Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
อ.ย.ส. (อ่าน-ย่อ-สรุป)
•
ติดตาม
24 พ.ค. 2020 เวลา 23:00 • ไลฟ์สไตล์
อิคิไก ความหมายของการมีชีวิตอยู่ (ตอนที่ 2/2)
(The Little Book of Ikigai)
เสาต้นที่สาม "สอดคล้องและยั่งยืน"
Harmony and sustainability
(140) การมีชีวิตอยู่อย่างสอดคล้องกับผู้อื่นและสิ่งแวดล้อม เป็นองค์ประกอบสำคัญประการหนึ่งของ "อิคิไก" ความไวต่อความรู้สึกของสังคมเป็นปัจจัยกำหนดประสิทธิภาพของทีม "อิคิไก" ของแต่ละคนเมื่อนำมาใช้อย่างสอดคล้องร่วมกับผู้อื่นจะหนุนให้เกิดความสร้างสรรค์จากการแลกเปลี่ยนความคิดอย่างเป็นอิสระ ด้วยการชื่นชมและเคารพต่อบุคลิกลักษณะของผู้คนรอบตัวเรา ทำให้เกิด “สามเหลี่ยมทองคำ” ที่ประกอบไปด้วย
1. อิคิไก
2. สภาวะลื่นไหล
3. ความคิดสร้างสรรค์
เมื่อเราอยู่ในสภาวะลื่นไหล สอดคล้องไปกับองค์ประกอบภายนอกและภายใน เราจะมีพลังในการรับรู้ ใส่ใจกับรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ ที่ผ่านเข้ามา แต่ถ้าอารมณ์ของเราถูกก่อกวนหรือมีอคติอย่างแรง เราจะสูญเสียความมีสติซึ่งจำเป็นต่อการชื่นชมรายละเอียดของสิ่งต่างๆ ที่มีความสำคัญในการช่วยเปลี่ยนสมดุลของชีวิตและการงาน เราสามารถมุ่งสู่ความเป็นเลิศได้ก็ต่อเมื่ออยู่ในสภาวะลื่นไหล
เสาต้นที่สี่ "ความสุขกับสิ่งเล็กๆ"
The joy of little things
(146) ในชีวิตเราบางครั้งก็จัดลำดับและให้ความสำคัญผิดไป เรามักจะทำบางสิ่งบางอย่างเพื่อจะได้รางวัล ถ้ารางวัลไม่ได้มากองรออยู่ตรงหน้าเราก็จะผิดหวัง เลิกสนใจ และเลิกล้มความมุ่งมั่นที่จะทำงาน ซึ่งนั่นเป็นวิธีการทำงานที่ผิด โดยทั่วไปมักจะมีความล่าช้าระหว่างการกระทำและผลตอบแทน แม้ว่าเราจะทำงานดีๆ ออกมาได้สำเร็จ รางวัลก็อาจจะยังไม่ได้มากองรออยู่ตรงหน้า การยอมรับหรือการรับรู้โดยคนอื่นเป็นแค่เพียงการคาดเดาของเราเอง ยังมีปัจจัยภายนอกอีกมากมายที่เราควบคุมไม่ได้ ถ้าเราสามารถทำให้กระบวนการแห่งความพยายามกลายเป็นแหล่งกำเนิดของความสุข เราก็ได้บรรลุถึงสิ่งที่ท้าทายที่สุดในชีวิตแล้ว ดังนั้นการเล่นดนตรีโดยไม่มีใครฟัง วาดรูปโดยไม่มีใครดู เขียนเรื่องสั้นโดยไม่มีใครอ่าน (เขียนบทความใน blockdit โดยไม่สนใจยอด follow 😄) ก็คือความสุขที่เกิดขึ้นภายในและความพึงพอใจตัวเองที่มากเกินพอแล้วที่จะทำให้เรามีชีวิตอยู่ต่อไป
ความสำเร็จคือสิ่งที่เราจะได้รับการยอมรับจากคนในสังคมหรือบริบทสังคมนั้นๆ แต่ "อิคิไก" มาจากหัวใจของเรา มาจากความสุขส่วนตัวของเรา (และคนอื่นอาจจะไม่ได้มองว่านั่นคือความสำเร็จ)
เสาต้นที่ห้า "การอยู่ตรงนี้ ตอนนี้"
Begin in the here and now
(200) "อิคิไก" เป็นการปรับตัวตามสภาพแวดล้อม ไม่สำคัญว่าธรรมชาติของสภาพแวดล้อมนั้นจะเป็นเช่นไร ผู้ที่ค้นพบ "อิคิไก" จะค้นพบความสุขที่สูงส่งไปกว่าคุณค่าเรื่องแพ้ชนะ การมี "อิคิไก" จะช่วยให้เราทำอย่างดีที่สุดในสถานการณ์นั้นๆ โดยไม่สนใจว่ามันยากเย็นแค่ไหน เราจำเป็นต้องค้นหาอิคิไกในสิ่งเล็กๆ เราต้องเริ่มต้นเล็กๆ เราต้องอยู่ตรงนี้ ตอนนี้ สำคัญที่สุดก็คือ เราไม่สามารถหรือไม่ควรไปกล่าวโทษสภาพแวดล้อมว่า ที่นั่น ที่นี่ ไม่มีอิคิไก เพราะในท้ายที่สุดมันขึ้นอยู่กับเราเองที่จะค้นพบ "อิคิไก" ในวิถีทางของเรา
(240) เพื่อจะเป็นสุข เราต้องยอมรับตัวเราเอง การยอมรับตัวเองเป็นภารกิจสำคัญที่สุดและยากที่สุดที่เราจะต้องเผชิญในชีวิต ทั้งที่จริงๆ แล้วการยอมรับตัวเองเป็นสูตรสำเร็จที่ง่ายที่สุด พื้นฐานที่สุด และเป็นรางวัลใหญ่ที่สุดที่เราควรมอบให้กับตัวเอง โดยไม่ต้องลงทุน ไม่ต้องดูแลรักษาอะไร การยอมรับตัวเองเป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับการปลดปล่อยตัวเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อมันเป็นเพียงตัวตนลวงตาแต่เราปรารถนาจะยึดถือไว้ เราต้องปล่อยตัวตนลวงตานั้นไป เพื่อกลับมายอมรับตัวเองที่แท้จริง และมีความสุข
(252) ความสุขเกิดจากการยอมรับตัวเอง (การยอมรับจากคนอื่นถือว่าเป็นของแถม) อย่างไรก็ตามถ้านำไปใช้ผิดบริบทมันก็อาจจะกีดขวางสิ่งที่สำคัญที่สุดของการยอมรับตัวเอง ทั้งนี้เพราะทุกสิ่งทุกอย่างในธรรมชาติล้วนแตกต่าง มนุษย์เราแต่ละคนก็ล้วนแตกต่างกันออกไป
(254) ความลับที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของ "อิคิไก" ก็คือการยอมรับตัวเอง ไม่สำคัญว่าเราจะเกิดมาพร้อมกับคุณสมบัติเฉพาะแบบใด มันไม่มีเส้นทางหลักเส้นทางเดียวไปสู่ "อิคิไก" เราแต่ละคนจะต้องคลำหาทางเอาเองในป่ารกชัฎของปัจเจกภาพอันมีเอกลักษณ์ของเราแต่ละคน แต่จงอย่าลืมที่จะหัวเราะดังๆ ระหว่างเดินอยู่บนเส้นทางแห่งการค้นหา วันนี้ และทุกวัน!
(258)
👉 คุณมีหรือเปล่า ความเข้าใจอย่างถ่องแท้ที่จะช่วยจำแนกแยกแยะปัญหาชีวิต ?
👉 คุณเริ่มหรือยัง หันไปลองทำนั่น ทำนี้ เริ่มด้วยก้าวเล็กๆ โดยไม่จำเป็นที่จะหาสิ่งตอบแทนแบบทันทีทันใดจากภายนอก ?
👉 คุณมองเห็นไหม ความเชื่อมโยงอย่างยิ่งระหว่างความสอดคล้องกับความยั่งยืน ?
👉 คุณรู้สึกไหมว่า ควรผ่อนคลายกับตัวเองในแบบที่เป็น ขณะเดียวกันก็ยอมรับความแตกต่างของคนอื่นได้มากขึ้น ?
👉 คุณว่ามันง่ายขึ้นหรือยังกับการหาความสุขกับสิ่งเล็กๆ ?
“อิคิไก" เป็นส่วนหนึ่งของการคิดบวก สำหรับบางคนคำว่า คิดบวก อาจฟังดูกดดันสำหรับพวกเขา เพราะฉะนั้น เริ่มจากการมองเห็นความสุขจากสิ่งเล็กๆ น้อยๆ รอบตัว สิ่งเล็กมากๆ เช่น การได้ตื่นมาชงกาแฟดื่ม การได้วิ่งกลางสายฝน เริ่มจากการสัมผัสความสุขจากสิ่งเล็กๆ น้อยๆ ก่อน เพราะมันเริ่มทำได้ง่ายที่สุด
ในสมองเรามีสารชื่อโดพามีน หากเราทำอะไรเล็กๆ น้อยๆ โดพามีนจะหลั่งออกมาวงจรนั้นจะช่วยทำให้เรามีความสุข การมีความสุขกับสิ่งเล็กๆ เช่นนี้เป็นเรื่องสำคัญมาก
สำหรับหลายคนแนวคิดเรื่อง "อิคิไก" อาจเข้าใจยาก หรือทำได้ยากสำหรับบางคนที่ชีวิตพวกเขากำลังอยู่ในช่วงยากลำบาก กำลังรู้สึกหมดหวังท้อแท หรือไม่ได้เคารพตนเอง เพราะฉะนั้นเริ่มจากความสุขเล็กๆ น้อยๆ ก่อน
พักสายตากับสิ่งสวยงามเล็กๆ น้อยๆ หน้าบ้าน
Lesson from Ken Mogi (ผู้เขียน)
1. อิคิไก ไม่ใช่การแสวงหาความสำเร็จหรือร่ำรวย แต่เป็นการรู้สึกหรือสัมผัสถึงความสุขในชีวิตของตนเองจนทำให้เราเห็นความหมายของชีวิตเราในแบบของเรา
2. อิคิไก ไม่ใช่สิ่งที่สังคมนิยามหรือโลกให้ความสำคัญ แต่ละคนมีอิคิไกที่แตกต่างกัน และมีความสุขกับชีวิตในแบบที่เราเลือกเอง
3. เราไม่ควรตัดสินคนอื่นหรือบีบบังคับคนอื่น เช่น ลูก แฟน ให้ใช้ชีวิตในแบบที่เราคิดว่าใช่ แต่เราควรเคารพความหลากหลายนั้น
4. มองคนที่มีอิคิไก หรือกำลังสนุกกับสิ่งที่พวกเขารักด้วยรอยยิ้ม และคอยช่วยเหลือหากพวกเขาลำบาก
5. อิคิไกมีทั้งระดับใหญ่ซึ่งเกี่ยวกับแนวทางชีวิตหรือคุณค่าของงาน และอิคิไกระดับเล็กคือการสัมผัสความสุขเล็กๆ น้อยๆ ที่พบเห็นได้ในชีวิตประจำวัน
6 อิคิไกเริ่มต้นจากมองหาความสุขเล็กๆ น้อยๆ ในวันนี้
รายละเอียดหนังสือ
ผู้เขียน Ken Mogi (นักวิทยศาสตร์ด้านสมอง)
แปลโดย วุฒิชัย กฤษณะประกรกิจ
สำนักพิมพ์ Move Publishing
ISBN 978-616-371-117-5
ความหนา 262 หน้า
ราคา 299 บาท
ภาพปกหนังสือ
ขอบคุณสำหรับการติดตามครับ
1 บันทึก
5
2
3
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
The little book of Ikigai
1
5
2
3
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย