Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
อ.ย.ส. (อ่าน-ย่อ-สรุป)
•
ติดตาม
24 พ.ค. 2020 เวลา 06:45 • ไลฟ์สไตล์
อิคิไก ความหมายของการมีชีวิตอยู่ (ตอนที่ 1/2)
(The Little Book of Ikigai)
อะไรคือคุณค่าทางจิตใจที่สูงสุดของคุณ ?
อะไรคือสิ่งเล็กๆ ที่ให้ความสุขแก่คุณ ?
คำถามข้างต้นอาจจะเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีสำหรับการเริ่มค้นหา "อิคิไก" ของคุณเอง เพื่อเป็นหนทางไปสู่ความสุขและชีวิตที่เต็มเปี่ยม
ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับคำว่า "อิคิไก" กันก่อน
ตามศัพท์ "อิคิ" แปลว่า มีชีวิต "ไก" แปลว่า เหตุผล
"อิคิไก" จึงอาจแปลง่ายๆ ได้ว่า "เหตุผลของการมีชีวิต"
ในหลายๆ ครั้ง "อิคิไก" ก็หมายถึง "เหตุผลที่จะตื่นขึ้นมาในตอนเช้า"
"อิคิไก" เป็นสิ่งกระตุ้นให้เราดำเนินชีวิตต่อไป เป็นสิ่งที่ให้รสชาติกับชีวิตคุณ ทำให้เรากระตือรือร้นในการทักทายวันใหม่ทุกวันเรื่อยไป
"อิคิไก" เกิดจากจุดตัดของวงกลมทั้งสี่ ได้แก่
งานที่เราถนัด
งานที่เรารัก
งานที่เราได้เงิน
งานที่โลกต้องการ
https://en.m.wikipedia.org/wiki/Ikigai
ดังนั้น "อิคิไก" จึงเกิดขึ้นได้โดยไม่จำเป็นต้องประสบความ "อิคิไก" สามารถทำให้เกิดความสำเร็จ แต่ความสำเร็จไม่ใช่เงื่อนไขที่จำเป็นต้องมี "อิคิไก"
กรอบแนวทางอันเป็นรากฐานที่ช่วยให้ "อิคิไก" งอกงามเบ่งบานคือ "เสาหลักห้าประการ" อันได้แก่
1. เริ่มต้นเล็กๆ
2. ปลดปล่อยตัวเอง
3. สอดคล้องและยั่งยืน
4. ความสุขกับสิ่งเล็กๆ
5. การอยู่ตรงนี้ ตอนนี้
โดยเสาหลักทั้งห้าไม่จำเป็นจะต้องเกิดขึ้นครบถ้วนทั้งหมด ไม่ต้องเรียงตามลำดับก่อนหลัง และไม่เรียงลำดับสูงต่ำ แต่ต่างจำเป็นต่อการทำความเข้าใจ "อิคิไก"
https://ikigaitribe.com/ikigai/the-5-pillars-of-ikigai/
เสาต้นแรก "เริ่มต้นเล็กๆ"
Starting small
(หน้าที่ 75) ในภาษาญี่ปุ่นมีคำว่า "โคดาวาริ" ซึงหมายถึง มาตรฐานส่วนตัวที่ปัจเจกทุ่มเทอุทิศตนให้โดยยึดถือวิถีทางในชีวิตอันมั่นคงแน่วแน่ และมักจะ (ถึงแม้จะไม่เสมอไป) ใช้หมายถึงระดับคุณภาพหรือระดับความเป็นมืออาชีพที่คนๆ หนึ่งยึดถือ มันคือทัศนคติหนึ่งซึ่งก่อร่างสร้างเป็นแก่นกลางของ "อิคิไก"
(โคดาวาริ = commitment “คำมั่น”, insistence “คำยืนยัน”)
"โคดาวาริ" คือ เสาต้นแรก "การเริ่มต้นเล็กๆ" โดยไม่จำเป็นต้องตัดสินผลของความพยายามด้วยแผนการใหญ่โตโอ่อ่า
"การเริ่มต้นเล็กๆ" เป็นเครื่องหมายของวัยเยาว์ ตอนที่พวกเราเด็ก เราไม่สามารถเริ่มต้นทำอะไรใหญ่โตได้ ไม่ว่าเราจะทำอะไรก็ตาม มันก็ไม่สำคัญต่อโลกสักเท่าไร เราต้องเริ่มต้นจากเล็กๆ
สิ่งที่เรามีก็เพียงแค่จิตใจที่เปิดกว้างไพศาลและความอยากรู้อยากเห็น แต่มันคือจุดเริ่มต้นที่ยิ่งใหญ่ที่อุทิศให้กับมูลเหตุเดียว เด็กๆ มักจะอยากรู้อยากเห็น และเราสามารถพบความเชื่อมโยงบางอย่างระหว่างความอยากรู้อยากเห็นกับ "อิคิไก"
(98) ความเยาว์ของจิตใจเป็นสิ่งสำคัญต่อ "อิคิไก" เช่นเดียวกับความมุ่งมั่นและความหลงใหล โดยไม่สำคัญเลยว่าเป้าหมายของเราคืออะไร
เสาต้นที่สอง "ปลดปล่อยตัวเอง"
Releasing yourself
(110) หลักการสำคัญของศาสนาพุทธนิกายเซน ถือว่า การละตัวตนและการชื่นชมปัจจุบันขณะ คือสองสิ่งที่อยู่คู่กัน เพื่อบรรลุถึงปรัชญา เรื่องความมีสติ การปลดปล่อยตัวเอง มีความเกี่ยวข้องอย่างมากกับ "การอยู่ตรงนี้ ตอนนี้" ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งการนั่งสมาธิแบบพุทธ
(121) ถ้าเราสามารถบรรลุถึงสภาวะจิตใจแห่ง “ความลื่นไหล” เราจะเข้าใจเรื่อง "อิคิไก" ได้เกือบทั้งหมด และสิ่งต่างๆ อย่างพวกงานน่าเหนื่อยหน่ายในแต่ละวันก็จะกลายเป็นเรื่องสนุก เราจะไม่ต้องการให้ใครมารับรู้ผลงานหรือความพยายามของเรา และจะไม่มองหารางวัลตอบแทนที่ไหนอีกเลย การมีชีวิตอยู่ในสภาวะสุขล้ำอย่างต่อเนื่องไม่ต้องไปแสวงหาความพึงพอใจแบบทันทีทันใดจากสิ่งภายนอกก็จะมาอยู่ใกล้แค่เอื้อม
(122) การลื่นไหลคือ สภาวะที่เรากำลังง่วนอยู่กับกิจกรรมอะไรสักอย่าง โดยสิ่งอื่นนอกจากนั้นไม่สำคัญเลย นี่คือวิธีที่เราจะค้นหาความสุขจากการทำงาน งานกลายเป็นจุดหมายในตัวมันเองมากกว่าจะเป็นสิ่งที่ต้องยอมอดทนทำๆ ไป เพราะมันเป็นหนทางพาไปบรรลุถึงสิ่งอื่น
เมื่ออยู่ในความลื่นไหล เราไม่ได้ทำงานเพื่อหาเงินมาเลี้ยงชีพ (หรืออย่างน้อยที่สุดก็ไม่ใช่ความสำคัญอันดับแรก) เราทำงานเพราะตัวงานนั้นทำให้เรามีความสุขสำราญเบิกบาน (รายได้ถือว่าเป็นของแถม)
(126) สภาวะลื่นไหลก็คือ ความใส่ใจกับ การอยู่ตรงนี้ ตอนนี้ ซึ่งเด็กๆ รู้ถึงคุณค่าของเรื่องนี้อยู่แล้ว เพราะเด็กยังไม่มีความคิดเรื่องอดีต หรืออนาคตมากนัก ความสุขของพวกเขาดำรงอยู่ ณ ปัจจุบัน
การละตัวตนจึงกลายเป็นการสลัดภาวะของตัวตน ซึ่งเป็นลักษณะพื้นฐานของความลื่นไหล และเกี่ยวข้องกับเสาหลักประการที่สองของอิคิไก (การปลดปล่อยตัวเอง)
ในฐานะที่เป็นสิ่งมีชีวิต เราย่อมคำนึงถึงสวัสดิภาพของตัวเอง และทำตามความปรารถนาต่างๆ ซึ่งเป็นเรื่องธรรมดาตามธรรมชาติ อย่างไรก็ตาม เพื่อจะไปให้ถึงสภาวะดังกล่าว เราจะต้องปลดปล่อยอัตตาไปเสียก่อน อัตตาไม่ใช่สิ่งสำคัญอีกต่อไป หลังจากนั้นสิ่งสำคัญก็จะอยู่ที่การสั่งสมความแตกต่างเล็กๆ น้อยๆ ขององค์ประกอบที่อยู่ในงานของเรา เราไม่ได้เป็นยอดฝีมือ งานต่างหากล่ะที่มาช่วยฝึกฝนฝีมือให้เรา เมื่ออยู่ในความลื่นไหล เราสามารถอ้างอิงตัวเองกับตัวงานในทางที่เกื้อกูลกันและเป็นสุข
เสาต้นที่สาม-ห้า ติดตามต่อในสรุปตอนที่ 2 นะครับ
3 บันทึก
7
6
5
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
The little book of Ikigai
3
7
6
5
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย