9 พ.ค. 2020 เวลา 02:30 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
Hagfish: ปลาพิศวงกับเมือกเอเลี่ยน
สำหรับคอหนังสัตว์ประหลาดและเอเลี่ยน คงปฏิเสธไม่ได้ว่า ภาพยนต์พวกนั้นจะไม่สมบูรณ์เด็ดขาดหากไร้เมือกเหลวๆ และน้ำลายยืดย้วยจากปากอันเต็มไปด้วยฟันแหลมคม
แต่ภาพด้านบนมิได้มาจากหนังสัตว์ประหลาดแต่อย่างใด มันคือเรื่องจริงที่เกิดขึ้นเมื่อปี 2017 ที่โอเรกอน สหรัฐอเมริกา เมื่อรถบรรทุกปลาแฮ็กฟิชเสียหลักพลิกคว่ำ เทกระจาดสิ่งมีชีวิตที่คล้ายปลาไหลกับเมือกมหาศาลของมัน ลงบนท้องถนนและรถยนต์โชคร้าย 5 คัน ที่ขับผ่านมาแบบไม่รู้อิโหน่อิเหน่
"Alien: Covenant" - (https://www.thewrap.com/alien-covenant-teaser-trailer-christmas-day-ridley-scott-prometheus/)
แฮ็กฟิช (Hagfish) หรือ ปลาไหลเมือก (Slime eel) มีรูปร่างคล้ายปลาไหล แต่พวกมันไม่ใช่ปลาไหล เนื่องจากไม่มีขากรรไกร ไม่มีกระดูกสันหลัง ลักษณะลำตัวยาว มีต่อมเมือกจำนวนมากกระจายอยู่ทั่วผิวหนัง
Mark Conlin / Alamy - https://www.smithsonianmag.com/science-nature/14-fun-facts-about-hagfish-77165589/
https://slideplayer.com/slide/9795688/
พวกมันถือเป็นหนึ่งในปลาตระกูล "นักเก็บกวาด" แห่งท้องทะเล เพราะอาหารของมันคือซากปลาที่ตายแล้ว หรือใกล้ตาย รวมทั้งสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังที่มีลำตัวอ่อนนุ่ม เช่น หนอนปล้อง มอลลัสคา (พวกหมึก) และครัสเตเชียน (กุ้งกั้งปู)
https://toughlittlebirds.com/2015/12/02/hidden-worlds-whale-falls/
เมือกของแฮ็กฟิชที่หลั่งออกมา เมื่อสัมผัสกับน้ำทะเลจะขยายใหญ่ขึ้นหลายเท่าตัวภายในเวลาไม่กี่วินาที พวกมันจึงใช้เมือกในการป้องกันตัวจากปลานักล่า เช่น ฉลาม โดยมันจะหลั่งสารคัดหลั่งสีนมเหนียวหนืดใส่เหงือกของนักล่า ทำให้เกิดการอุดตันและไม่สามารถหายใจได้
https://underdonecomics.tumblr.com/post/166534837401/the-third-wednesday-in-october-is-hagfish-day
นอกจากนั้น แฮ็กฟิชยังใช้เมือกในการบอกอาณาเขต เช่น เวลาที่มันกำลังกินซากปลาวาฬ (ซึ่งเป็นอาหารที่มันชอบมาก) มันจะหลั่งเมือกออกมาปริมาณมากรอบๆตัวเหยื่อ เพื่อมิให้ปลาชนิดอื่นมาแย่งกิน
https://www.npr.org/2019/09/13/760664122/what-happens-after-a-whale-dies
แม้ว่าสารคัดหลั่งเหนียวหนืดดูน่าขยะแขยงเพียงใด แต่หลายประเทศในเอเชียกลับเอาไปทำเป็นอาหารอันแสนโอชะจนได้ โดยเฉพาะประเทศเกาหลีใต้
https://www.popsci.com/hagfish-slime-expands/
หลังจากได้ปลาแฮ็กฟิชมาแล้ว บริษัทขนส่งจะนำปลาเหล่านี้ใส่ตู้คอนเทนเนอร์ ซึ่งทำให้ปลาอยู่ในภาวะเครียดจนผลิตเมือกออกมาเป็นจำนวนมาก พ่อครัวจะใช้เมือกเหล่านี้ไปปรุงอาหารแทนไข่ขาว (ส่วนเนื้อปลาความจริงแล้วมีลักษณะเหนียว ปรุงอาหารไม่อร่อยเท่าเมือกของมัน แต่คนเกาหลีก็ยังชอบกิน ไม่เชื่อดูคลิป: )
นั่นจึงเป็นที่มาของรถบรรทุกเจ้าปัญหาคันนี้ วันที่ 13 กรกฎาคม ปี 2017 นายซัลวาตอร์ ที. ทราเกเล ขับรถบรรทุกตู้คอนเทนเนอร์ 13 ตู้ ซึ่งบรรจุปลาแฮ็กฟิชจำนวน 7,500 ปอนด์ หรือราวๆ 3.4 ตัน มาตามถนนทางหลวง 101 เตรียมพร้อมจะส่งออกไปยังประเทศเกาหลี
แต่ด้วยน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นจากเมือกที่ถูกผลิตออกมาตลอดเวลา ทำให้คอนเทนเนอร์เลื่อนหลุดจากท้ายรถบรรทุก พุ่งไปกระแทกโดนรถยนต์ที่ขับผ่านมา 5 คัน จนได้รับความเสียหาย เคราะห์ดีที่ไม่มีผู้ใดได้รับบาดเจ็บร้ายแรง แต่เคราะห์ร้ายก็คือตู้คอนเทนเนอร์เกิดแตก เหล่าปลาแฮ็กฟิชจึงออกมาสู่อิสรภาพ ดิ้นกระแด่วๆ พร้อมกับเมือกขาวขุ่นราวกับน้ำลายเอเลี่ยนปริมาณมหาศาล
ทวีตวีดีโอเหตุการณ์ในวันนั้น:
แม้เช้าวันนั้นจะเป็นวันน่าสะพรึงของคนบนถนนทางหลวง 101 และเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบเก็บกวาดทำความสะอาด แต่ยังมีนักวิทยาศาสตร์ชาวแคนาเดียนสองคน จากมหาวิทยาลัยกวัฟล์ ประเทศแคนาดา สามารถนำเมือกของปลาแฮ็กฟิชไปทำให้แห้ง ผ่านกระบวนการทางวิทยาศาสตร์จนกลายเป็นเส้นใยที่มีความเหนียว และยืดหยุ่น
https://www.bbc.com/news/magazine-21954779
ในอนาคต พวกเขาหวังว่าจะสามารถต่อยอดเส้นใยจากเมือกปลาแฮ็กฟิช นำไปผลิตเป็นวัสดุต่างๆ เช่น นำไปแทนที่เส้นใยเคฟล่าในอุตสาหกรรมการผลิตเสื้อเกราะกันกระสุน นำไปแทนเส้นใยสแปนเด็กซ์ (Spandex) และไนล่อน (Nylon) เพื่อใช้ผลิตในอุตสาหกรรมเสื้อผ้าและสิ่งทอ เป็นต้น
https://www.bbc.com/news/magazine-21954779
เมือกของแฮ็กฟิช:
ส่วนหนึ่งของบทความจาก: https://hilight.kapook.com/view/156665

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา