6 พ.ค. 2020 เวลา 11:40
ประกันสุขภาพมีความจำเป็นแค่ไหน ควรซื้อเท่าไหร่ถึงจะพอดี เป็นคำถามที่หลายคนยังลังเลสงสัย เลยไม่ได้เริ่มซื้อประกันสุขภาพสักที อยากจะซื้อความคุ้มครองวงเงินสูงๆ แต่พอเห็นเบี้ยประกันแล้วก็หนาว เพราะเบี้ยที่จ่ายไปแต่ละปีเป็นเบี้ยที่จ่ายทิ้ง ไม่มีมูลค่าใดๆคืนกลับมาหากไม่เจ็บป่วย
อย่าปล่อยให้ความลังเลนี้ทำให้เราต้องรับความเสี่ยงโดยที่เราไม่ได้วางแผนอีกต่อไป เพราะการเจ็บป่วยมันมักจะมาหาเราในวันธรรมดาวันหนึ่งนั่นเอง
การวางแผนประกันสุขภาพ ไม่ได้ยุ่งยากอย่างที่คิด ถ้าเรามีที่ปรึกษา มาเริ่มต้นด้วยการตั้งคำถามง่ายๆ กันค่ะ
▪︎สำรวจสวัสดิการที่มีอยู่ว่ามีอะไรบ้าง ถ้าไม่มีสวัสดิการจากที่ทำงาน หรือ ประกันสุขภาพส่วนบุคคล อย่างน้อยก็มีบัตรทองค่ะ ตรวจสอบ รพ.ที่เราสังกัดได้ โทร.1330 สามารถเปลี่ยน รพ.ได้ 4 ครั้งต่อปี
▪︎คำถามต่อมาคือ วงเงินความคุ้มครองที่มี เพียงพอต่อความจำเป็นในการรักษาหรือเปล่า ถ้ามีส่วนต่างค่าใช้จ่ายเกิดขึ้น เรามีความสามารถในการจ่ายหรือไม่ ถ้ามี เงินที่นำมาจ่ายกระทบแผนการเงินด้านอื่นๆไหม เช่น เงินที่เตรียมไว้เพื่อเป็นทุนการศึกษาของลูกอาจถูกยืมมาใช้ในยามฉุกเฉิน
▪︎สวัสดิการที่เราได้มาจากที่ทำงาน เช่น ประกันสังคม ประกันกลุ่ม หรือ ได้รับพ่วงกับคนในครอบครัว หากต้องเปลี่ยนงาน หรือ เกษียณอายุไป สวัสดิการที่มีจะจบลง เราวางแผนอย่างไรหลังจากนั้น ถ้าไปซื้อประกันสุขภาพเพิ่มตอนนั้น เรายังจะสามารถสมัครทำประกันได้ในเงื่อนไขปกติ อยู่หรือเปล่า
▪︎ความพึงพอใจรูปแบบการใช้บริการโรงพยาบาลจากสวัสดิการที่เรามี ความสะดวกสบายในการเข้ารับการรักษา ความสะดวกในการเดินทาง การรอคิวรักษา ฯลฯ ท่านพอใจหรือเปล่า ขึ้นอยู่กับแต่ละคนค่ะ ในส่วนนี้
▪︎หากต้องการซื้อประกันสุขภาพส่วนบุคคล สุขภาพของเราต้องแข็งแรง ไม่มีตรวจพบโรคใดๆ ก่อนทำประกันจึงจะได้รับความคุ้มครองครบถ้วน ไม่มีข้อยกเว้นความคุ้มครอง ถูกเพิ่มเบี้ย หรือ ปฏิเสธการรับประกัน ดังนั้นหากวันนี้ท่านยังแข็งแรงดี ทำประกันวันนี้คุ้มกว่า ทำในวันหน้า แน่นอนค่ะ
[หากเรามีโรคประจำตัว และต้องการซื้อประกันสุขภาพ สามารถปรึกษาและยื่นเอกสารการสมัครพร้อมประวัติการรักษา โดยยังไม่ต้องชำระเบี้ยก่อนได้ เพื่อให้บริษัทพิจารณา หากสามารถรับประกันได้ จะเป็นได้ใน 3 กรณี คือ 1.ยกเว้นความคุ้มครองที่เป็นมาก่อน 2.เพิ่มเบี้ยประกันตามอัตราความเสี่ยงที่มากกว่าคนทั่วไป 3.รับสัญญาได้บางตัวตามข้อจำกัดของสุขภาพ]
▪︎หากเกิดเหตุฉุกเฉินต้องเข้ารับการรักษาด่วน แต่ไม่เข้าข่ายสิทธิ์ UCEP รักษาฟรี 72 ชม.แรกที่รัฐคุ้มครองค่าใช้จ่าย แล้วเราต้องเข้า รพ.เอกชนที่ใกล้ที่สุด ก่อนจะย้ายไปรักษา รพ.ที่เราเบิกค่ารักษาได้ ค่าใช้จ่ายส่วนแรกนี้ คิดว่าประมาณเท่าไหร่ และเราได้สำรองเงินเตรียมไว้หรือยัง
▪︎ ในส่วนของค่ารักษาพยาบาลโรคร้ายแรง ที่ต้องใช้เงินจำนวนมาก มีผลกระทบต่อฐานะความเป็นอยู่ของครอบครัว ดังที่เราเคยได้ยินว่า มีบ้านขายบ้าน มีรถขายรถ ต้องกู้ยืมเงินมาเป็นค่ารักษา ท่านคิดอย่างไร หากโชคร้ายนี้เกิดกับเราหรือคนในครอบครัวของเรา
หากท่านคิดว่า ประกันสุขภาพ เป็นเรื่องจำเป็นที่จะใช้เป็นเครื่องมือจัดการความเสี่ยง ท่านสามารถจะตรวจสอบเบี้ยประกันไว้ประกอบการพิจารณาได้ค่ะ ว่าความเสี่ยงเท่าไหร่ ที่จะโอนย้ายไปให้ บ.ประกันรับ ความเสี่ยงเท่าไหร่ที่ท่านจะเตรียมรับไว้เอง เบี้ยประกันที่เหมาะสมกับความเสี่ยงและความพึงพอใจของเรา สามารถวางแผนได้ค่ะ
♧เบี้ยประกันเพียงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับความคุ้มครองที่ได้รับ สามารถช่วยครอบครัวเราได้ยามจำเป็น
♧การซื้อประกันในวันที่สุขภาพแข็งแรง แม้ไม่ได้เบิก แต่ก็เป็นการรักษาสิทธิ์การซื้อไปถึงวันที่เราอาจจะป่วยหนักและต้องใช้มันจริงๆ
♧แม้ว่าคุณไม่ได้เบิกเลยตลอดสัญญา แต่คุณมีสุขภาพดีไปตลอดรอดฝั่ง คุณก็ได้กำไรชีวิตไปแล้วค่ะ
ดังนั้น ไม่อาจชี้ชัดว่า อะไรคือคุ้มหรือไม่คุ้ม เพราะเราได้โอนย้ายความเสี่ยง เพื่อความปลอดภัย สบายใจในการใช้ชีวิตไปแล้ว
ความเสี่ยงสูงสุด คือ การไม่ได้คิดถึงความเสี่ยงเลย
ลงมือวางแผนตั้งแต่วันนี้ ก่อนที่เราจะไม่มีโอกาสได้วางแผน
ติดตามบทความอื่นๆของ เงินทองต้องวางแผน
ได้ที่ https://bit.ly/2F97u1M
ยินดีให้คำแนะนำ ตอบข้อซักถาม พร้อมนำเสนออัตราเบี้ยให้พิจารณาก่อน โดยไม่มีข้อผูกมัดใดๆค่ะ😊
กดแอดมาคุยกันค่ะ https://lin.ee/s03xbZv
โฆษณา