4 พ.ค. 2020 เวลา 06:00 • ธุรกิจ
ลงทุนหุ้นอย่างสบายใจ by พ่อบ้านลงทุน EP.2 : หุ้นที่ดีต้องมีภูมิคุ้มกัน
ใน EP.1 เราพูดถึงการเลือกหุ้นเบื้องต้น โดยวิธีมองหาจากสินค้าและบริการที่เราใช้ในชีวิตประจำวัน รวมถึงกิจการในหุ้นนั้นต้องมีโอกาสเติบโตในอนาคต เมื่อคัดกรองหุ้นเบื้องต้นมาแล้ว ใน EP.2 เราจะพูดถึงภูมิคุ้มกันของหุ้นต่อวิกฤตกัน
ก่อนที่จะไปวิเคราะห์เชิงลึกถึง รายได้ กำไร และโอกาสเติบโตของกิจการ เราต้องเช็คภูมิคุ้มกันของหุ้นที่สนใจก่อนครับ เพราะเราคงไม่อยากได้หุ้นที่แม้จะเติบโตดี แต่พอเจอวิกฤตก็ไม่สามารถรับมือได้จนปิดกิจการไปตรงนั้นใช่ไหมครับ
Photo by James Pond on Unsplash
แล้วภูมิคุ้มกันของหุ้นนั้นวัดจากอะไร
ส่วนตัวผมเองใช้ค่า D/E Ratio หรือ //อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้น// ครับซึ่งค่านี้จะช่วยวัดได้ประมาณหนึ่งว่าปริมาณหนี้ที่หุ้นนั้นมี มันมากเกินไปจนเสี่ยงที่จะชำระไม่ไหวหรือเปล่า ก่อนจะเข้าสู่วิธีคำนวนผมขอฝากช่องทางการหาข้อมูลหุ้นไว้เผื่อใช้ในตอนต่อไปด้วยครับ
Set.or.th => Get Quote => หุ้นที่สนใจ => งบการเงิน
Settrade.com => Get Quote => หุ้นที่สนใจ => Fact Sheet
กลับมาสู่เนื้อหา D/E Ratio คือการคำนวนโดยเอาหนี้สินรวมตั้ง หารด้วยส่วนของผู้ถือหุ้นรวม เมื่อหารมาแล้วควรมีตัวเลขไม่เกิน 1 หรืออย่างแย่คือไม่เกิน 1.5
Set.or.th
ยกตัวอย่างเช่น หนี้สินรวม 100 ÷ ส่วนของผู้ถือหุ้น 200 จะได้เท่ากับ 0.5 (แปลว่ามีหนี้เป็น 0.5 เท่าของผู้ถือหุ้น) อันนี้ถือว่ามีภูมิคุ้มกันสูงเพราะหนี้น้อยครับ
แต่ถ้า หนี้สินรวม 350 ÷ ส่วนของผู้ถือหุ้น 100 จะได้เท่ากับ 3.5 (แปลว่ามีหนี้เป็น 3.5 เท่าของผู้ถือหุ้น) อันนี้ถือว่าแย่หน่อย ถ้าถูกเรียกชำระหนี้ทั้งหมดในคราวเดียวมีสิทธิ์ชำระหนี้ไม่ไหวครับ
เพราะฉนั้นการคัดกรองหุ้นที่มีภูมิคุ้มกันดี ก็จะสามารถเช็คเบื้องต้นได้จากอัตราส่วน D/E Ratio นั่นเอง
Fact Sheet
แต่ก็มีข้อยกเว้นในบางกรณีเช่น หุ้นธนาคาร หุ้นประกันภัย ที่ธรรมชาติของกิจการจะต้องกู้เงินและปล่อยกู้เป็นอาชีพ ตัวเลขหนี้ของหุ้นพวกนี้อาจจะสูงแต่ไม่ได้แปลว่าภูมิคุ้มกันไม่ได้ครับ ซึ่งถ้าสนใจลงทุนหุ้นเหล่านี้ ผมแนะนำว่าควรศึกษาเพิ่มเติมดีกว่าครับ
ใน 2 ตอนที่ผ่านมาเราได้เรียนรู้การคัดกรองหุ้นเบื้องต้น รวมถึงวิธีเช็คภูมิคุ้มกันของหุ้นว่าสามารถทนต่อวิกฤตได้มากน้อยเพียงไร EP. หน้าเราจะมาวิเคราะห์เชิงลึกในส่วนของรายได้และกำไรกันครับ ฝากติดตามกันด้วยนะครับ
ปล.หุ้นที่ปรากฏในบทความไม่ได้เป็นการชี้นำใดๆ ทั้งสิ้น
#พ่อบ้านลงทุน

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา