7 พ.ค. 2020 เวลา 08:52 • การศึกษา
CHAPTER 9
การจับ / การค้นโดยมิชอบ ของเจ้าพนักงานมีผลอย่างไร ?
รูปจาก : https://th.pngtree.com/freepng/hand-drawn -police-catching-thief-character-design_4374361.html
👮🏻 การป้องกันและปราบปรามการกระทําผิดเป็นอีกหนึ่งหน้าที่เจ้าพนักงานตํารวจได้รับ มอบหมายให้ทำการสืบสวนจับกุมผู้กระทําความผิดมาลงโทษ
👮🏻📚 โดยเจ้าพนักงานตํารวจต้องมีความรู้ ด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติหน้าที่ เช่น กฎหมายอาญา วิธีพิจารณาความอาญา และ กฎหมายรัฐธรรมนูญ
✅ อันเนื่องมาจากเจ้าพนักงานตำรวจเป็นผู้ใช้บังคับกฎหมายในการป้องกัน และปราบปราม ย่อมต้องกระทำไปด้วยความชอบด้วยกฎหมาย
รูป : https://www.engdict.com/vocab/police%20station
💥 แต่ถ้าในกรณีที่เกิดการจับ / การค้นโดยมิชอบ จะมีผลอย่างไร ?
โดยผลของการจับกุมโดยไม่ชอบ แยกพิจารณาดังต่อไปนี้ ครับ
1. ด้านของผู้ถูกจับ 👤
1.1 ) ผู้ถูกจับอาจต่อสู้โต้ตอบผู้จับโดยอ้างเหตุป้องกันตาม ป.อาญา ม.68 ได้ เพราะถือว่าการจับกุมไม่ชอบนั้น เป็นการกระทําที่เป็นภยันตรายอันเกิดการจากการ ประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมายและแม้เป็นเหตุให้ผู้จับได้รับบาดเจ็บ ผู้ถูกจับก็ไม่มี ความผิดฐานทำร้ายร่างกาย ตาม ป.อาญา ม.295
📚 เทียบคำพิพากษาฎีกา
📍 ฎีกา 1035/2536 ตํารวจมีหมายจับเข้าไปจับบุตรของเจ้าบ้านซึ่งไม่ใช่เจ้าบ้านโดยไม่มี หมายค้น บุตรของเจ้าบ้านชกต่อยตํารวจไม่มีความผิดฐาน ต่อสู้ขัดขวางและทําร้าย ร่างกาย
📍ฎีกาที่ 698/2516 (ประชุมใหญ่) แม้จะเข้าไปจับกุมผู้ลักลอบเล่นการพนันในบ้านโดย ชอบ แต่การที่ตํารวจใช้ปืนตีศีรษะของผู้เล่นการพนัน เป็นการใช้วิธีการจับที่รุนแรงเกิน กว่าความเหมาะสมแห่งพฤติการณ์ตาม ป.วิ.อาญา ม.83 วรรค 3 จึงเป็นการใช้วิธีการจับท่ีไม่ชอบ เมื่อผู้ถูกจับใช้ไม้ตีสวนตํารวจดังกล่าวจึงเป็นการป้องกัน ตาม ป.อาญา ม.68
1.2 ) ผู้ถูกจับต่อสู้ขัดขวางไม่มีความผิดฐานต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติการตามหน้าท่ีตาม ป.อาญา ม.138 เพราะการที่จะมีความผิดได้ต้องเป็นการต่อสู้ฯ เจ้าพนักงาน “ในการปฏิบัติหน้าท่ี”
และการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานนั้นต้องชอบ กฎหมายด้วย เมื่อการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานเป็นการจับไม่ชอบเสียแล้ว ผู้ต่อสู้ ขัดขวางจึงไม่มีความผิด
📚 เทียบคำพิพากษาฎีกา
📍ฎีกาที่ 1041/2506 ตํารวจเห็นนายแดงซึ่งได้ทําร้ายร่างกายนายม่วงเมื่อสองวันก่อนจึง แสดงตนเข้าไปจับกุมนายแดงโดยไม่มีหมายจับและไม่เข้าข้อยกเว้นให้จับได้ ตาม ป.วิ. อาญา ม.๗๘ (๑)-(๔) นายแดงต่อสู้ขัดขวางการจับกุม นายแดงไม่มีความผิดตาม ป.อาญา
1.3 ) ผู้ถูกจับและบุคคลที่เกี่ยวข้องมีสิทธิยื่นคำร้องต่อศาลให้ปล่อยตัวได้ ( ป.วิ อาญา ม.90 ) เพราะการจับไม่ชอบย่อมทําให้การคุมขังต่อเนื่องจากการจับนั้นไม่ชอบตาม ไปด้วย (ฎีกาที่ 466/2541)
1.4 ) ผู้ถูกจับมีสิทธิฟ้องหน่วยงานของเจ้าพนักงานผู้จับให้รับผิดในผลแห่งการ ละเมิด ซึ่งเป็นการฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนในทางแพ่ง (พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดฯ พ.ศ.2539 ม.5 )
1.5 ) เมื่อพนักงานสอบสวนนําตัวผู้ต้องหาไปยื่นคําร้องขอฝากขัง หากศาลเห็นว่า เป็นการจับท่ีไม่ชอบ ศาลจะยกคําร้องขอฝากขัง
รูปจาก : https://www.ekathimerini.com/251914/article/ekathimerini/news/police-catch-perpetrator-of-at-least-10-heists
2. ด้านเจ้าพนักงานผู้จับ 👤
2.1 ) การจับไม่ชอบด้วยกฎหมาย ทําให้การควบคุมไม่ชอบด้วยกฎหมาย และผู้จับอาจมีความผิดฐานหน่วงเหนี่ยวกักขัง หรือทำให้เสื่อมเสียเสรีภาพตาม ป.อาญา ม. 310
เช่น กํานันสั่งผู้ใหญ่บ้านจับคนโดยไม่มีหมายจับ ผู้ใหญ่บ้านกระทําตามคําสั่งผิด ป. อาญา ม.310 กํานันมีความผิดฐานเป็นผู้ใช้ตาม ป.อาญา ม.84 (ฎีกา 1038/2502)
2.2 ) เจ้าพนักงานผู้จับอาจมีความผิดฐานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ หากมีเจตนา พิเศษเพื่อก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้ถูกจับหรือผู้หนึ่งผู้ใด ( ป.อาญา ม.157 )
เช่น ตํารวจ จับกุมผู้กระทําความผิดที่ไม่ใช่ความผิดซึ่งหน้า โดยไม่มีหมายจับ จึงไม่มีอํานาจโดยชอบด้วยกฎหมายที่จะจับ ไม่แจ้งข้อหาผู้ถูกจับ ไม่ทําบันทึกการจับกุม และไม่ส่งตัวให้พนักงาน สอบสวนดําเนินคดี กลับนําไปควบคุมที่ด่านตํารวจ
ชี้เจตนาตำรวจผู้จับว่ากระทำโดยโกรธแค้นแสดง อำนาจเพื่อข่มขู่กลั่นแกล้งผู้เสียหายให้เดือดร้อนเสียหาย การกระทําของ ตํารวจดังกล่าว เป็นความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบตาม ป.อาญา ม. 157 และทําให้ผู้อื่นปราศจากเสรีภาพในร่างกายตามป.อาญาม.310
(ฎีกาที่4243/2542)
รูปจาก : Wisegeek.com
3. ด้านการรับฟังพยานหลักฐาน 📂
พยานหลักฐานที่ได้จากการค้นอันสืบเนื่องมาจากการจับที่ไม่ชอบ แม้เป็น พยาน หลักฐานที่เกิดขึ้นหรือมีอยู่โดยชอบแต่การได้มาเนื่องจากการกระทําที่ไม่ชอบ พยานหลักฐานนั้นย่อมต้องห้ามรับฟัง ( ป.วิ อาญา ม.226/1 )
หรือศาลอาจใช้ดุลย พินิจรับฟังได้ ถ้าศาลเห็นว่าการรับฟังพยานหลักฐานเช่นว่านั้นจะเป็นประโยชน์แก่การ อํานวยความยุติธรรมมากกว่าผลเสีย ( ป.วิ อาญา ม.226/1 วรรค 1 ตอนท้าย )
เช่น บันทึกการจับกุมที่ไม่ได้บันทึกข้อความแจ้งสิทธิผู้ถูกจับดั่งระบุไว้ใน ป.วิ.อาญา ม.83 วรรค 2 ไม่อาจอ้างเป็นพยานหลักฐานได้เพราะเป็นพยานเอกสารที่เกิดขึ้นโดยไม่ชอบตาม ป.วิ. อาญา มาตรา 226
(ฎีกาที่ 8148/2551)
📚 เทียบคำพิพากษาฎีกา
📍 ฎีกาที่ 1124/2480 ร.ต.ต.ก จับกุมนาย ข ข้อหามียาเสพติดไว้ใน ครอบครองและ ร.ต.ต.ก สงสัยว่านาย ข ซ่อนยาบ้าไว้ในปากจึงเอาหมัดล้วงปากนาย ข จนฟันหัก ๒ ซี่ ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า เป็นการกระทําเกินสมควรแก่เหตุ ตํารวจมีความผิด ฐานทําร้ายร่างกาย และยาบ้าที่ล้วงได้มานั้น ถือว่าเป็นพยานหลักฐานที่มีอยู่โดยชอบแต่ได้มาเนื่องจากการกระทำอันมิชอบ อาจต้องห้ามรับฟังตาม ป.วิ อาญา ม.226/1
ภาพจาก : https://nj1015.com/cops-sacrifice-so-you-can-be-home-with-family/
💥 ผลของการตรวจค้นโดยมิชอบ
การตรวจค้นที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย นอกจากจะมีผลเช่นเดียวกับการจับโดยไม่ชอบ ดังกล่าวข้างต้นแล้ว อาจมีผลดังต่อไปนี้
1. เจ้าพนักงานผู้ค้นมีความผิดฐานบุกรุก (ป.อาญา ม.362,ม.364,ม.365) หรือฐาน ทำให้เสียทรัพย์ (ป.อาญา ม.358)
2. การค้นในที่รโหฐานโดยไม่ชอบ ย่อมทำให้การจับในที่รโหฐานไม่ชอบตามไปด้วย (ป. วิ อาญา ม.81 ) และส่งผลให้การควบคุมและการขังไม่ชอบ (เช่นเดียวกับผลการ จับกุมไม่ชอบ)
📚 เทียบคำพิพากษาฎีกา
📍 ฎีกาที่ 1945/2546 ผู้เสียหายที่ 1 สวมกางเกงขายาวสีกากี สวมเสื้อยืดคอ กลมสีขาวเข้าไปขอตรวจค้นตัวจําเลยโดยแจ้งว่าเป็นเจ้าพนักงานตำรวจ แต่ไม่ได้แต่ง เครื่องแบบตำรวจหรือแสดงหลักฐานให้เห็นว่าตนเป็นเจ้าพนักงานตำรวจผู้ทําการตามหน้าที่
กรณีนี้อาจทำให้จำเลยเข้าใจผิดไปได้ แม้จำเลยจะต่อสู้ชกต่อยหรือใช้มีดแทงผู้เสียหายที่ 1 เพื่อขัดขวางไม่ให้ผู้เสียหายที่ 1 ตรวจค้นและจับกุม จำเลยก็หามีความผิดฐานต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฎิบัติการตามหน้าที่และพยายามฆ่าเจ้าพนักงานซึ่งกระทำตามหน้าที่
Ref. เอกสารวิชาสิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรม
/// กฎหมายจอมโจร by kuroba ///
ถ้าบทความนี้เป็นประโยชน์แก่สาธารณะ
ช่วยกดไลค์ กดแชร์ เป็นกำลังใจให้กับผู้จัดทำด้วยนะครับ ^^

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา