเส้นศูนย์สูตรนั่นเอง
ทำให้ชาวนาและเกษตรสามารถเตรียมแผนการเพาะปลูกได้อย่างเหมาะสมเพื่อให้ได้ผลผลิตสูงสุด
การพยากรณ์นี้ไม่ได้มาจากการหยั่งรู้ด้วยพลังวิเศษเหนือธรรมชาติแต่อย่างใด แต่เป็นความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และข้อมูลจากสถานีตรวจวัดต่างหากที่อยู่เบื้องหลังคำทำนายนี้
โดยข้อมูลการตรวจวัดธาตุไอโซโทปกัมมันตรังสีนี้ดำเนินการโดยองค์กรที่ชื่อว่า CTBTO ที่คอยจับตามดูการทดลองอาวุธนิวเคลียร์โดยมีสถานีตรวจวัดกระจายอยู่ทั่วโลก
โดย CTBTO นี้ดำเนินงานภายใต้ความร่วมมือจาก 180 ประเทศทั่วโลก ไม่เพียงเพื่อตรวจจับการทดลองอาวุธนิวเคลียร์แต่ยังรวบรวมข้อมูลตรวจวัดปริมาณธาตุไอโซโทปกัมมันตรังสีในธรรมชาติสำหรับการวิจัยด้วย
ไม่น่าเชื่อนะครับ นั่งวัดปริมาณอะตอมธาตุตัวหนึ่งในอากาศเราก็สามารถเป็นแม่หมอพยากรณ์อากาศสุดแม่นได้แล้ว 😉
เมื่อวานได้ดู Live คุณสุทธิชัยคุยกับคุณอาจวรงค์ เรื่องคลิป UFO ที่กองทัพสหรัฐฯ เผยแพร่ ชอบที่คุณอาจวรงค์พูดตอนหนึ่งว่า เมื่อเราเจอกับเหตุการณ์แแปลกประหลาดอธิบายไม่ได้ มันก็อยู่ที่ว่าเราจะมองและหาคำอธิบายมันอย่างไร
หลากหลายเหตุการณ์สุดพิลึก ลึกลับ พิศดารในอดีตมาวันนี้เรารู้กลไกขั้นตอนการเกิดได้อย่างปรุโปร่งจนไม่เหลือความน่าพิศวง เหล่าปรากฏการณ์ที่ดูน่าพิศวงมากมายในธรรมชาติมันคงมีคำอธิบายซ่อนอยู่รอให้เราค้นพบมันเท่านั้นเอง 😔
Cr: MinuteEarth Youtube Channel

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา