7 พ.ค. 2020 เวลา 02:50 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
เจ้าเต่ามีผม!!
โอ๊ย เต่าอะไรเนี่ย ไม่เคยพบไม่เคยเห็น!!
"เต่าแม่น้ำแมรี่" ตัวนี้ อาศัยอยู่ที่แม่น้ำแมรี่ ทางตะวันออกเฉียงใต้ของรัฐควีนส์แลนด์ ประเทศออสเตรเลีย
แม้จะเป็นเต่าน้ำสายพันธ์ุที่ใหญ่ที่สุดในออสเตรเลีย แต่พวกมันเพิ่งจะได้รับการจำแนกแยกสายพันธุ์เมื่อราว 30 ปี ที่แล้วมานี้เอง
https://australianmuseum.net.au/learn/animals/reptiles/mary-river-turtle/
เต่าแม่น้ำแมรี่รอดพ้นจากการถูกสำรวจไปได้ เพราะมันมีระบบทางเดินหายใจชนิดพิเศษ คือการหายใจทางทวารรวม (Cloaca) ซึ่งเป็นช่องเปิดที่ใช้งานทั้งในการขับถ่ายและผสมพันธุ์ โดยจะมีอวัยวะใช้หายใจคล้ายเหงือกปลาอยู่ภายในช่องเปิดนี้ ทำให้มันสามารถซ่อนตัวอยู่ใต้น้ำได้นานถึงครั้งละ 3 วัน!
https://imgur.com/a/DaObs
https://commons.wikimedia.org/wiki/File:Turtle_Cloacal_Respiration.png
หนึ่งในเอกลักษณ์ของเต่าแม่น้ำแมรี่ที่ใครเห็นเป็นต้องจำได้ นั่นคือ อะไรบางอย่างที่ดูคล้ายกับ "ผมและหนวดสีเขียว" ของมัน ซึ่งความจริงก็คือสาหร่ายและพืชน้ำที่เจริญเติบโตบนกระดองและร่างกาย
เต่าแม่น้ำแมรี่ มีเพียงหนึ่งเดียว สปีชี่เดียวในจีนัสของมัน (Elusor macrurus) แสดงให้เห็นว่า มันเป็นสายพันธุ์เก่าแก่ที่สูญหายไปจากระบบวิวัฒนาการของสัตว์จำพวก "เต่า" ของประเทศออสเตรเลีย โดยเชื่อว่าบรรพบุรุษของมัน แยกสายออกมาจากสัตว์สปีชี่อื่นเมื่อ 40 ล้านปีที่แล้ว (ซึ่งหากจะเทียบกับมนุษย์ล่ะก็ บรรพบุรุษของเราแยกสายออกมาจากชิมแปนซีและลิงโบโนโบ เมื่อราว 10 ล้านปีที่แล้วนี่เอง)
ในช่วงทศวรรษที่ 1960 และ 1970 มีการจับลูกเต่าแม่น้ำแมรี่ออกขายตามร้านขายสัตว์แปลกทั่วรัฐวิคตอเรีย โดยรู้จักกันในชื่อ “penny turtle” หรือ “pet shop turtle”
https://www.aqua.org/blog/2016/December/Mary-River-Turtle-Hatchlings
ในเวลาเดียวกันนั้นเอง นายจอห์น แคนน์ นักวิจัยที่สนใจเรื่องเกี่ยวกับเต่าจากซิดนีย์ ครอบครัวของเขาเปิดการแสดงโชว์เล่นกับงูและกิ้งก่า บริเวณสวนสาธาณะและตลาดมานานกว่า 50 ปี ก็เห็นลูกเต่าเหล่านั้นเข้า
"The Last Snake Man The remarkable true-life story of an Aussie legend and a century of snake shows" - (https://www.allenandunwin.com/browse/books/other-books/The-Last-Snake-Man-John-Cann-with-Jimmy-Thomson-9781760630515)
จอห์นใช้เวลานานกว่า 20 ปี ในการสืบเสาะหาแหล่งที่มาของเต่าประหลาดในร้านขายสัตว์แปลก จนในที่สุดก็พบว่า ต้นกำเนิดของเต่ามีผมสีเขียวพวกนั้นมาจากแม่น้ำแมรี่นี่เอง
"จอห์นและเต่าแม่น้ำแมรี่" - (https://citizensciencepartnerships.com/citizen-scientists/john-cann/)
แน่นอนว่าเต่าแปลกแบบนี้ย่อมเป็นที่สนอกสนใจของคนเรา ทำให้ในเวลานี้ เต่าแม่น้ำแมรี่ถูกขึ้นทะเบียนเป็นสปีชี่ที่่ใกล้สูญพันธุ์ไปเรียบร้อย
สืบเนื่องมาจากการลักลอบค้าไข่เต่าเมื่อปลายศตวรรษที่ 20 ทำให้ประชากรเต่าชนิดนี้ลดลงไปมาก และด้วยวิถีชีวิตของพวกมัน ที่จะยังไม่สืบพันธุ์และวางไข่จนกว่าจะมีอายุได้ 25 ปี
ไหนจะไข่ที่ถูกมนุษย์ลักขโมย ไข่ที่ฝ่อหรือถูกศัตรูทางธรรมชาติจับกิน และลูกเต่าที่กว่าจะใช้เวลาโตถึง 25 ปีอีก! ทำให้อัตราการเกิดและตายไม่สมดุลกัน
ปัจจุบัน เต่าแม่น้ำแมรี่เป็นสปีชี่ที่สองในออสเตรเลียที่ใกล้สูญพันธุ์ (รองจากเต่าทองตะวันตก - western swamp turtle หรือชื่อวิทยาศาสตร์ Pseudemydura umbrina)
"เต่าทองตะวันตก" - (https://perthzoo.wa.gov.au/animal/western-swamp-tortoise)
และยังเป็นอันดับที่ 30 ของกลุ่ม "สัตว์เลื้อยคลานที่เสี่ยงใกล้จะสูญพันธุ์" ในบัญชีรายชื่อสัตว์เลื้อยคลานที่มีเอกลักษณ์ทางวิวัฒนาการและเสี่ยงสูญพันธุ์ของโลก (EDGE) ซึ่งจัดทำโดยสมาคมสัตววิทยากรุงลอนดอน (ZSL)
https://math.scholastic.com/issues/2018-19/090318/turtles-in-trouble.html
ส่วนสัตว์เลื้อยคลานที่ใกล้สูญพันธุ์มากที่สุดเป็นอันดับแรกในบัญชีนี้ คือ เต่าหัวใหญ่มาดากัสการ์ (Madagascar big-headed turtle)
"เต่าหัวใหญ่มาดากัสการ์" - (https://www.freshmarine.com/madagascar-big-head-turtle.html)
ส่วนหนึ่งของบทความจาก: https://www.bbc.com/thai/international-43749476

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา