4 พ.ค. 2020 เวลา 12:11
เมื่อล้นเกล้ารัชกาลที่ 5 ทรงถูกไล่ลงจากรถรางเพราะไม่มีเงินจ่าย เรื่องเล่าบนรถรางที่อยู่นอกประวัติศาสตร์
เรื่องเล่าที่แฝงด้วยคำสอนให้ทุกคนจงทำตามหน้าที่ของตนให้ดี
ภาพเก่าสมัยยุคเริ่มกิจการรถไฟในประเทศ
เรื่องเล่าขำขันนอกประวัติศาสตร์นี้ เกิดเมื่อครั้งพระองค์ทรงถูกพนักงานไล่ลงจากรถราง ครั้งนั้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระองค์ทรงเสด็จประพาสแบบสามัญชนและไม่มีผู้ติดตาม
ด้วยความที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงพระประสงค์จะดูแลทุกข์สุขของไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินของพระองค์อยู่เสมอ จึงโปรดที่จะเสด็จประพาสปะปนไปกับสามัญชนธรรมดาโดยปราศจากผู้ติดตาม เพื่อให้เข้าถึงและรับรู้ทุกข์สุขของไพร่ฟ้ามากที่สุด
การประพาสต้นทางน้ำ
สมัยนั้นเริ่มมีการใช้รถรางเกิดขึ้นครั้งแรก เมื่อวันที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2431 โดยรถรางมีลักษณะคล้ายรถไฟแต่จะมีขนาดสั้นกว่าและมีน้ำหนักเบากว่ามาก โดยเปิดสายบางคอแหลมเป็นสายแรก เริ่มแรกใช้กำลังม้าลากรถไปตามราง จึงทำให้ใช้เวลาการเดินทางมากและไม่เป็นที่นิยม ภายหลังจึงเปลี่ยนมาใช้กำลังไฟฟ้าแทน
รถรางในยุครุ่งเรือง
วันหนึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จประทับขึ้นรถรางของนายจอห์น ล็อคตัส ที่หลักเมืองเป็นต้นทาง พอดีทรงลืมเอาเงินพกติดตัวไปด้วย
พอรถรางเริ่มเคลื่อนออกจากท่า พนักงานก็เริ่มเดินเก็บเงินจนมาถึงพระองค์ ก็ถามว่าจะไปลงที่ไหน พระองค์ทรงตรัสว่า “ถนนตก” คนเก็บเงินจึงบอกว่าถนนตกต้องเสียงเงินสลึงนึง
พระองค์ตรัสไปว่าไม่มีเงินเพราะลืมเอาเงินมาออกมาจากบ้าน
คนเก็บเงินก็ยังปฏิเสธและบอกว่าระเบียบเขามีอย่างนี้ พระองค์จึงตรัสขอให้ละไว้สักคนหนึ่ง แค่คนเดียวคงไม่มีใครรู้
ด้วยความที่พนักงานเก็บเงินเป็นคนตรงฉินและรักษากฏระเบียบอย่างเคร่งครัดจึงบอกต่อไปว่า
“ไม่ได้หรอก ฉันต้องทำตามหน้าที่ อย่าหาว่าฉันใจร้ายใจดำเลยพ่อคุณ ให้พ่อไปด้วยไม่ได้หรอกมันผิดระเบียบ”
รถรางในยุครุ่งเรือง
พระองค์ทรงตรัสต่อไปว่า
“ก็ฉันจะไปนิน่า บอกว่าพรุ่งนี้จะเอามาให้ เมื่อไม่เชื่อก็ตามใจแต่ฉันต้องไปถนนตกให้ได้”
พระองค์ทรงตรัสอย่างไร ฝ่ายคนเก็บเงินก็มีท่าทีไม่ยอมท่าเดียว จนเถียงกันไปมา เถียงกันมา บังเอิญมีคุณยายท่านหนึ่งซึ่งนั่งมาในรถรางคันเดียวกัน เห็นเถียงกันไปมาไม่หยุด จึงยื่นเงินสลึงหนึ่งให้แทน พร้อมกล่าวว่า
“เอ้าฉันให้ค่ารถแทนล่ะกัน”
พนักงานเก็บเงินก็รับเอาไป
เส้นทางรถรางภาพเก่าจากไทยพีบีเอส
เรื่องราวยังไม่จบเพียงเท่านี้ พอรถรางวิ่งไปจนถึงถนนตก รถม้าพระที่นั่งก็วิ่งตามไปทัน ทุกคนบนรถรางและพนักงานเก็บเงินรีบหันไปดู เนื่องจากมีคนตะโกนว่า
“ในหลวงเสด็จ”
ในยุคนั้นพระมหากษัติร์ยเริ่มเปิดพระองค์สู่สาธารณชนมากขึ้น ทุกคนต่างคนต่างรอจ้องดูในหลวงกันด้วยความตื่นเต้น และรถรางก็หยุดเคลื่อนที่ เพื่อเว้นระยะให้ทางกับเส้นทางของขบวนเสด็จให้รถพระม้าที่นั่งเคลื่อนผ่านไปก่อน
ขบวนเสด็จ
แต่รถม้าพระที่นั่งไม่เสด็จผ่านไป กลับมาหยุดเทียบรถรางพอดี ในหลวงที่ทรงประทับบนรถราง ก็เปลี่ยนเสด็จขึ้นไปประทับบนรถพระที่นั่ง แล้วก็เคลื่อนออกไป
ถึงเวลานี้พนักงานเก็บเงินถึงกับตะลึงตาเหลือกเพราะพึ่งรู้ว่าชายที่ตนทะเลาะเรื่องค่าโดยสารและที่ไล่ลงเมื่อครู่นี้ คือ ในหลวง
พนักงานเก็บเงินถึงกับมือสั่นเหงื่อท่วมกาย คิดไปคิดมาจึงร้องไห้โฮเพราะเจ็บใจที่ตัวเองไม่ควรทำแบบนั้น ที่ได้ไปไล่พระเจ้าแผ่นดินลงจากรถ และคิดว่าคราวนี้ตนเองคงต้องหัวขาดแน่นอน
รถม้าพระที่นั่ง
•แทรกเกร็ดความรู้•
++ในสมัยนั้นเริ่มใช้เงินที่มีพระบรมฉายาลักษณ์ของพระมหากษัติร์ยประทับตราลงบนเหรียญ ผมคิดว่า พนักงานเก็บเงินคงต้องหยิบเหรียญขึ้นมาเปรียบเทียบดูว่าเหมือนพระองค์จริงไหมเป็นแน่แท้++
รถรางในสมัยน้ำท่วมใหญ่กรุงเทพ
เช้าวันรุ่งขึ้นมีตำรวจมาตามหาพนักงานเก็บเงินรถราง แล้วทำการคุมตัว พนักงานเก็บเงินหน้าซีด เหมือนว่ารู้ในชะตากรรมของตนเอง จึงได้ลาลูกเมียและเพื่อนฝูงเป็นการใหญ่เพราะคิดว่าโทษของตนนั้นต้องถูกตัดหัวสถานเดียว
ตำรวจนำตัวพนักงานเก็บเงินรถรางเข้าเฝ้าถึงท้องพระโรงภายใน ตำรวจต้องช่วยพยุงร่างไว้เพราะเจ้าตัวถึงขั้นเป็นลมแล้วเป็นลมอีก
เมื่อพนักงานเก็บเงินเผชิญอยู่หน้าพระพักตร์ จึงทำการถวายบังคม อย่างเงอะงะ ขอร้องวิงวอนให้พระองค์พระราชทานไว้ชีวิต
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงทอดพระเนตรเห็นอาการของพนักงานเก็บเงินแล้ว ก็ทำให้พระองค์ทรงนึกขำ  แต่ก็แสร้งทำพระพักตร์บึ้งเคร่งขรึม มีพระราชดำรัสลักษณะตะหวาดและด่าว่าพนักงานเก็บเงินรถรางว่า
“โทษถึงประหาร กุเป็นเจ้าอยู่หัวแท้ๆ ยังทำกับกูได้ถึงเพียงนี้ จะเก็บเงินกุก็จะให้ เผอิญกุลืมเอาไป ผลัดไปก่อนก็ไม่ได้ คนแบบนี้อยู่ไปก็รกแผ่นดินของกู”
พระองค์ทรงตรัสเสร็จ จึงเรียกมหาดเล็กให้หยิบถุงถุงหนึ่งมาถวาย ต่อจากนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงรับสั่งให้พนักงานเก็บเงินเขยิบมาใกล้และทรงยื่นถุงให้ ทรงตรัสว่า
“เอ้า เอาไป ถ้าบ้านเมืองมีคนทำตามหน้าที่
อย่างนี้มากมาย กุเป็นเจ้าเหนือหัวบ้านเมืองก็เจริญ”
เมื่อพนักงานเก็บเงินรถรางรับถุงนั้นแล้ว ตำรวจก็พาตัวคุมออกไปจากท้องพระโรง ตำรวจจึงบอกแก่คนเก็บเงินรถรางว่าอนุญาตให้กลับบ้านได้
ท่ารถราง
ด้วยความฉงนงงวย พนักงานเก็บเงินรถรางถามกับตัวเองว่ามันเกิดอะไรขึ้นกันแน่ จึงนึกถึงถุงพระราชทานที่ในหลวงทรงพระราชทานให้จากพระหัตถ์ เมื่อเปิดออกดูเห็นเป็นเงินนับได้ 1 ชั่ง จึงทำให้โล่งใจและยิ้มออกมาได้ พร้อมทรุดตัวลงนั่งแถวนั้น หันไปทางที่ประทับของในหลวงถวายบังคมลา เดินตัวลอยยิ้มแป้นกลับบ้านหาลูกเมียทันที
ต่อมากิจการรถรางได้ดำเนินเรื่อยมา จนถึงวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2511 จึงได้ยกเลิกการเดินรถทุกเส้นทางอย่างถาวร
แม้ระบบรถรางจะมาถึงไทยก่อนใครในเอเชียแต่น่าเสียดาย ที่เรารักษามันไว้ไม่ได้ จนยกเลิกการให้บริการโดยเหตุผลว่าล้าสมัย แต่แล้วเมื่อกาลเวลาพิสูจน์ผ่านไป รถรางได้พิสูจน์ตัวเอง ใน 300 เมือง จากทั่วโลกปัจจุบันที่ยังคงใช้กันอยู่มาจนทุกวันนี้
และเรื่องราวขำขันนอกพระราชประวัตินี้
สอนเราผ่านเรื่องราวบนรถรางให้รู้ว่า
“จงรู้จัก และทำตามหน้าที่ของตนให้ดี เพราะบ้านเมืองจะเจริญได้ เนื่องด้วยพลเมืองที่ดี”
ประชาชนรอรับเสด็จ
❤️กดไลค์ กดแชร์ ติดตามเป็นกำลังใจ❤️
🙏ขอบพระคุณครับ🙏
อ้างอิง:
- เค้าโครงเรื่องเล่า : หนังสือเมืองไทยในอดีต(พระนคร) ของ “เพิ่มศักดิ์ วรรลยางกูล” : วัฒนาพานิช, 2503
เครดิตภาพจาก
- ไทยพีบีเอส
โฆษณา