7 พ.ค. 2020 เวลา 03:59 • ประวัติศาสตร์
'กิโยติน' เครื่องประหารที่บั่นคอมนุษย์ไปกว่า 50,000 คน
ในทวีปยุโรปยุคก่อนศตวรรษที่ 16 การประหารชีวิตนักโทษส่วนใหญ่ถ้าไม่ใช่วิธีที่ทรมาน ก็จะเป็นการประหารชีวิตด้วยการตัดคอด้วยขวาน หรือดาบ โดยจะให้นักโทษนอนคว่ำไปบนแท่นประหารที่เหมือนกับเขียง และเพชฌฆาตก็จะสับลงไปที่คอให้หัวหลุดออกจากร่าง ซึ่งวิธีนี้ถือว่าเป็นการประหารแบบมาตรฐานอีกวิธีหนึ่ง
แต่วิธีนี้ก็มีข้อเสียตรงที่เพชฌฆาตนั้นจะต้องมีร่างกายที่แข็งแรงในกรณีที่ต้องประหารคนจำนวนมาก ซึ่งในหลายๆ ครั้งการประหารด้วยวิธีนี้ไม่ได้ทำให้นักโทษตายในทันทีเพราะเพชฌฆาตอาจจะออกแรงไม่มากพอทำให้ต้องซ้ำดาบที่สองหรือที่สาม แต่ในศตวรรษที่ 16 จึงมีผู้มองว่าการประหารในลักษณะนี้นั้นเป็นการทรมานนักโทษโดยใช่เหตุ จึงได้มีการประดิษฐ์เครื่องมือประหารที่ใช้ใบมีดถ่วงด้วยอุปกรณ์ที่มีน้ำหนักมากขึ้นมาโดยมีชื่อว่า Gibbet ซึ่งเจ้าเครื่องประหารอันที่ว่านี้มีการทำงานคล้ายๆ กับกิโยตินแต่ประสิทธิภาพนั้นยังไม่เทียบเท่าเพราะใบมีดมีขนาดที่เล็กกว่าและทื่อกว่า ซึ่งทำให้การตัดคอแต่ละครั้งนั้นเหมือนกับการทุบด้วยสันปังตอซะมากกว่า
ดังนั้นจึงมีการประดิษฐ์เครื่องประหารที่มีชื่อว่า “กิโยติน” ขึ้นมาในปี 1790 แต่ได้นำมาใช้จริงในอีกสองปีต่อมา การทำงานของกิโยตินนั้นจะใช้แรงโน้มถ่วงของโลกเป็นตัวดึงให้ใบมีดน้ำหนักประมาณ 40 กิโลกรัม ที่ถูกตีขึ้นให้มีลักษณะเฉียงขึ้นเพื่อใช้สำหรับ “เฉือน” คอให้หัวขาดออกจากร่างโดยเฉพาะ การใช้งานจะเป็นแบบการชักรอกซึ่งทำให้ประหยัดแรงของเพชฌฆาตได้มาก
นักโทษที่ถูกประหารด้วยเครื่องกิโยตินจะถูกตัดผมออกให้สั้นเพื่อให้ใบมีดทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ การประหารในแต่ละครั้งจะทำขึ้นกลางแจ้ง ซึ่งในศตวรรษที่ 18 การประหารด้วยเครื่องกิโยตินก็ถือว่าเป็นมหรสพอย่างหนึ่งสำหรับชาวเมืองจนถึงขนาดต้องแย่งที่เพื่อให้ได้ยืนดูในระยะใกล้กันเลยทีเดียว
ร่วมเป็นผู้สนับสนุนให้เรามีกำลังผลิตงานต่อไปได้ทาง บัญชีกสิกรไทย
0698966939
บริษัท สโป๊คดาร์ค จำกัด
และด้วยเหตุนี้เองในการประหารแต่ละครั้งนอกจากประชาชนที่สนใจ บรรดานักวิทยาศาสตร์ต่างก็ให้ความสนใจการประหารด้วยวิธีนี้เช่นกัน เพราะพวกเขาจะได้เห็นปฏิกิริยาตอบสนองของนักโทษประหารหลังจากถูกตัดหัวไปแล้ว ซึ่งมีกรณีหนึ่งที่โด่งดังก็คือการทดลองในปี 1907 เมื่อแพทย์สองคนได้ขออนุญาตทางการเพื่อทำการทดลองกับหัวของนักโทษประหารรายหนึ่งในห้องทดลอง โดยพวกเขานำหัวที่ถูกตัดมาต่อท่อเข้าไปยังเส้นเลือดและทำการฉีดเลือดสุนัขเข้าไปตามท่อต่อขึ้นใหม่เข้าสู่หัวที่ไร้ร่าง
สิ่งที่พวกเขาพบก็คือใบหน้าของศพที่ขาวซีดนั้นเริ่มกลายเป็นสีม่วงและดวงตาของหัวที่ไร้ร่างก็เบิกโพลงขึ้นมา ริมฝีปากมีอาการสั่นเหมือนกับว่าจะพูดอะไรออกมา ซึ่งแพทย์ทั้งสองคนก็สรุปได้ว่านั่นคือปฏิกิริยาจากแรงดันเลือดที่ทำต่อร่างกายเพียงเท่านั้น
ร่วมเป็นผู้สนับสนุนให้เรามีกำลังผลิตงานต่อไปได้ทาง บัญชีกสิกรไทย
0698966939
บริษัท สโป๊คดาร์ค จำกัด
ตั้งแต่ปี 1792 เป็นต้นมา มีนักโทษที่ถูกกิโยตินประหารชีวิตไปร่วม 50,000 ราย แต่ถ้านับเฉพาะ กิโยตินถูกเลิกใช้ในปี 1939 แต่ทว่าในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 กองทัพนาซีได้นำออกมาใช้ประหารผู้ที่ต่อต้าน และหลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 จบลงก็ไม่มีใครถูกประหารด้วยกิโยตินอีกเลย
โฆษณา