Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
หมอเก่งกระดูกและข้อ
•
ติดตาม
5 พ.ค. 2020 เวลา 05:00 • สุขภาพ
เก๊าท์ เป็นสาเหตุที่สำคัญของปัญหาไตวายเรื้อรังในเพศชาย !!!
หลายคนชะล่าใจ ว่าเป็นเก๊าท์ ถ้าไม่ปวดก็ไม่ต้องรักษา หรือ ป้องกัน
บางคนเป็นแล้วรักษาอาการปวดดีแล้ว ก็ไม่รักษาติดตามต่อ
ปัญหาคือ มันมีผลต่อไต
เก๊าท์ คือโรคที่ทำให้เกิดการอักเสบตามข้อต่างๆของร่างกาย โดยเฉพาะเพศชาย
ตำแหน่งที่พบบ่อยคือหัวแม่เท้า ส้นเท้า ข้อเท้า ข้อเข่า และข้อศอก ซึ่งอาการกำเริบของเก๊าท์นั้นจะมีการอักเสบอย่างเฉียบพลันทำให้ปวดมาก ไม่สามารเดินลงน้ำหนักได้ ขยับก็มีอาการปวด
เก๊าท์กำเริบที่หัวแม่เท้า
มักจะเกิดหลังจากการดื่มแอลกอฮอล์ หรือรับประทานอาหารประเภทสัตว์ปีก เช่น เป็ด ไก่ ยอดผัก เช่น หน่อไม้
ข้อเท้าอักเสบ
สิ่งที่อันตรายในผู้ป่วยโรคเก๊าท์ก็คือ เกิดการตกตะกอนของยูริกที่ไต ทำให้เกิดภาวะไตวายเรื้อรัง พบว่าเพศชายที่เป็นโรคไตวายเรื้อรังนั้น ประมาณ 60-70% นั้นมีสาเหตุมาจากการเป็นโรคเก๊าท์
สาเหตุที่ทำให้ผู้ป่วยละเลยในการรักษาโรคเก๊าท์ เพราะหลังจากรักษาโรคเก๊าท์ในระยะที่มีอาการอักเสบเฉียบพลัน เมื่ออาการปวดหายไปแล้ว ผู้ป่วยก็มักจะนึกว่าหายจากโรค ไม่จำเป็นต้องทานยาลดกรดยูริก ทำให้ปริมาณของกรดยูริกในร่างกายมีปริมาณสูง จึงเกิดการตกตะกอนที่ไต ทำให้การทำงานของไตเสียไป
ปัญหาคือ ไตวาย
การรักษาโรคเก๊าท์แบ่งเป็น 2 ระยะคือ
1. ในระยะที่มีอาการอักเสบเฉียบพลันและมีอาการปวดมากนั้น สิ่งสำคัญที่สุดคือ รักษาเพื่อลดการอักเสบ และบรรเทาอาการปวด ซึ่งมักจะให้ยาลดการอักเสบในกลุ่ม NSAIDs เช่น Voltaren, Arcoxia, Celebrex ร่วมกับ colchicine เพื่อบรรเทาอาการปวดในระยะเฉียบลัน ถ้ามีการอักเสบมาก อาจมีการฉีดยาลดการอักเสบร่วมด้วย
2. ในระยะที่การอักเสบหายไปแล้วประมาณ 2 สัปดาห์ เป็นการรักษาเพื่อลดปริมาณกรดยูริกในร่างกาย ซึ่งจำเป็นที่ต้องใยาเพื่อลดกรดยูริก โดยมีเป้าประสงค์เพื่อให้กรดยูริกในร่างกานน้อยกว่า 6 my/dl ยาลดกรดยูริกมีหลายประเภท คงต้องเลือกให้เหมาะสมกับผู้ป่วยในแต่ละราย
หลังจากรักษาแล้วก็หมั่นติดตาม ตรวจเลือดเพื่อดูผลของการรักษา ในช่วงแรกอาจจะทุก 3 เดือน ถ้าอาการดีขึ้นอาจตรวจทุก 6 เดือน ค่าที่ต้องติดตามคือ
1. การทำงานของไต BUN, Creatinine
2. ปริมาณของกรดยูริกในร่างกาย uric acid level
3. ค่าการอักเสบภายในร่างกาย ESR, CRP
กล่าวโดยสรุปสำหรับผู้ป่วยโรคเก๊าท์ ถ้ามีการอักเสบ ให้รักษาอาการอักเสบก่อนในระยะ 2 สัปดาห์แรก หลังจากอาการอักเสบหายไปแล้ว ไม่มีอาการปวดแล้วก็มาลดปริมาณยูริกด้วยการรับประทานยาลดการสร้างยูริก หรือยาขับกรดยูริกออกทางปัสสาวะ เพื่อไม่ให้เกิดการตกตะกอนที่ไต เป้าหมายที่สำคัญของการรักษาในระยะนี้คือ ป้องกันไตวายในอนาคต
ดังนั้นเมื่อท่านเป็นเก๊าท์แล้ว อย่าได้นิ่งนอนใจว่าไม่ปวด ไม่อักเสบ ไม่มีปัญหา ที่สำคัญคือต้องควบคุมปริมาณของกรดยูริกให้ดี ไม่ให้มีปริมาณสูง ก็จะลดความเสี่ยงต่อร่างกายได้นะครับ
1
ติดต่อสอบถามได้ที่
Line OA
https://lin.ee/swOi91Q
หรือ Line ID search @doctorkeng
ติดตามสารพันปัญหาโรคกระดูกและข้อ ได้ที่
1
Website
www.taninnit.com
YouTube
https://www.youtube.com/results?search_query=taninnit+leerapun
Facebook ปวดหลังรักษาได้ ไม่ผ่าตัด - Home
https://www.facebook.com/backpainnonop/
Blockdit
https://www.blockdit.com/doctorkeng
สถานที่ Check out คลินิกกระดูกและข้อ หมอเก่ง สันป่าข่อยคลินิก on Google
https://g.page/doctorkeng?gm
1
11 บันทึก
46
15
48
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
เก๊าท์ ข้ออักเสบ
ปวดเท้า ส้นเท้า ฝ่าเท้า ข้อเท้า
11
46
15
48
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย