21 มิ.ย. 2020 เวลา 06:14 • ศิลปะ & ออกแบบ
สวัสดีครับ
คลับของคนรักอสังหาฯ
ขอต้อนรับเข้าสู่ Content ที่ 13
Series : Sustainable City
S3 EP2 : Community Centre
เราไปดูการพัฒนาอสังหาฯที่พัฒนาบนฐานของความยั่งยืนกันดีกว่า
อสังหาฯ เพื่อชุมชน
"Our Tampines Hub"
ใครจะไปคิดว่า สนามฟุตบอล ศูนย์การค้า สวนสาธารณะ มารวมกันได้
Our Tampines Hub, Singapore
โครงการนี้ ประกอบด้วย 2 use หลักครับ
1.สนามกีฬา (สนามฟุตบอล)
2.ศูนย์การค้า
แบบนี้ ก็ถือเป็น โครงการ Mixed-use เหมือนกันนะครับ
ใช่เลยครับ เดี๋ยวนี้ trend ของ Mixed-use Building กำลังมา
โดยเฉพาะในเมืองใหญ่ อย่าง กรุงเทพมหานคร
แต่ต้องบอกก่อนเลยว่า โครงการ Our Tampines Hub เนี่ย
พัฒนามาเป็น mixed-use มาก่อนที่ trend นี้จะมาในประเทศไทยซะอีก
ทำไมน่ะหรอครับ ? ก็เพราะใน เมืองใหญ่ๆ ที่มีปัญหาเรื่องที่ดินมีจำกัด
โดยเฉพาะ ประเทศสิงค์โปร์ ซึ่งเป็นเกาะขนาดเล็ก ยิ่งมีพื้นที่ให้ใช้น้อย
ทำให้ยิ่งต้องมีการใช้ที่ดินอย่างเข้มข้น เพื่อให้เกิดความคุ้มค่ามากที่สุด
แต่โครงการนี้ ไม่ได้มุ่งเน้นไปที่ความคุ้มค่าทางด้านเศรษฐกิจ หรือ
ความคุ้มค่าทางการเงิน เพียงอย่างเดียว แต่ยังให้คุณค่าไปถึงความคุ้มค่า
ของสังคมด้วย
โดยโครงการนี้มีการรวม (mix) ฟังก์ชั่นการใช้งานระหว่าง 2 ธุรกิจ + ชุมชน ให้สามารถเกื้อหนุนซึ่งกันและกันได้อย่างลงตัว
เราจะขยายให้เห็นภาพกันมากขึ้น
สโมสรแทมปิเนส โรเวอร์ เป็นสโมสรฟุตบอลท้องถิ่นที่อยู่กับชุมชนมาอย่างยาวนาน แต่กำลังประสบปัญหา ความนิยมในกีฬาชนิดนี้ในประเทศลดลง
ทำให้ลีกฟุตบอลสิงค์โปร์ซบเซาอย่างต่อเนื่อง และสโมสรปิเนส โรเวอร์ ก็มีผู้ชมลดน้อยถอยลง รายได้หดตัว กำลังเจอปัญหาทางเศรษฐกิจรุมเร้า
ถ้าพูดในมุมเชิงตัวเลขของบริษัท (สโมสร) ซึ่งมีที่ดินอยู่ใจกลางเมือง
และมีมูลค่าสูง หากรื้อสนามฟุตบอลออก ขายที่ดินเปล่าก็ยังน่าจะมีกำไร
หรือหากเป็นที่ดินเช่า ก็อาจพัฒนาเป็นอาคารสูง ซึ่งสามารถเพิ่มพื้นที่ขาย
ให้สามารถกลับมาทำรายได้และกำไรในระดับที่คุ้มค่าได้แน่นอน
แต่ในมุมอื่น นั่นหมายถึงธุรกิจสโมสรฟุตบอลจะหายไป
ความรู้สึกและวิถีชีวิตของชุมชนที่ผูกพันกับสนามแห่งนี้จะเปลี่ยนไป
การเปลี่ยนสนามเป็นอาคารสูงจึงไม่ใช่หนทางการพัฒนาพื้นที่ที่ดีที่สุด
แล้วอะไรที่จะสามารถทำให้ สโมสรท้องถิ่นแห่งนี้อยู่รอดต่อไปได้
นั่นคือ การรวมกับธุรกิจอื่นที่สามารถสร้างความครึกครื้นให้กับชุมชน
ให้ทุกคนออกมาใช้ชีวิตภายนอกบ้าน ออกกำลัง เดินเล่น จับจ่ายใช้สอย
ท้ายที่สุดผู้ชมฟุตบอลก็อาจเพิ่มขึ้นตามไปด้วย
ตัวอาคาร ศูนย์การค้า ที่ประกอบไปด้วย ห้างสรรพสินค้า ร้านค้าปลีก
ร้านอาหารและเครื่องดื่ม พื้นที่ทำการบ้านของนักเรียน ศูนย์ดูแลเด็กเล็ก
หอประชุมศิลปะการแสดง ลู่วิ่งสำหรับวิ่งออกกำลังกายวนรอบห้างบนชั้น 5 และสวนสาธารณะพื้นที่สีเขียวบนชั้นดาดฟ้า
ขณะที่ อาคารสันทนาการและพื้นที่สาธารณะของชุมชน ประกอบไปด้วย
สนามฟุตบอลหญ้าเทียม (ความจุ 5,000 ที่นั่ง) สนามกีฬาขนาดเล็ก
สระว่ายน้ำบนชั้นดาดฟ้า ศูนย์โบวลิ่ง จตุรัสกลางเมือง โรงยิม
การรวม 2 ธุรกิจที่มีความเกี่ยวข้องกันน้อยมาก เข้าไว้ด้วยกันในที่เดียว
แต่กลับลงตัวสุดๆ เพราะอะไร ?
เพราะว่า มีการแบ่งการใช้พื้นที่จอดรถที่มีอยู่อย่างจำกัด ให้กับ 2 ธุรกิจ
ที่มีผู้มาใช้บริการต่างวัน ต่างเวลากัน เช่น สโมสร มีแข่งสัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง
ช่วงสุดสัปดาห์ 1 ครั้ง และอาจจะมี กลางสัปดาห์อีก 1 ครั้ง ในช่วงเย็น
ขณะที่ศูนย์การค้าเปิดในช่วงกลางวัน-ค่ำ โดยเฉพาะร้านค้าและออฟฟิศ
แม้ว่าร้านอาหารต่างจะมีผู้มาใช้บริการในช่วงเย็นเป็นหลัก
ส่วนสันทนาการยิมกีฬาอื่นๆจะมีผู้ใช้บริการในช่วงเช้าและเย็นเลย
ไม่เพียงเท่านี้ ยังมีพื้นที่สาธารณะ ที่ free ใครๆก็สามารถใช้ได้
ทั้งสวนสาธารณะ ลู่วิ่ง พื้นที่นั่งทำงาน/เรียนหนังสือ
ท้ายที่สุดเกิดจะเกิดการ synergy ซึ่งกันและกัน
ผู้ที่มาชมการแข่งขันฟุตบอล อาจรับประทานอาหารหลังจากชมการแข่ง
ผู้ที่มาออกกำลังกายในตอนเช้า อาจเดินช๊อปปิ๊งต่อ ก่อนกลับบ้าน
เด็กนักเรียนเมื่อเรียน/ทำการบ้านเสร็จ อาจหิวและแวะทานอาหาร
ในที่สุด activity ของชุมชนก็พลิกฟื้นคืนมา
เมื่อมีกิจกรรม มีการจับจ่ายใช้สอย รายได้ก็เติบโต
และ สนามฟุตบอลแห่งนี้ก็เป็นสถาปัตยกรรมเพื่อชุมชนที่แท้จริง
แล้วชุมชนของคุณล่ะ มี Community Centre แล้วหรือยัง ?
ขอขอบคุณ Reference
#FeasibleEstate #Feasible #RealEstate #Feasibility #Study
#Property #Management #Economics #Marketing #Finance #Law #Physical #Architecture #Design #Construction #Engineering
#OurTampinesHub #Singapore

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา